เจ้าจอมมารดาสี ในรัชกาลที่ 2
เจ้าจอมมารดาสี[1] หรือ เจ้าจอมมารดาศรีใหญ่[2] มีสมญาในการแสดงว่า ศรีสีดา[1] และภายหลังเรียกกันว่า เจ้าคุณพี เพราะมีรูปพรรณอวบอ้วน[3] เป็นเจ้าจอมมารดาที่ประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[3][4]
เจ้าจอมมารดาสี | |
---|---|
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
บุตร | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรจั่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุบผา |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้เจ้าจอมมารดาสี หรือ ศรี เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) เสนาบดีกรมวังในสมัยรัชกาลที่หนึ่ง[3] ที่เกิดกับท่านผู้หญิงบุนนาค ภรรยาเอก[5] ต้นตระกูลสืบเชื้อสายมาแต่พราหมณ์พฤฒิบาศ[2] เจ้าจอมมารดาสีเคยเป็นนางละครรุ่นเล็กหรือรุ่นจิ๋วในสมัยกรุงธนบุรีและมีสมญาว่า "ศรีสีดา"[1] จนสิ้นรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อเธอมีอายุ 12 ปี[2]
คุณฉิมรักใคร่ชอบพอคุณสีเมื่อสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากมีเคหสถานใกล้กับเคหสถานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งขณะนั้นยังดำรงยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก[3] เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์แล้ว จึงได้พระราชทานให้เป็นสนมเอกแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ราวปี พ.ศ. 2328[2] และได้ให้ประสูติกาลพระราชธิดาสองพระองค์ คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรจั่น (ประสูติ พ.ศ. 2328 — สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ 1) บ้างเรียก พระองค์เจ้าหญิงใหญ่[5]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุบผา (ประสูติ พ.ศ. 2334 — สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2367) บ้างเรียก พระองค์เจ้าบุพภาวดี[6] หรือออกพระนามว่า เจ้าครอกบุปผา[7]
ภายหลังเจ้าจอมมารดาสี คงสมบูรณ์อยู่มากคืออ้วนมาก จนถูกเรียกกันทั่วไปว่า เจ้าคุณพี ดังปรากฏในคำกลอนพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้เหล่านางในตามเสด็จประพาสสวนขวาโดยลงเรือพายทำนองไล่จับกัน ทรงเขียนกลอนกล่าวถึงรูปพรรณของเจ้าจอมมารดาสีว่า "จับได้เรือเจ้าคุณพี ท่านเป็นผู้ดีมาแต่แผ่นดินโน้น ท่านงามนักเจียวเมื่อสาว เดี๋ยวนี้อ้วนราวกะตะโพน"[2][3] สอดคล้องกับคำตรัสเล่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า "แต่เมื่อได้เห็นตัวนั้นเป็นผู้ใหญ่มีพระองค์เจ้าแล้วถึง ๒ องค์ รูปพรรณแปรปรวนอ้วนพีจึงได้เรียกชื่อนี้จนตาย"[2]
เจ้าจอมมารดาสี มีน้องสาวต่างมารดาถวายตัวเป็นพระสนมอีกท่านหนึ่ง คือ เจ้าจอมมารดาแก้ว ในรัชกาลที่ 3 พระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-03-03.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 256-257
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ กรุงเทพฯ : ยิปซี. 2552, หน้า 53-54
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 139
- ↑ 5.0 5.1 กรมศิลปากร. สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3. พระนคร : พระจันทร์, 2493, หน้า 131-132
- ↑ จดหมายเหตุรัชกาลที่ 2 เล่ม 3 จุลศักราช 1171-1174. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2528, หน้า 125
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-03-03.
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 47. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-03-03.