เกรกอรี ผู้ให้ความกระจ่าง
นักบุญเกรกอรี ผู้ให้ความกระจ่าง หรือ นักบุญเกรกอรี ผู้มอบความสว่าง (อังกฤษ: Gregory the Illuminator[1]; คลาสสิกอาร์มีเนีย: Գրիգոր Լուսաւորիչ, รีฟอร์ม: Գրիգոր Լուսավորիչ, Grigor Lusavorich;[a] ประมาณ 257 – ประมาณ 331) เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์และปฐมอัครบิดรของคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนีย ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำศาสนาผู้เปลี่ยนประเทศอาร์มีเนียจากลัทธิเพแกนมาเป็นศาสนาคริสต์ในปี ค.ศ. 301
เกรกอรี ผู้ให้ความกระจ่าง | |
---|---|
ภาพโมเสคที่โบสถ์พามมาคาริสโตส อิสตันบูล | |
คาทอลิโกส์แห่งชาวอาร์มีเนียทั้งปวง (อัครบิดรแห่งอาร์มีเนีย) | |
เกิด | c. 257 ราชอาณาจักรอาร์มีเนีย |
เสียชีวิต | c. 331 (อายุ 73–74) ราชอาณาจักรอาร์มีเนีย |
นับถือ ใน | คริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนีย คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ คริสตจักรคาทอลิก คริสตจักรคาทอลิกอาร์มีเนีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมูเนียน |
วันฉลอง | 20 กุมภาพันธ์ (Nardò, อิตาลี) 23 มีนาคม (อังกลิคัน) วันเสาร์ก่อนวันอาทิตย์ที่สี่หลังวันเพนทีคอส (อัครทูตอาร์มีเนีย) 30 กันยายน (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์; คาทอลิก) 1 ตุลาคม (คาทอลิก) |
องค์อุปถัมภ์ | ประเทศอาร์มีเนีย |
เกรกอรีเป็นบุตร[2] ของขุนนางอาร์มีเนียชาวปาร์เธีย[3] บิดาคือ อานัค ชาวปาร์เธีย และมารดาคือโอโคเฮ (Okohe) เชื่อกันว่าอานัค บิดาของเกรกอรี สืบเชื้อสายมาจากเจ้าชายในจักรวรรดิอาร์ซาจิด (Arsacid) แห่งอาร์มีเนีย[4] หรือมาจากสภาซูเรน หนึ่งในแคว้นปาร์เธียทั้งเจ็ด[5][6][7]
ในปี 301 เกรเกอรีประกอบพิธีบัปติศมาให้แก่พระเจ้าทีรีดาเตสที่ 3 และราชวงศ์ พระเจ้าทีรีดาเตสที่ 3 ทรงมีพระราชกฤษฎีกาให้เกรกอรีมีสิทธิ์เต็มในการเปลี่ยนศาสนาดินแดนอาร์มีเนียทั้งประเทศเป็นศาสนาคริสต์ และในปีเดียวกันนั้นเป็นที่ถือกันว่าประเทศอาร์มีเนียได้รับการเปลี่ยนเข้าสู่ศาสนาคริสต์[8]
ดูเพิ่ม
แก้- อาสนวิหารเอจมิยซิน
- ศาสนาคริสต์อีสเติร์นตะวันออก
- เกรกอริดส์
- วาร์ดาเพท นักบวชสายเทศนาของอาร์มีเนีย
อ้างอิง
แก้- ↑ or Saint Gregory the Enlightener
- ↑ Hovannisian, The Armenian People From Ancient to Modern Times, Volume I: The Dynastic Periods: From Antiquity to the Fourteenth Century, p. 72
- ↑ Agat’angeghos, History of the Armenians, p. xxvii
- ↑ Kurkjian, A History of Armenia, p. 270.
- ↑ Lang, David Marshall (1980). Armenia, cradle of civilization. Allen & Unwin. p. 155. ISBN 9780049560093.
- ↑ Russell, James R. (2004). Armenian and Iranian Studies. Department of Near Eastern Languages and Civilizations, Harvard University. p. 358. ISBN 9780935411195.
- ↑ Terian, Patriotism And Piety In Armenian Christianity: The Early Panegyrics On Saint Gregory, p. 106
- ↑ The Journal of Ecclesiastical History – Page 268 by Cambridge University Press, Gale Group, C.W. Dugmore
หมายเหตุ
แก้บรรณานุกรม
แก้- Agat’angeghos, History of the Armenians, SUNY Press, 1976
- R. G. Hovannisian, ed. The Armenian People from Ancient to Modern Times, Volume I: The Dynastic Periods: From Antiquity to the Fourteenth Century, Palgrave Macmillan, 2004
- V. M. Kurkjian, A History of Armenia, Indo-European Publishing, 2008
- A. Terian, Patriotism and Piety in Armenian Christianity: The Early Panegyrics on Saint Gregory, St Vladimir's Seminary Press, 2005