เกออร์ค วิททิช (เยอรมัน: Georg Wittig; 16 มิถุนายน ค.ศ. 1897 – 26 สิงหาคม ค.ศ. 1987) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน เป็นผู้ค้นพบปฏิกิริยาวิททิช ซึ่งเป็นการสังเคราะห์อินทรีย์เพื่อเตรียมแอลคีน รวมถึงค้นพบปฏิกิริยาเรียงตัวใหม่ 1,2-วิททิช ปฏิกิริยาเรียงตัวใหม่ 2,3-วิททิช และการเตรียมฟีนิลลิเทียม วิททิชได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับเฮอร์เบิร์ต ซี. บราวน์ ในปี ค.ศ. 1979[1]

เกออร์ค วิททิช
เกิด16 มิถุนายน ค.ศ. 1897(1897-06-16)
เบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิตสิงหาคม 26, 1987(1987-08-26) (90 ปี)
ไฮเดิลแบร์ค เยอรมนีตะวันตก
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมาร์บวร์ค
มีชื่อเสียงจากปฏิกิริยาวิททิช
ปฏิกิริยาเรียงตัวใหม่ 1,2-วิททิช
ปฏิกิริยาเรียงตัวใหม่ 2,3-วิททิช
โพแทสเซียมเตตระฟีนิลบอเรต
รางวัลรางวัลอ็อทโท ฮาน
(ค.ศ. 1967)
เหรียญทองเพาล์ คาเรอร์ (ค.ศ. 1972)
รางวัลโนเบลสาขาเคมี
(ค.ศ. 1979)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยมาร์บวร์ค
มหาวิทยาลัยเทคนิคเบราน์ชไวค์
มหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค
มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน
มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกคาร์ล ฟ็อน เอาเวิร์ส
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกแวร์เนอร์ ท็อคเทอร์มัน

ประวัติ

แก้

เกออร์ วิททิชเกิดที่กรุงเบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1897 ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่ที่เมืองคัสเซิล วิททิชเรียนเคมีที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน เขาได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและถูกกองทัพอังกฤษจับตัว[2] หลังถูกปล่อยตัว วิททิชกลับมาเรียนต่อจนจบด้านเคมีอินทรีย์ เขาเริ่มทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ตามคำแนะนำของคาร์ล ฟ็อน เอาเวิร์ส และได้งานเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยมาร์บวร์ค ในปี ค.ศ. 1930 วิททิชแต่งงานกับวัลเทราท์ แอ็นสท์[3] ต่อมาวิททิชได้รับคำเชิญจากคาร์ล เทโอฟีล ฟรีส ให้มาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคนิคเบราน์ชไวค์ หลังถูกนาซีกดดันอย่างหนัก วิททิชเดินทางไปมหาวิทยาลัยไฟรบวร์คตามคำเชิญของแฮร์มัน ชเตาดิงเงอร์[4]

ในปี ค.ศ. 1944 วิททิชดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเคมีอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน ในช่วงที่ทำงานที่นี่ วิททิชได้คิดค้นปฏิกิริยาวิททิช ต่อมาเขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเคมีอินทรีย์ที่มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์คจนกระทั่งเกษียณในปี ค.ศ. 1967[5] และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1979

วิททิชยังคงตีพิมพ์บทความวิชาการถึงปี ค.ศ. 1980 เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1987[6]

อ้างอิง

แก้