เกรียงอาจ สุวรรณภักดี

เกรียงอาจ สุวรรณภักดี (ญี่ปุ่น: ギャルアッド・スワンパクティ; อังกฤษ: Kreangarg Suwanpakdee) เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่อง ใครว่าข้าไม่เก่ง (KOKO TEKKENDEN TOUGH) ปรากฏตัวครั้งแรกในตอนที่ 155 ซึ่งเขียนโดย เท็ตสึยะ ซารุวาตาริ

เกรียงอาจ สุวรรณภักดี
ตัวละครใน 'ใครว่าข้าไม่เก่ง'
ประวัติ
ญาตินักมวยชาวคลองเตย (เพื่อน)
มิยาซาว่า คิอิจิ (คู่ปรับ, เพื่อน)
ข้อมูล
ปรากฏตัวครั้งแรกตอนที่ 155
สัญชาติ ไทย
น้ำหนัก160 ปอนด์
รุ่นเฟเธอร์เวท
เครื่องรางพระร่วง

ประวัติตามท้องเรื่อง

แก้

เกรียงอาจ สุวรรณภักดี เป็นนักมวยไทยตั้งแต่อายุ 10 ขวบจากภาคอีสานของไทย เขาเคยแข่งมวยกับเพื่อนนักมวยไทยคนหนึ่งจากคลองเตย ผลการแข่งในครั้งนั้น เกรียงอาจเป็นฝ่ายชนะ เพื่อนนักมวยจากคลองเตยจึงได้มอบพระเครื่อง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "พระร่วง" แก่เกรียงอาจ ก่อนที่เพื่อนจากคลองเตยคนนี้ตัดสินใจใช้มีดตัดขาของตนทิ้งเพื่อละเส้นทางนักมวยเพื่อไปเป็นขอทาน เนื่องจากในสมัยนั้นหากหมดโอกาสแข่งขันแล้วก็ไม่สามารถหารายได้ด้วยวิธีอื่นได้อีกเลย เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความสะเทือนใจแก่เกรียงอาจเป็นอย่างมาก

เมื่อเกรียงอาจเติบโตขึ้น เขาได้เดินทางมายังประเทศญี่ปุ่น แล้วปราบนักสู้ชาวญี่ปุ่นไปหลายราย ไม่ว่าจะเป็น โอมุมะ รวมทั้งศิษย์สำนักคาราเต้ เทซึชิน, โทงุ อากิระ นักมวยคิกบอกซิ่ง และอาริคาวะ โคเก็น เจ้าสำนักเทซึชิน ทำให้ คีโบ (มิยาซาว่า คิอิจิ) ประจักษ์ในฝีมือ และมีความปรารถนาที่จะดวลฝีมือกับเกรียงอาจบ้าง คีโบจึงเริ่มฝึกวิชามวยไทยอย่างจริงจังเพื่อรอวันประลองฝีมือกับเกรียงอาจ เมื่อได้เผชิญฝีมือกันแล้วทำให้คีโบประจักษ์ว่ามวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีทักษะท่ายืนที่ดีที่สุด ทั้งคู่เคยปะทะกันอย่างดุเดือดหลายครั้ง และการปะทะกันในครั้งหลังส่งผลให้คีโบถึงกับหมดสติ ก่อนที่พ่อของคีโบจะเข้ามาห้ามเอาไว้ได้ทัน พ่อของคีโบนำพระเครื่องมามอบให้แก่เกรียงอาจ เมื่อเกรียงอาจเห็นเช่นนั้นแล้วจึงมีอาการสงบลง ในภายหลังเกรียงอาจกับคีโบได้เป็นเพื่อนกัน ก่อนที่จะให้คำมั่นสัญญาว่าจะพบกันอีกในโอกาสต่อไป

ส่วนเกี่ยวข้อง

แก้
  • สถิติการชก : ชนะ 16 แพ้ 1
  • ท่าไม้ตาย : จงอางฉก, ศอกกลับ

การปรากฏตัวในสื่ออื่น

แก้

ครั้งหนึ่ง ได้มีการนำเกรียงอาจ ไปเป็นตัวละครประกอบในเกมสล็อต แมชชีน ที่ประเทศญี่ปุ่น[1]

การตอบรับ

แก้

เกรียงอาจเป็นนักมวยไทยที่สามารถเอาชนะ มิยาซาว่า คิอิจิ (คีโบ) ตัวเอกของเรื่องได้ และได้รับการกล่าวว่าเป็นนักมวยไทยอันดับหนึ่งของเรื่อง[2]

อ้างอิง

แก้
  1. การปรากฏตัวของเกรียงอาจในเกมสลอทแมชชีน (ญี่ปุ่น)
  2. The Global-Thai Backbone. กองบรรณาธิการ. THE COMPANY. ปีที่ 14 ฉบับที่ 166. กันยายน 2554. เลิฟแอนด์ลิฟเพรส. หน้า 101

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้