เกี้ยน เสมอพิทักษ์

มีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ( ไทย: มีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์, อักษรโรมัน: Most Rev. Michael Kien Samorpitak , 18 ธันวาคม ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463)– 6 มีนาคม ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็น อัครมุขนายกกิตติคุณแห่งอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959(พ.ศ. 2502) จนกระทั่งเกษียณอายุในปี 1980 (พ.ศ. 2523) (1 กรกฏาคม ค.ศ. 1959(พ.ศ. 2502) - 14 พฤษภาคม 2547) ท่านเป็นอัครมุขนายก จากบาทหลวงชาวพื้นเมืองท่านแรกของภาคอีสานและเป็นชาวบ้านท่าแร่ สกลนคร นับเป็นเกียรติต่อจังหวัดสกลนครอย่างยิ่ง

มีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์
อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฏาคม ค.ศ. 1959(พ.ศ. 2502) – 6 มีนาคม 1980(พ.ศ. 2523)
ก่อนหน้ามีคาแอล มงคล (อ่อน) ประคองจิต
ถัดไปลอว์เรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 ธันวาคม ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463)
บ้านท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
เสียชีวิต16 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (77 ปี)
บ้านซีเมออน บ้านพักบาทหลวงสูงอายุ บ.ท่าแร่
ที่ไว้ศพสุสานวัดอัครเทวดามีคาเอลท่าแร่
เชื้อชาติไทย
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
บุพการีบิดา นายชา เสมอพิทักษ์ มารดา นางสอ ชมพูจันทร์
"แสงสว่างในความมืด"

ประวัติส่วนตัว[1]

แก้

พระคุณเจ้า มีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ที่บ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายชา เสมอพิทักษ์ และนางสอ ชมพูจันทร์ มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน

ชีวิตในวัยเด็ก

แก้

เมื่อยังเด็ก ท่านได้เข้าเรียนในโรงเรียนของโบส์ถท่าแร่ (ตึกเหลือง) เมื่ออายุ 11 ปี ขณะกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 2 วันหนึ่งท่านได้ไปแก้บาปกับบาทหลวงบาเยต์ ซึ่งต่อมาเป็นมุขนายกบาเยต์ บาทหลวงถามว่า “ลูกอยากไปเป็นเณรที่บางช้างไหม?” ในเวลานั้น ท่านไม่เคยมีความคิดมาก่อนเลยว่าจะเข้าบ้านเณร จึงขอเวลาคิดอยู่ 2-3 วันโดยมิได้ปรึกษาใคร หลังจากนั้นท่านก็ตอบบาทหลวง บาเยต์ว่า “ยินดีไปครับ คุณพ่อ” นั่นคือจุดเริ่มต้นของกระแสเรียกแห่งการเป็นผู้รับใช้พระเจ้าของท่าน

กระแสเรียกและการบวช

แก้

ท่านเข้าเรียนบ้านเณรเล็กที่บ้านเณรบางช้าง ต่อมาย้ายมาที่บ้านเณรบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหโบส์ถสมุทรสงคราม เมื่อปี ค.ศ. 1932 และไปต่อที่บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา จังหโบส์ถชลบุรี ในช่วงปี ค.ศ. 1935-1939 จากนั้นออกทดลองเป็นครูเณรที่บ้านเณรหนองแสง นครพนม เมื่อปี ค.ศ. 1940 แต่เนื่องจากเกิดสงครามบูรพา ท่านได้ออกมาทำนากับพี่ๆ จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941

รับศีลอนุกรมบวชเป็นบาทหลวง

แก้

ท่านเข้าเรียนบ้านเณรใหญ่ (ชั่วคราว) ที่แม่พระนฤมลทิน บางนกแขวก ระหว่างปี ค.ศ. 1941-1948 และบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1948 ที่ปะรำพิธีหน้าอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ (หลังเก่า) โดยมุขนายกเกลาดิอุส บาเยต์

พิธีอภิเษกเป็นมุขนายก

แก้

วันที่ 30 มิถุนายน ต้อนรับสัตบุรุษจำนวนมากจากมิสซังอุดร, อุบล, ท่าแขก, เวียงจันทร์ และกรุงเทพฯ ซึ่งเดินทางมาทางรถไฟ รวมทั้งมุขนายกและบาทหลวงรวม 71 ท่าน เพื่อมาร่วมงานพิธีอภิเษก

วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1959 พิธีอภิเษกอัครมุขนายกแห่งมิสซังท่าแร่-หนองแสง จัดขึ้น เป็นวันประวัติศาสตร์เนื่องจากเป็นอัครมุขนายกท่านแรกที่เป็นบาทหลวงมาจากมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง และรับอภิเษกที่บ้านท่าแร่

พิธีจัดขึ้นท่ามกลางพระสมณทูต มุขนายกดรุ๊สแดร๊ก แห่งเวียงจันทร์ (Etienne-Auguste-Germain Loosdregt, O.M.I.), พระอัครมุขนายก อาร์โนด์ อังตวน การ์โนลต์ และมุขนายกดูฮาร์ต (Bishop Clarence James Duhart, C.SS.R.) ตลอดจนคณะบาทหลวง ภคินี และสัตบุรุษมากมาย นอกจากนี้ นายอำเภอจังหวัดสกลนครและหัวหน้าส่วนราชการบางท่านได้ให้เกียรติมาร่วมในพิธีด้วย อุปมุขนายกเป็นผู้อ่านสารตราตั้งของสมเด็จพระสันตะปาปายวงที่ 23

พิธีดำเนินไปอย่างสง่า ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ผู้มารับพรคนแรกคือมารดาผู้ชราของท่าน ต่อจากนั้นเป็นการแห่มุขนายกใหม่โดยรถยนต์ไปรอบๆ บ้านท่าแร่ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

มุขนายกเกี้ยนได้อธิบายคติประจำตัวของท่าน คือ “Lux in tenebris” เป็นความสว่างที่เปรียบได้กับศีลมหาสนิท ท่านยังพูดถึง 3 จังหวัดในปกครอง ได้แก่ นครพนม ซึ่งมีมรณสักขีที่สองคอน, สกลนคร ที่มีคริสตศาสนิกชนมากที่สุด และกาฬสินธุ์ ซึ่งอยู่ในความหวังเพราะยังไม่มีโบสถ์คริสต์ในจังหวัดเลย

ตอนเย็น มีมหรสพปิดงานด้วยภาพยนตร์ของคณะข่าวสารเวียดนาม ประชันกับละครเรื่อง “สาวน้อยผู้ภักดี” (ประวัตินักบุญโรซาแห่งลิมา) ของโรงเรียนเซนต์ยอแซฟแผนกหญิง สลับฉากด้วยการฟ้อนรำต่าง ๆ ซึ่งมีประชาชนมาชมมากมาย

คติพจน์

แก้

“Lux in tenebris”

 
Coat of arms of ArchBishop Michael Kien Samorphituk

แสงสว่างในความมืด

ความหมายของตราประจำตำแหน่ง (Coat of Arms)

แก้

ตราสัญลักษณ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน:

1.     ส่วนที่หนึ่ง: พื้นสีแดงมีรูปกิ่งใบลาน ต้นก้านใบลานเป็นตัวอักษร N นครพนม: แทนด้วยตัวอักษร N คือ NAKHON PHANOM พื้นเป็นสีแดงมีกิ่งใบลาน หมายถึงนครพนมเป็นดินแดนที่มีผู้มรณสักขียอมเสียสละโลหิตเพื่อความเชื่อที่บ้านสองคอน กิ่งใบลานเป็นเครื่องหมายตามพระคัมภีร์ว่า ผู้สละโลหิตเพื่อยืนยันความเชื่อจะถือกิ่งใบลาน

2.     ส่วนที่สอง: พื้นสีเหลืองมีอักษร S ที่บริเวณยอดมีรูปศีลมหาสนิท (ปังกับเหล้าองุ่น) สกลนคร: แทนด้วยตัวอักษร S คือ SAKONNAKHON พื้นเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นสีของความสว่าง หมายถึงจังหวัดสกลนครมีจำนวนโบสถ์มาก ความเชื่อแพร่หลาย ส่วนปังกับองุ่นเตือนให้ท่านเอาศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับคติพจน์ “แสงสว่างในความมืด”

3.     ส่วนที่สาม: พื้นสีเขียวมีรวงข้าว ต้นก้านเป็นตัวอักษร C กาฬสินธุ์: แทนด้วยตัวอักษร C ซึ่งอ่านได้เหมือนตัว K เมื่อตามด้วยตัว A เช่น KALASIN หรือ CALASIN พื้นสีเป็นสีเขียวมีรวงข้าว หมายความว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ยังเป็นพื้นนาที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว มุขนายกเลือกใช้ตัว C แทน K เพื่อให้สอดคล้องกับตัวอักษร N, S, C ที่มีความหมายดังนี้:

N = NOSTRA = ของพวกเรา S = SALVATIO SALUS = ความรอด C = CHRISTUS = พระคริสตเจ้า

รวมความหมายคือ “พระคริสต์ความรอดของเรา”

ประวัติการศึกษาและหน้าที่การทำงาน

แก้
  • ค.ศ. 1932: เข้าเรียนบ้านเณรเล็กที่บ้านเณรบางช้าง และย้ายมาบ้านเณรบางนกแขวก
  • ค.ศ. 1935-1939: บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา จังหโบส์ถชลบุรี
  • ค.ศ. 1940: ครูเณรบ้านเณรหนองแสง นครพนม
  • ค.ศ. 1941: เกิดสงครามบูรพา ออกมาทำนากับครอบครัว
  • ค.ศ. 1941-1948: บ้านเณรใหญ่ (ชั่วคราว) แม่พระนฤมลทิน บางนกแขวก
  • 4 เมษายน ค.ศ. 1948: รับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวง

ตำแหน่งและหน้าที่การทำงาน

แก้
  • ค.ศ. 1948-1949: ผู้ช่วยอธิการอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ (บาทหลวงสมุห์ พานิชเกษม เป็นเจ้าอธิการโบส์ถ)
  • ค.ศ. 1949-1950: ผู้ช่วยอธิการโบส์ถบุ่งกะแทว (บาทหลวงคำจวน ศรีวรกุล เป็นผู้ดูแล)ดูแลบ้านบุ่งไหม บ้านบัว บ้านเอือด
  • ค.ศ. 1950-1953: ศึกษาที่มหาวิทยาลัยคาทอลิก เมืองลีออง ประเทศฝรั่งเศส ปริญญาโททางกฎหมายพระศาสนจักรและปริญญาโททางเทวศาสตร์
  • ค.ศ. 1954: เรียนภาษาอังกฤษที่ดับบลิน ประเทศไอร์แลนด์
  • ค.ศ. 1955: ศึกษาแนวคิดและแนวปฏิบัติด้านการศึกษาแบบอังกฤษ ได้อนุปริญญาและติดตามมุขนายกมีคาแอล มงคล (อ่อน) ประคองจิต ไปดูงานที่อเมริกา
  • ค.ศ. 1956-1957: ผู้ช่วยอธิการโบส์ถท่าแร่ (บาทหลวง แท่ง ยวงบัตรี เจ้าอธิการโบส์ถ)
  • ค.ศ. 1957-1959: ผู้จัดการโรงเรียนเซนต์ยอแซฟ ท่าแร่ ได้รับรองวิทยาฐานะ ค.ศ. 1958
  • 12 กุมภาพันธ์ 1959: ประกาศแต่งตั้งเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมุขมณฑลท่าแร่, ประเทศไทย (Vicar Apostolic of Thare, Thailand) และดำรงตำแหน่งมุขนายกเกียรตินาม(titular bishop) แห่งอ๊อคตาบา ตูนีเนีย (Octaba Tunisia) ดูแลมุขมณฑลท่าแร่[2]
  • 21 มีนาคม 1959: สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ประกาศแต่งตั้งพระคุณเจ้ามีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ เป็นมุขนายกท่านใหม่ของมุขมณฑลท่าแร่
  • 1 กรกฎาคม 1959: รับการอภิเษกเป็นมุขนายกเกียรตินาม (titular bishop) แห่งอ๊อคตาบา ตูนีเนีย (Octaba Tunisia) เป็นมุขนายกผู้ดูแลมุขมณฑลท่าแร่[2]
  • 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963: พระคุณเจ้ามีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 พร้อมกับคณะมุขนายกจากมาเลเซียและลาว และได้รับประกาศแต่งตั้งเป็นอัครมุขนายกแห่งมุขมณฑลใหม่[3]
  • 18 ธันวาคม 1965: สมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ได้ประกาศสถาปนาพระฐานานุกรมศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทย เมื่อ 18 ธันวาคม 1965 (2508) โดยแบ่งเขตปกครองออกเป็น 2 ภาคคือ อัครมุขมณฑลกรุงเทพฯ และ อัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง[4] และประมุขของมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง คือ มุขนายกมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็น “อัครมุขนายก” แห่งอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสงอย่างเป็นทางการ
  • ค.ศ. 1965-1980: ดำรงตำเเหน่งอัครมุขนายกแห่งอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง
  • 6 มีนาคม 1980: ลาออกจากตำแหน่งอัครมุขนายก และเป็นอัครมุขนายกกิตติคุณ
  • 21 มีนาคม ค.ศ. 1984: ฉลอง 25 ปี แห่งการแต่งตั้งเป็นมุขนายก อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง
  • ค.ศ. 1985-1993: เป็นจิตตาธิการอารามกาปูชิน ท่าแร่
  • ค.ศ. 1990: บุกเบิกบ้านดอนถ่อน บ้านวนาสามัคคี อุ่มจาน สกลนคร
  • ค.ศ. 1991: บุกเบิกบ้านคำสว่างน้อย ตำบลกุรุคุ นครพนม, บ้านโคกสง่า สกลนคร
  • ค.ศ. 1992-1993: รับตำแหน่งอุปมุขนายก และเคยเป็นจิตตาธิการคณะวินเซนต์เดอปอล, คณะพระหฤทัย, กลุ่มแม่บ้าน, และชมรมผู้สูงอายุ
  • ค.ศ. 1993: บุกเบิกบ้านพรสวรรค์ (คำเจริญ), บ้านโนนสวาท, บ้านเทพนิมิต, อำเภอบ้านแพง นครพนม
  • ค.ศ. 1996: ล้มป่วยเป็นอัมพาต
  • 4 เมษายน ค.ศ. 1998: อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง จัดงานฉลอง 50 ปี หิรัญสมโภช  ชีวิตการเป็นบาทหลวงแด่ท่าน

เหตุการณ์ที่น่าสนใจในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่ง

แก้

การสถาปนาพระฐานานุกรมอัครอัครมุขมณฑล[3]

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 1965 (2508) สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ได้ประกาศสถาปนาอัครอัครมุขมณฑลในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ อัครมุขมณฑลกรุงเทพฯ และอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง มุขนายกมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระอัครมุขนายก”

ขณะนั้น อัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง มีคริสตชนทั้งหมด 22,221 คน จากประชากรทั้งหมด 1,296,000 คน ใน 3 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ มีบาทหลวง 26 ท่าน ซึ่งรวมทั้งบาทหลวงชาวพื้นเมือง 17 ท่าน บาทหลวงคณะช่วยมิสซัง (S.A.M.) 3 ท่าน และบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) 6 ท่าน พร้อมกับภคินีคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่ จำนวน 72 รูป

การก่อสร้างอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่[3]

หลังจากได้รับการสถาปนาเป็นอัครมุขมณฑล พระอัครมุขนายกมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้เริ่มสร้างอาสนวิหารหลังใหม่ แทนหลังเก่าที่ชำรุด โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 16 เมษายน 1968 (พ.ศ.2511) และเริ่มก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีลักษณะคล้ายหัวเรือ การก่อสร้างใช้เวลา 3 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ มีพิธีเสกและเฉลิมฉลองเมื่อวันที่ 16 เมษายน 1971 (2514) โดยพระอัครมุขนายกมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ร่วมกับมุขนายก คณะบาทหลวง และคริสตชนทั่วอัครมุขมณฑล

การก่อสร้างรองอาสนวิหารนักบุญอันนา หนองแสง[3]

ในเดือนมีนาคม 1972 (พ.ศ. 2515) อัครมุขนายกมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้อนุมัติให้สร้างโบส์ถหลังใหม่ ที่หนองแสงเพื่อใช้เป็น รองอาสนวิหาร โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ วันอาทิตย์ที่ 14 เดือน 7 ปี 1972 (พ.ศ. 2515) โบส์ถหลังใหม่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมคล้ายกับอาสนวิหารหลังเก่า(หนองแสง) ที่ถูกทำลายในช่วงกรณีพิพาทอินโอจีนปี 1940 (พ.ศ.2483) การก่อสร้างสำเร็จด้วยความร่วมมือจากชาวหนองแสง นครพนมและความช่วยเหลือจากทั่วประเทศ โดยมีพิธีเสกและเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 1975 (พ.ศ.2518) โดยมุขนายกเกลาดิอุส บาเย จากอัครมุขมณฑลอุบลราชธานี

ผลงานสำคัญ

แก้

งานเขียน[1]

  • ประวัติการเผยแพร่พระศาสนาในภาคอีสานและประเทศลาว เขียนโดยมุขนายกเกลาดีอุส บาเยต์ และแปลโดยอัครมุขนายกไมเกิ้ล เกี้ยน เสมอพิทักษ์

การแพร่ธรรม[1]

  • ดำรงตำแหน่งประมุขอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจและทรัพย์สินเพื่อการแพร่ธรรม ส่งผลให้มีคริสตชนใหม่จำนวนมาก
  • ก่อตั้งทีมแพร่ธรรม (Ad Gentes) ปี 1962 ภายใต้การนำของบาทหลวงยอห์นบัปติสต์ แท่ง ยวงบัตรี[3]
  • ภายหลังจากลาออกจากตำแหน่งอัครมุขนายก ท่านยังคงทำงานแพร่ธรรมในหลายโบสถ์และหมู่บ้าน แม้จะมีปัญหาสุขภาพ

การบุกเบิกสร้างสรรค์สังคม[1]

  • รวบรวมครอบครัวคริสตชนที่ย้ายไปอยู่ในหมู่บ้านใหม่เพื่อสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ
  • ช่วยเหลือผู้ยากจนโดยจัดหาที่ดินและทุนสำหรับการทำกิน
  • ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ในหมู่บ้าน เช่น การทอเสื่อ การปลูกพืชเศรษฐกิจ และการเลี้ยงสัตว์

การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค[3]

  • จัดซื้อเครื่องทำไฟขนาดใหญ่ในปี 1960 และพัฒนาระบบไฟฟ้าให้ชาวท่าแร่ ซึ่งเป็นการสร้างระบบไฟฟ้าแรกในพื้นที่ หลังจากนั้น เมื่อรัฐบาลสร้างสนามบินที่ตำบลเชียงเครือ และมีการเดินกระแสไฟฟ้าแรงสูงมาที่สนามบิน อัครมุขนายกได้ติดต่อขอใช้ไฟฟ้าและจัดซื้อเสาและสายไฟฟ้าจากสนามบินเชียงเครือมาที่ท่าแร่
  • สร้างระบบประปาจากหนองหาร และโอนกิจการให้สุขาภิบาลท่าแร่
  • พัฒนาระบบสาธารณูปโภคในหลายหมู่บ้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต การดำเนินงานเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนท่าแร่ จ.สกลนคร

การพัฒนาแหล่งน้ำและส่งเสริมอาชีพ[3]

  • สร้างฝายน้ำล้น ขุดสระ และเจาะบ่อบาดาลในหลายหมู่บ้าน
  • จัดหาที่ดินและส่งเสริมอาชีพต่างๆ เช่น การปลูกพืช การทำประมง และการเลี้ยงสัตว์

การตั้งศูนย์สังคมพัฒนา[3]

  • ก่อตั้งศูนย์สังคมพัฒนาอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ในปี 1975
  • ส่งบาทหลวงไปศึกษาการพัฒนาตามจิตตารมณ์ “เครดิตยูเนียน”ในประเทศฟิลิปปินส์เพื่อนำมาปรับใช้ในท้องถิ่น จนปัจจุบันเกิดเป็น และปัจจุบัน ได้เกิดเป็น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สถาบันการเงินที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิกเอง ในหลายพื้นที่ เช่น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนท่าแร่พัฒนา จำกัด

ความผูกพันต่อโบสถ์แม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล[3]

  • ก่อตั้งวัดแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล บ้านป่าพนาวัลย์ ตำบลท่าแร่ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 1986
  • วัดนี้เป็นศูนย์กลางการภาวนาและการแพร่ธรรม ใช้เป็นสถานที่สำหรับการภาวนาและการเข้าเงียบสำหรับชุมชน นักบวช และคริสตชนทั่วไป

วาระสุดท้ายของชีวิต [1]

แก้

การเสียชีวิต

  • อัครมุขนายกมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ อดีตประมุขอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง เสียชีวิตด้วยโรคชราและอัมพาตเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1998 เวลา 04.00 น. ที่บ้านพักบาทหลวงสูงอายุ “บ้านซีเมออน” ที่บ้านท่าแร่ รวมอายุ 77 ปี 29 วัน
  • พิธีมิสซาและการภาวนาหน้าศพจัดขึ้นเป็นเวลา 7 วันที่อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่

พิธีปลงศพ[3]

  • พิธีปลงศพ และฝังศพจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1998 ที่อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่
  • ประธานในพิธีมิสซาคือพระอัครมุขนายกลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน พร้อมด้วยพระสมณทูตลุยจี แบรสซาน(Nominated Apostolic Nuncio Archbishop Luigi Bressan) คณะมุขนายกจากที่ต่างๆ และบาทหลวงประมาณ 160 คน รวมทั้งนักบวชชาย-หญิง และสัตบุรุษประมาณ 3-4 พันคน
  • ร่างของท่านถูกบรรจุฝังไว้ที่สุสานวัดอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ ต่อมาถูกเคลื่อนย้ายไปยังศาลานักบุญทั้งหลายภายในบริสุสานสุสานแร่

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Catholic Haab. (n.d.). ประวัติพระอัครมุขนายกมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์. Catholic Haab. Retrieved July 23, 2024, from https://www.catholichaab.com/main/index.php/2015-09-22-02-42-26/biography/2015-09-22-08-22-36/476-kien-samorpitak
  2. 2.0 2.1 "Catholic-Hierarchy." Bishop Michael Kien Samorpitak. Catholic-Hierarchy, n.d. Web. 23 July 2024. https://catholic-hierarchy.org/bishop/bkien.html.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Don Daniele. "100 ปี ศาสนกิจแห่งพระบิดาทุกชนบท: กำลังใจของคริสตชน." Don Daniele, 12 Dec. 2020. Web. 23 July 2024. https://dondaniele.blogspot.com/2020/12/100.html.
  4. Arporndarat, Veera. "การแบ่งมิสซังไทย (ในอดีต)." Catholic Thailand, 18 Apr. 2018. Web. 23 July 2024. http://www.catholic.or.th/main/our-services/.
ก่อนหน้า เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ถัดไป


มีคาเอลมงคล (อ่อน) ประคองจิต   อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง
(1 กรกฏาคม ค.ศ. 1959– 6 มีนาคม 1980

(พ.ศ.2502 – พ.ศ.2523))

  ลอว์เรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน
ไม่มี   Vicars Apostolic of Thare and Nonseng (Roman Rite)

[ผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง, ประเทศไทย] มุขนายกเกียตินาม(Titular Bishop)
((25 มีนาคม 1960 – 18 ธันวาคม 1965)
(พ.ศ. 2503 – พ.ศ.2508))

  สิ้นสุด
มีคาแอล มงค่อน (อ่อน) ประคองจิต   Vicars Apostolic of Thare (Roman Rite)

[ผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมุขมณฑลท่าแร่, ประเทศไทย] มุขนายกเกียตินาม(Titular Bishop)
((12 กุมภาพันธ์ 1959 – 25 มีนาคม 1960)
(พ.ศ.2502 – พ.ศ.2503))

  สิ้นสุด