เงินกู้นอกระบบ (อังกฤษ: Loan shark) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่เสนอเงินกู้ที่ไม่มีหลักประกันในอัตราดอกเบี้ยสูงแก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินอย่างสิ้นหวัง พวกเขามักกำหนดเป้าหมายไปยังบุคคลที่อยู่ในกลุ่มอ่อนแอทางด้านการเงิน เช่น ผู้ที่มีประวัติเครดิตไม่ดีหรือมีรายได้น้อย ซึ่งอาจมีปัญหาในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม คนปล่อยเงินกู้มักจะใช้การคุกคามและการข่มขู่เพื่อเรียกเก็บเงินจากเงินกู้ และอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าปรับ หรืออัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป [1]

ลักษณะเงินกู้นอกระบบ แก้

เงินกู้นอกระบบเป็นเงินกู้ที่มีเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน[2] ส่วนมากเงินกู้นอกระบบจะมีแหล่งที่มาจาก ญาติพี่น้อง เพื่อน คนรู้จัก เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ร้านค้า รวมไปถึง นายทุนในพื้นที่ รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นออนไลน์ โดยมีการตกลงทำสัญญาที่อนุมัติง่ายกว่าเงินกู้ในระบบ รวมถึงอาจมีดอกเบี้ยที่สูงกว่ากฏหมายกำหนดที่ร้อยละ 15 ต่อปี และใช้กลฉ้อฉลว่าเป็นการกู้ยืมที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีการเก็บค่าธรรมเนียม ค่าปรับที่นอกเหนือจากดอกเบี้ย โดยถือว่าเป็นกลฉ้อฉล ที่ใช้หลบเลี่ยงอำพราง แต่ผู้กู้ก็ยอมเสียดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราที่สูง[3] โดยผู้กู้และผู้ให้กู้ต้องร่วมมือสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของกฎหมาย

ข้อแตกต่างเงินกู้นอกระบบกับเงินกู้ในระบบ[2] แก้

หนี้นอกระบบ หนี้ในระบบ
ประเภทกิจการ ผู้ประกอบการที่เป็นประชาชนทั่วไป ธนาคารและบริษัททางการเงินที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. หรือ กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)
เจ้าหนี้ทำตามกฎหมาย ไม่ทำตามกฎหมาย ทำตามกฎหมาย
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยต่ำกว่ากฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยสูงกว่ากฎหมายกำหนด
ระยะเวลาชำระหนี้ ไม่ชัดเจน กำหนดชัดเจน
เงื่อนไขสัญญา ไม่เป็นธรรม เจ้าหนี้กำหนดได้ตามใจ ชัดเจนเป็นธรรม
การประนอมหนี้ ไม่สามารถประนอมหนี้ ประนอมหนี้ได้
การทวงหนี้ ไม่ทำตามกฎหมาย ทำตามกฎหมาย
ความปลอดภยของข้อมูลส่วนตัว ไม่ทำตามกฎหมาย ทำตามกฎหมาย

กฏหมายที่ใช้ควบคุม แก้

  • พระราชบัญญัติห้ามเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560
  • พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 [4]

พระราชบัญญัติห้ามเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 บังคับใช้กับบุคคลทั่วไป ไม่ได้บังคับใช้กับธุรกิจการเงิน จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ และ ธุรกิจการเงินอื่นๆ สามารถคิดอัตตราดอกเบี้ยได้เกินร้อยละ 15 ต่อปี เพราะมีประกาศจาก ธปท. และ กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย) รองรับให้คิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้ตามรูปแบบธุรกิจการเงินแต่ละประเภท

ประเภทผู้ให้กู้ อัตราดอกเบี้ย กฎหมายที่ใช้บังคับ
บุคคลทั่วไป ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี พระราชบัญญัติห้ามเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560[5]
ธนาคารพาณิชย์ และ บริษัทเงินทุน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณการเกษตร ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2544[6]
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2550[7]

อ้างอิง แก้

  1. "เงินกู้นอกระบบคืออะไร น่าเชื่อถือไหมและมีอันตรายอะไรหรือไม่?". tidlor. สืบค้นเมื่อ 17 February 2023.
  2. 2.0 2.1 ปัญหาหนี้นอกระบบกับสภาพสังคมไทย
  3. "วิธีคิดดอกเบี้ยต่อเดือน เรื่องที่คนที่คิดจะกู้เงินไม่ควรมองข้าม". เพื่อนแท้เงินด่วน. 2023-06-28.
  4. "พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้พ.ศ. 2558" (PDF). oic.go.th. สายทรัพยากรบุคคลและกา กบักจิกรรมองค์กร(DB) โดยกองป้ องกันและตรวจสอบการประพฤติมิชอบ (WL-P). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-21. สืบค้นเมื่อ 21 February 2023.
  5. "พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.
  6. "ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2544" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.
  7. "ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2550" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.