การวิบัติของเขื่อน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เขื่อน คือสิ่งก่อสร้างที่สร้างขวางแนวการเคลื่อนที่ของน้ำ เช่น แม่น้ำ เพื่อทำให้น้ำไหลช้าลง ซึ่งมักจะก่อให้เกิดแหล่งเก็บน้ำหรือทะเลสาบ เขื่อนส่วนมากจะมีส่วนที่เรียกว่า "ช่องทางระบายน้ำ" หรือ "ประตูระบายน้ำ" เพื่อปล่อยให้น้ำไหลผ่านเป็นช่วง ๆ หรืออย่างต่อเนื่อง และหลายเขื่อนยังมีการติดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำอีกด้วย
เขื่อนถูกพิจารณาว่า เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีปัจจัยอันตรายตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการทำลายล้างชีวิตพลเรือนและสิ่งแวดล้อมเมื่อเขื่อนแตก เหตุการณ์เขื่อนแตกนั้น เมื่อเทียบกับอุปัทวเหตุอื่น ๆ แล้วจัดได้ว่าเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เมื่อเกิดแล้วก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง
สาเหตุหลัก
แก้สาเหตุทั่วไปของการวิบัติของเขื่อนคือ:
- การออกแบบช่องระบายน้ำที่ผิดพลาด เช่นที่เขื่อนเซาท์ฟอล์กในสหรัฐ
- ความไม่เสถียรทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในแม่น้ำระหว่างการเติมน้ำลงเขื่อน หรือเกิดจากการสำรวจที่แย่ เช่นที่เขื่อนมาลปาแซในฝรั่งเศส
- การเคลื่อนตัวของภูเขาลงสู่แหล่งเก็บน้ำ เช่นในกรณีเขื่อนวายอนต์ในอิตาลี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากดินภูเขาขนาด 260 ล้านลูกบาศก์เมตร[1]ถล่มลงสู่ทะเลสาบด้วยความเร็ว 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1] ยังผลให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ถล่มทุกสิ่งให้ราพณาสูร
- การบำรุงรักษาที่แย่ โดยเฉพาะท่อระบายน้ำ
- ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
- ความผิดพลาดจากมนุษย์ คอมพิวเตอร์ หรือการออกแบบ
การก่อวินาศกรรม
แก้การก่อวินาศกรรมเพื่อการถล่มเขื่อนด้วยความตั้งใจที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดนั้นคือ ปฏิบัติการชัสไทส์โดยฝูงบินที่ 617 แห่งกองทัพอากาศอังกฤษ ได้ถล่มเขื่อนของเยอรมนีสามแห่ง เพื่อทำลายสาธารณูปโภค กำลังผลิต และพลังงานของฝ่ายเยอรมนี การถล่มเขื่อนครั้งนี้ถูกนำไปใช้สร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง
รายชื่อการวิบัติครั้งใหญ่
แก้ชื่อเขื่อน/เหตุการณ์ | ปี (ค.ศ.) | สถานที่ | รายละเอียด |
---|---|---|---|
Dale Dike Reservoir | 1864 | เซาท์ยอร์กเชียร์ อังกฤษ | ความผิดพลาดในขั้นตอนการก่อสร้าง จุดรั่วเล็ก ๆ ในผนังเขื่อนขยายขนาดจนเขื่อนแตก |
เขื่อนเซาท์ฟอร์ก | 1889 | จอนส์ทาวน์ (รัฐเพนซิลวาเนีย) สหรัฐ | ประชาชนในท้องถิ่นเชื่อว่าเกิดจากการซ่อมบำรุงที่แย่ ในขณะที่ศาลตัดสินว่าเป็นเหตุสุดวิสัยทางธรรมชาติ ประกอบด้วยการที่ฝนตกอย่างหนักเกินกว่าที่ได้คาดการณ์เอาไว้ |
Walnut Grove Dam | 1890 | วิกเกนเบิร์ก, แอริโซนา, สหรัฐอเมริกา | หิมะและฝนที่ตกอย่างหนัก ตามด้วยการร้องขอให้มีการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างฝั่งตะวันออกของหัวหน้าวิศวกรของเขื่อน |
Desná Dam | 1916 | เดสนา, ออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือเช็กเกีย) | ความผิดพลาดของการก่อสร้างจนทำให้เขื่อนแตก |
Llyn Eigiau dam and the outflow also destroyed Coedty reservoir dam. | 1925 | ดอลการ์ร็อก, นอร์ทเวลส์, อังกฤษ | ผู้ว่าจ้างโทษการตัดงบประมาณการก่อสร้าง แต่ปริมาณน้ำฝนขนาด 25 นิ้ว ที่ตกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาห้าวันติดต่อกันจนเขื่อนแตก |
St. Francis Dam | 1928 | วาเลนเซีย, แคลิฟอร์เนีย, ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี, สหรัฐอเมริกา | ความไม่มีเสถียรภาพเชิงภูมิศาสตร์ของแนวฝาซึ่งตรวจสอบไม่พบอันเนื่องมาจากการขาดแคลนวิทยาการในยุคนั้น กอปรกับความผิดพลาดของผู้สำรวจในการประเมินว่าการขยายตัวของรอยแตกนั้นเป็นระดับ "ธรรมดา" สำหรับเขื่อนชนิดนั้น |
เบกาเดเตรา | 1959 | ริบาเดลาโก, สเปน | |
มาลปาแซ | 1959 | โกตดาซูร์, ฝรั่งเศส | มีความเป็นไปได้ว่ามาจากความล้มเหลวเชิงภูมิศาสตร์อันเกิดจากการใช้ระเบิดในระหว่างการก่อสร้าง อีกทั้งการศึกษาภูมิศาสตร์ในขั้นต้นก็มิได้ถูกทำอย่างระมัดระวัง |
Baldwin Hills Reservoir | 1963 | ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา | การยุบตัวของพื้นดินอันเนื่องมาจากการขุดเจาะน้ำมันในบริเวณใกล้เคียง |
เขื่อนวายอนต์ | 1963 | อิตาลี | การเติมน้ำลงเขื่อนก่อให้เกิดภูเขาถล่มลงแห่งน้ำและก่อให้เกิดสึนามิขนาดยักษ์ อันมีเหตุมาจากการประเมินเสถียรภาพเชิงภูมิศาสตร์ที่ผิดพลาด |
Buffalo Creek Flood | 1972 | เวสต์เวอร์จิเนีย, สหรัฐอเมริกา | เขื่อนที่บริษัทเหมืองถ่านหินในพื้นที่สร้างขึ้นนั้นไม่เสถียรเพียงพอและพังทลายเมื่อเกิดฝนตกหนัก |
Banqiao and Shimantan Dams | 1975 | จีน | ฝนที่ตกอย่างหนักจนเกิดปริมาณความจุของเขื่อนที่ถูกออกแบบไว้ |
Teton Dam | 1976 | ไอดาโฮ, สหรัฐอเมริกา | การรั่วไหลของน้ำบริเวณแนวกำแพงตะวันออก ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลาย |
Kelly Barnes Dam | 1977 | จอร์เจีย, สหรัฐอเมริกา | ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เป็นไปได้ว่าเกิดจากการออกแบบที่ผิดพลาดเนื่องจากมีการปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง |
Lawn Lake Dam | 1982 | อุทยานแห่งชาติเทือกเขาร็อกกี, สหรัฐอเมริกา | ท่อส่งน้ำผุกร่อน เขื่อนกำลังอยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุง |
Tous Dam | 1982 | บาเลนเซีย, สเปน | |
Val di Stava Dam collapse | 1985 | อิตาลี | การซ่อมบำรุงที่แย่และการออกแบบที่เลินเล่อ ท่อส่งน้ำเสียอันก่อให้เกิดแรงดันบนฐานเขื่อน |
Peruča Dam detonation | 1993 | โครเอเชีย | ถูกระเบิดโดยกองทัพเซอร์เบียที่กำลังถอนทัพ |
Opuha Dam | 1997 | นิวซีแลนด์ | |
Vodní nádrž Soběnov | 2002 | Soběnov, เช็กเกีย | ปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในเหตุการณ์น้ำท่วมยุโรป พ.ศ. 2545 |
Big Bay Dam | 2004 | มิสซิสซิปปี, สหรัฐอเมริกา | |
เขื่อนกามารา | 2004 | บราซิล | |
Shakidor Dam | 2005 | ปากีสถาน | ปริมาณน้ำฝนที่เกินจากที่คาดเอาไว้ |
Taum Sauk reservoir | 2005 | เลสเตอร์วิลล์, มิสซูรี, สหรัฐอเมริกา | ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ มาตราวัดระดับน้ำไม่ทำแจ้งว่าเขื่อนเต็ม และน้ำยังถูกเติมลงเขื่อน ปริมาณน้ำที่รั่วไหลก่อให้เกิดการกัดเซาะแนวเขื่อน |
ซีตูกินตุง | 2009 | ตาเงอรัง, อินโดนีเซีย | การซ่อมบำรุงที่แย่และฝนที่ตกอย่างหนักในฤดูฝน |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 The Vajont Dam Disaster เก็บถาวร 2008-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, TeLL-Net Kick-Off Assembly, 2006, retrieved January 2008.