เกาะเหลา

เกาะในประเทศไทย

เกาะเหลา เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง มีจุดเด่นคือเป็นเกาะที่ใกล้แผ่นดิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าโกงกางที่ขึ้นกันหนาแน่นจนแทบจะเชื่อมต่อกับแผ่นดิน ด้านที่หันหาแผ่นดินมีคลองน้ำกว้างเพียงชั่วว่ายน้ำข้ามได้ แต่ด้านที่หันหาทะเลอันดามันนั้นสามารถเห็นเกาะสองของประเทศพม่า[1] มีของขึ้นชื่อคือ กะปิเกาะเหลา[2]

เกาะเหลา
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งทะเลอันดามัน
พื้นที่2.29 ตารางกิโลเมตร (0.88 ตารางไมล์)
การปกครอง
จังหวัดระนอง
อำเภอเมืองระนอง
ตำบลปากน้ำ
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา

เกาะเหลามีหมู่บ้านอยู่ 2 หมู่บ้าน คือ บ้านเกาะเหลาในเป็นชุมชนคนไทย มีทางปูนเล็ก ๆ เดินเชื่อมระหว่างกันในหมู่บ้าน และมีโรงเรียนบ้านเกาะเหลาเป็นโรงเรียนประจำเกาะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านนี้ อีกหมู่บ้านคือ บ้านเกาะเหลานอก เป็นชุมชนชาวเล (มอแกน) แต่เดิมนั้นชาวเลใช้ชีวิตร่อนเร่ไปตามทะเล แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อ พ.ศ. 2547 รัฐบาลได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือชาวมอแกนบ้านเกาะเหลาหน้านอกโดยสร้างบ้านถาวรใหม่ให้ ทำให้วิถีชีวิตที่เคยเร่ร่อนหยุดลงอย่างถาวร เนื่องจากองค์กรชุมชนมีข้อบังคับของการจะได้บ้านว่าต้องไม่มีการอพยพโยกย้ายอีก

ชุมชนชาวเกาะเหลาหน้าในส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม แต่มีบ้างที่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนชาวมอแกนที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะเหลาหน้านอกนับถือผีบรรพบุรุษและศาสนาคริสต์[3]

อ้างอิง แก้

  1. คมฉาน ตะวันฉาย. "มอแกนที่เกาะเหลา". กรุงเทพธุรกิจ.
  2. ปิ่น บุตรี. "ระนอง 2 อารมณ์...สุดยอดกะปิเกาะเหลา น่าเศร้ามอแกนผู้อาภัพ". ผู้จัดการออนไลน์.
  3. ธีรศักดิ์ สุขสันติกมล. "ผลกระทบของการพัฒนาภายหลังเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ. 2547 ต่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกนบ้านเกาะเหลาหน้านอก จังหวัดระนอง". บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.