เกาะบินตัน (อังกฤษ: Bintan Island; อินโดนีเซีย: Negeri Segantang Lada) เป็นเกาะในหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดนีเซีย เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหมู่เกาะเรียว เป็นที่ตั้งของเมืองตันจุงปีนัง เมืองหลวงของจังหวัด ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ และถือเป็นชุมชนใหญ่ของเกาะ[1][2][3][4]

Bintan
Pulau Bintan
ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเรียว
พิกัด: 1°04′36″N 104°30′01″E / 1.07667°N 104.50028°E / 1.07667; 104.50028
ประเทศอินโดนีเซีย
จังหวัดหมู่เกาะเรียว
พื้นที่พื้นที่รวม (รวมถึงพื้นที่ทะเล)
 • ทั้งหมด23,188 ตร.ไมล์ (60,057 ตร.กม.)
 • พื้นดิน927.53 ตร.ไมล์ (2,402.28 ตร.กม.)
ประชากร
 (2010)
 • ทั้งหมด334,875 คน
 • ความหนาแน่น361.0 คน/ตร.ไมล์ (139.39 คน/ตร.กม.)
จุดสูงสุดกูนังบินตันเบอซาร์ (Gunung Bintan Besar) (360 ม.)
เว็บไซต์Government of Indonesia

เกาะบินตันมีพื้นที่ 2,402.28 ตร.กม. (927.53 ตร. ไมล์) หากรวมกับพื้นที่ที่เป็นทะเล (มีพื้นที่เป็นร้อยละ 96 ของเกาะ) มีพื้นที่ 60,057 ตร.กม. (23,188 ตร.ไมล์)[5] อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเกาะบินตัน ซึ่งเป็นหนึ่งในหกอำเภอของจังหวัดเรียว และเมืองตันจุงปีนังเป็นเขตการปกครองพิเศษของเกาะบินตัน[5] ประวัติศาสตร์ของเกาะบินตันย้อนไปได้ถึงต้นศตวรรษที่ 3 เกาะมีความรุ่งเรืองจากการเป็นเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งนานนับศตวรรษอยู่ภายใต้การควบคุมของจีน อังกฤษ และต่อมาคือเนเธอร์แลนด์ และเมื่อเนเธอร์แลนด์ประกาศว่าเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ผ่านสนธิสัญญาอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1824[6][7][8] ต่อมาในศตวรรษที่ 12 เกาะบินตันซึ่งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา เป็นที่รู้จักว่าเป็น "เกาะโจรสลัด" เนื่องจากโจรสลัดมลายูใช้เป็นสถานที่ปล้นสะดมเรือสินค้าในน่านน้ำนี้[9]

สิงคโปร์เป็นเมืองใหญ่ที่ใกล้เกาะนี้ที่สุด โดยสามารถเดินทางจากเรือใบน้ำตื้นโดยใช้เวลา 45-50 นาที จากช่องแคบสิงคโปร์สู่พื้นที่รีสอร์ตของเกาะบินตัน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ บนเกาะมีชายหาด ที่มีโรงแรมและสถานพักตากอากาศนานาชาติติดกับชายหาด มีสถานพักตากอากาศที่มีชื่อเสียงอย่าง รีสอร์ตบินตัน มีพื้นที่กว่า 300 เฮกเตอร์ (740 เอเคอร์) อินโดนีเซียได้ประชาสัมพันธ์ว่าเกาะเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดรองจากบาหลี[10]

อ้างอิง แก้

  1. Gössling, Stefan (2003). Tourism and development in tropical islands: political ecology perspectives. Edward Elgar Publishing. p. 267. ISBN 1-84376-257-9. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
  2. "Government". Bintan net Government of Indonesia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  3. "Welcome to the island of Bintan". bintan.net Government of Indonesia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-26. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  4. Peachey, Karen; Martin Perry; Carl Grundy-Warr (1998). The Riau Islands and economic cooperation in the Singapore Indonesian border zone. IBRU. pp. 17–20. ISBN 1-897643-27-6. สืบค้นเมื่อ 2010-06-15.
  5. 5.0 5.1 "Riau Island Province". Government of Indonesia. สืบค้นเมื่อ 2010-06-17.
  6. "Bintan Indonesia". Asinah.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 2010-06-15.
  7. "Time Line". Time Line. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  8. "History of Bintan Island". Indonesia Tourism: Government of Indonesia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  9. Hawk, Justice (2005). Dark Waters. iUniverse. p. 128. ISBN 0-595-36881-6. สืบค้นเมื่อ 2010-06-15.
  10. Berkmoes, Ryan Ver (2010). Lonely Planet Indonesia. Lonely Planet. pp. 455–456. ISBN 1-74104-830-3. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.