เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย

เครื่องพิมพ์ดีดที่มีความสามารถในการพิมพ์อักษรภาษาไทยได้รับการพัฒนาครั้งแรกโดย เอ็ดวิน เอช. แมคฟาร์แลนด์ ในปี 2434 โดยดัดแปลงจากเครื่องพิมพ์ดีดของ สมิธ พรีเมียร์ เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะการใช้งานในหน่วยงานราชการ แต่เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นนี้ได้ยุติการผลิตลงในปี 2458 และแป้นพิมพ์รุ่นใหม่ได้รับการพัฒนาโดยพระอาจวิทยาคม (ยอร์ช บี. แมคฟาร์แลนด์) น้องชายของเอ็ดวิน รูปแบบแป้นพิมพ์ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ แป้นพิมพ์เกษมณี ที่เปิดตัวในปี 2474 กลายเป็นมาตรฐานที่ยังคงได้รับความนิยมแม้ว่าแป้นพิมพ์รุ่นใหม่อย่างแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ ซึ่งเปิดตัวในปี 2508 จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลแล้วก็ตาม แต่กลับไม่ได้รับความสนใจ

ประวัติศาสตร์ แก้

เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก แก้

ภายหลังการเปิดตัวและแพร่หลายในโลกตะวันตกในคริสต์ทศวรรษ 1880 เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรกได้รับการพัฒนาโดย Edwin Hunter McFarland บุตรชายของ Samuel G. McFarland มิชชันนารีชาวอเมริกัน

เอ็ดวิน แมคฟาร์แลนด์ เสียชีวิตในปี 2438 ทิ้งธุรกิจเครื่องพิมพ์ดีดไว้ให้กับน้องชายของเขา คือ พระอาจวิทยาคม หรือ ยอร์ช บี. แมคฟาร์แลนด์ แพทย์ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าโรงเรียนราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช ในปี 2440 ยอร์ชได้ก่อตั้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องพิมพ์ดีดของบริษัท Smith Premier ขึ้นบนถนนเจริญกรุง (ตรงหัวมุมสี่แยกอุณากรรณในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าวังบูรพา) และธุรกิจก็เจริญรุ่งเรือง โดยนำเข้าและขายได้หลายพันเครื่องในอีกไม่กี่ปีถัดมา[1][2]

อ้างอิง แก้

  1. "ปทานุกรม-พิมพ์ดีด-ตำราแพทย์ ฯลฯ มรดกที่ "แมคฟาร์แลนด์" ทิ้งไว้ให้สยาม" [Dictionaries–typewriters–medical textbooks, etc.—the legacy the McFarlands left for Siam]. Silpa Wattanatham. Matichon. 24 August 2020. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
    "เบื้องหลังเหตุสร้างเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยครั้งแรก ไม่มีอักษร "ฃ-ฅ"". Silpa Wattanatham. 29 July 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
  2. McFarland, Joseph Fulton (1910). 20th century history of the city of Washington and Washington County, Pennsylvania and representative citizens. Chicago: Richmond-Arnold Publishing Co. pp. 1072–1073.