กอตอลิน กอริโก

(เปลี่ยนทางจาก เคทลิน คาริโก)

กอตอลิน กอริโก (ฮังการี: Karikó Katalin; เกิด 17 มกราคม ค.ศ. 1955) เป็นนักชีวเคมีชาวฮังการีผู้เชี่ยวชาญด้านกลไกที่อาศัยอาร์เอ็นเอเป็นสื่อกลาง งานวิจัยของเธออยู่ในการพัฒนาเอ็มอาร์เอ็นเอที่ถอดรหัสนอกกาย (in vitro-transcribed) สำหรับการบำบัดด้วยโปรตีน ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 เธอเป็นรองประธานและได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานอาวุโสใน ค.ศ. 2019 ณ บริษัทไบออนเทค อาร์เอ็นเอฟาร์มาซูติคัลส์ นอกจากนี้ยังเป็นศาสตราจารย์วุฒิคุณ ณ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย[1]

กอตอลิน กอริโก
กอริโก (ค.ศ. 2020)
เกิด (1955-01-17) 17 มกราคม ค.ศ. 1955 (69 ปี)
โซลโนก ประเทศฮังการี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแซแก็ด
มีชื่อเสียงจากเทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอในภูมิคุ้มกันวิทยาและการบำบัด
คู่สมรสBéla Francia
บุตรซูซาน ฟรานเซีย
รางวัลSzéchenyi Prize (2021)
Wilhelm Exner Medaillen (2021)
Semmelweis Prize (2021)
รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (2023)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี; เทคโนโลยีอาร์เอ็นเอ
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยแซแก็ด
มหาวิทยาลัยเทมเพิล
มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
ไบโอเอ็นเทค

งานของกอริโกรวมถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่อาศัยอาร์เอ็นเอเป็นสื่อกลาง ส่งผลให้เกิดการค้นพบการดัดแปรนิวคลีโอไซด์ซึ่งยับยั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่ออาร์เอ็นเอ[2][3][4] ร่วมกับนักวิทยาภูมิคุ้มกันชาวอเมริกัน ดรูว์ ไวส์แมน ซึ่งเป็นกระบวนการซึ่งถูกมองว่าทำให้ใช้เอ็มอาร์เอ็นเอในการรักษาได้[5] เธอเป็นเจ้าของสิทธิบัตรการใช้อาร์เอ็นเอแบบไม่กระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีการดัดแปรนิวคลีโอไซด์ในสหรัฐร่วมกับไวส์แมน บริษัทไบออนเทคและโมเดอร์นาขออนุญาตใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการผลิตวัคซีนโควิด-19 สำหรับบริษัทของตน[6]

ในปี ค.ศ. 2023 กอริโกได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ร่วมกับไวส์แมน "สำหรับการค้นพบเกี่ยวกับการดัดแปรเบสนิวคลีโอไซด์ ซึ่งช่วยในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอที่มีประสิทธิภาพ"[7]

อ้างอิง แก้

  1. "Katalin Karikó". 8th International mRNA Health Conference (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 January 2021.
  2. Karikó, Katalin; Buckstein, MIchael; Ni, Houping; Weissman, Drew (1 August 2005). "Suppression of RNA Recognition by Toll-like Receptors: The Impact of Nucleoside Modification and the Evolutionary Origin of RNA". Immunity (ภาษาอังกฤษ). 23 (2): 165–175. doi:10.1016/j.immuni.2005.06.008. PMID 16111635.
  3. Anderson BR, Muramatsu H, Nallagatla SR, Bevilacqua PC, Sansing LH, Weissman D, Karikó K (September 2010). "Incorporation of pseudouridine into mRNA enhances translation by diminishing PKR activation". Nucleic Acids Research. 38 (17): 5884–92. doi:10.1093/nar/gkq347. PMC 2943593. PMID 20457754.
  4. Karikó K, Muramatsu H, Welsh FA, Ludwig J, Kato H, Akira S, Weissman D (November 2008). "Incorporation of pseudouridine into mRNA yields superior nonimmunogenic vector with increased translational capacity and biological stability". Molecular Therapy. 16 (11): 1833–40. doi:10.1038/mt.2008.200. PMC 2775451. PMID 18797453.
  5. Kollewe, Julia (21 November 2020). "Covid vaccine technology pioneer: 'I never doubted it would work'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 November 2020.
  6. Garde, Damian; Saltzman, Jonathan (10 November 2020). "The story of mRNA: From a loose idea to a tool that may help curb Covid". STAT (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2023". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.