เขาคิชฌกูฏ (ภูเขาในศาสนาพุทธ)
เขาคิชฌกูฏ (บาลี: गिज्झकूट Gijjhakūṭa, สันสกฤต: गृद्धकूट Gṛdhrakūṭa ), หรือในอีกนามว่า ยอดนกแร้ง หรือ ยอดเขาเหยี่ยว (อังกฤษ: Holy Eagle Peakor หรือ Vulture Peak) เป็นสถานที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดพำนักที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่อศาสนาพุทธ กรุงราชคฤห์ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เขาแห่งนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ยอดเขาเหยี่ยว เนื่องด้วยเขามีลักษณะเหมือนนกพับปีก
เขาคิชฌกูฏ | |
---|---|
ยอดนกแร้งหรือยอดเขาเหยี่ยว | |
ยอดบนของเขาคิชฌกูฏ | |
จุดสูงสุด | |
พิกัด | 25°00′06″N 85°26′47″E / 25.00167°N 85.44639°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
เทือกเขา | เขาราชคฤห์ |
ในวรรณกรรมศาสนาพุทธ
แก้เขาคิชฌกูฏ เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสาวกพำนักเพื่อเป็นที่ชุมนุมสงฆ์และฝึกฝนสภาวะของจิต สถานที่แห่งนี้ปรากฏในพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีของนิกายเถรวาท[1][2] และพระสูตรของนิกายมหายานว่าเป็นสถานที่อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา อาทิ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร, สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และศุรังกามะสมาธิสูตร (Śūraṅgama Samādhi Sūtra) รวมไปถึงปรัชญาปารมิตาสูตรอีกหลายพระสูตร ในนิกายเถรวาทปรากฏเป็นชาดกในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวดนวกนิบาตชาดก ชื่อว่า คิชฌชาดก ความสังเขปว่า:
ทางบนคิชฌบรรพตชื่อว่า ปริสังกุปถะ เป็นของเก่าแก่ แร้งเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชราอยู่ที่ทางนั้น.
โดยมากไปเที่ยวหามันข้นงูเหลือมมาให้มารดาบิดาเหล่านั้นกิน ฝ่ายบิดารู้ว่าแร้งสุปัตผู้ลูกมีปีกแข็งแล้ว กล้าหาญ มักร่อนขึ้นไปสูง เที่ยวไปไกล จึงได้กล่าวสอนลูกว่า.
ลูกเอ๋ย เมื่อใด เจ้ารู้ว่าแผ่นดินอันทะเลล้อมรอบ กลมดังกงจักร ลอยอยู่บนน้ำเหมือนใบบัว เมื่อนั้น เจ้าจงกลับเสียจากที่นั้น อย่าบินต่อจากนั้นไปอีกเลย.
แร้งสุปัตเป็นสัตว์มีกำลังมาก ปีกแข็ง ร่างกายสมบูรณ์ บินขึ้นไปถึงอากาศเบื้องบนโดยกำลังเร็ว เมื่อเหลียวกลับมาแลดูภูเขา และป่าไม้ทั้งหลาย ฯ ก็ได้แลเห็นแผ่นดินอันทะเลล้อมรอบ กลมดังกงจักร เหมือนกับคำที่ตนได้ฟังมาจากสำนักแร้งผู้บิดา ฉะนั้น.
แร้งสุปัตนั้น ได้บินล่วงเลยที่นั้นขึ้นไปเบื้องหน้าอีก ยอดลมแรงได้ ประหารแร้งสุปัตผู้มีกำลังมากนั้นให้เป็นจุรณ.
แร้งสุปัตบินเกินไป ไม่สามารถจะกลับจากที่นั้นได้อีก ตกอยู่ในอำนาจของลมเวรัพภาวาต ถึงความพินาศแล้ว.
เมื่อแร้งสุปัตไม่ทำตามโอวาทของบิดา บุตรภรรยา และแร้งอื่นที่อาศัยเลี้ยงชีพ ก็พากันถึงความพินาศไปด้วยทั้งหมด.
แม้ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ภิกษุใดไม่เชื่อถ้อยฟังคำของผู้ใหญ่ ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่าล่วงศาสนา ดุจแร้งล่วงเขตแดน ฉะนั้น ผู้ไม่ทำตามคำสอนของท่านผู้ใหญ่ ย่อมถึงความพินาศทั้งหมด.[3]
คลังภาพ
แก้-
พระภิกษุในเขาคิชฌกูฏ
-
พื้นที่สำหรับนั่งสมาธิ
-
มุมมองด้านบนของเขาคิชฌกูฏ
-
ยอดเขาเหยี่ยว
-
ที่ชุมนุมสงฆ์
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Sona Sutta: About Sona". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-31. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
- ↑ "The Daruka-Khanda Sutta: The Woodpile". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ 27. พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 19. ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1.
บรรณานุกรม
แก้- Reeves, Gene (2008). The Lotus Sutra: A Contemporary Translation of a Buddhist Classic. Wisdom Publications. pp. 296–297. ISBN 978-0-86171-571-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Vulture Peak บนธรรมะวิกิ
- elevation บนพุทธคยา