ฮิยกโกะ
ฮิยกโกะ (ญี่ปุ่น: ひよっこ; อังกฤษ: Hiyokko) เป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นและอาซาโดระ ลำดับที่ 96 ต่อจากเบปปินซัง (Beppinsan) ใน ค.ศ. 2016 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (เจเนอรัลทีวี) ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน จนถึง 30 กันยายน ค.ศ. 2017 นำแสดงโดย คาซูมิ อาริมูระ เป็น มิเนโกะ ยาตาเบะ[1] หญิงสาวที่กำลังจะจบการศึกษาชั้นมัธยมตอนปลายและกำลังลังเลในอาชีพของตนเองในอนาคตอันใกล้ ขณะที่พ่อของเธอที่ขายแรงอยู่ในโตเกียวหายไปตัวโดยไม่ได้บอกกล่าวครอบครัว
ฮิยกโกะ | |
---|---|
ひよっこ | |
ประเภท | ดราม่า |
บทโดย | โยชิกาซุ โอกาดะ |
กำกับโดย |
|
แสดงนำ | คาซูมิ อาริมูระ |
บรรยายโดย | อาเกมิ มาซูดะ |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | "วาไกฮิโรบะ" โดย เคซูเกะ คูวาตะ |
ผู้ประพันธ์เพลง | อากิระ มิยางาวะ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ญี่ปุ่น |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาญี่ปุ่น |
จำนวนฤดูกาล | 1 ฤดูกาล |
จำนวนตอน | 156 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ฮิโรชิ คาชิ |
ความยาวตอน | 15 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เอ็นเอชเค |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | เอ็นเอชเค |
ออกอากาศ | 3 เมษายน ค.ศ. 2017 – 30 กันยายน ค.ศ. 2017 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
ฮิยกโกะ 2 |
เดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 ได้มีการประกาศการผลิตตอนพิเศษภายใต้ชื่อฮิยกโกะ 2 [2] ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 25–28 มีนาคม ค.ศ. 2019 ทั้งสิ้น 4 ตอน ตอนละ 30 นาที เล่าเรื่องราวของตัวละครในฮิยกโกะ หลังการออกอากาศสิ้นสุดไปแล้ว 2 ปีให้หลัง[3]
เรื่องย่อ
แก้ใน ค.ศ. 1964 หมู่บ้านชนบทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดอิบารากิที่ชื่อ "หมู่บ้านโอกุ-อิบารากิ" (奥茨城村) มีครอบครัวยาตาเบะซึ่งเป็นครอบครัวเกษตกรอาศัยอยู่ ประกอบด้วย มิเนโกะ ยาตาเบะ (คาซูมิ อาริมูระ) พี่สาวคนโตของครอบครัวที่กำลังกังวลกับอาชีพการงานของเธอในอนาคตเมื่อการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใกล้จบลง ขณะนั้นเองประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกได้มีการระดมแรงงานจำนวนมากเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโตเกียวให้ทันสมัยขึ้น พ่อของเธอ มิโนรุ ยาตาเบะ (อิกกิ ซาวามูระ) เป็นส่วนหนึ่งของแรงงานนั้น มิโนรุเดินทางไปก่อสร้างตึกสูงเพื่อหาเงินพยุงครอบครัวของเขาและจ่ายหนี้ไร่สวนที่ล่มไป[4] มิตสึโอะ ซูมิตานิ (ยูกิ อิซูมิซาวะ) เพื่อนชายของมิเนโกะในโรงเรียนเสนอการจัดการวิ่งคบเพลิงรอบหมู่บ้านโอกุ-อิบารากิที่ซึ่งการวิ่งคบเพลิงหลักไม่ได้ผ่านหมู่บ้านไป ขณะที่ มิโยโกะ ยาตาเบะ (โยชิโนะ คิมูระ) แม่ของมิเนโกะได้รับจดหมายและพัสดุที่ส่งไปหามิโนรุที่โตเกียวถูกส่งตีกลับมาหาที่บ้านเนื่องจากไม่พบผู้รับตามที่อยู่ จึงโทรศัพท์ไปหาผู้จัดหาห้องเช่าและได้คำตอบกลับมาว่ามิโนรุหายออกไปโดยยังทิ้งสัมภาระอยู่ที่ห้องเช่าของเขา[5] มิเนโกะตัดสินใจเดินทางไปยังโตเกียวเพื่อทำงานส่งเงินกลับมาแทนพ่อของเธอที่ยังไม่พบด้วยความหวังเล็ก ๆ ที่ในระหว่างนั้นอาจพบเจอพ่อของเธอ[6]
ตัวละคร
แก้ตัวละครหลัก
แก้- มิเนโกะ ยาตาเบะ แสดงโดย คาซูมิ อาริมูระ
หมู่บ้านโอกุ-อิบารากิ
แก้ครอบครัวยาตาเบะ
แก้- ชิเงรุ ยาตาเบะ แสดงโดย อิกโก ฟูรูยะ
- ปู่ของมิเนโกะ เป็นคนที่ไม่ค่อยพูดจาแต่คอยสนับสนุนครอบครัวอยู่ด้านหลังผ่านการให้คำปรึกษา
- มิโนรุ ยาตาเบะ แสดงโดย อิกกิ ซาวามูระ
- พ่อของมิเนโกะ ไปโตเกียวเพื่อก่อสร้างอาคารคาซูมิงาเซกิและนำรายได้มาพยุงครอบครัวของเขาที่อิบารากิ แต่จู่ ๆ เขาหายตัวไปโดยไม่ได้บอกกล่าวกับครอบครัวของเขา
- มิโยโกะ ยาตาเบะ แสดงโดย โยชิโนะ คิมูระ
- แม่ของมิเนโกะ
- ชิโยโกะ ยาตาเบะ แสดงโดย คานาอุ มิยาฮาระ
- น้องสาวของมิเนโกะ
- ซูซูมุ ยาตาเบะ แสดงโดย ไร ทากาฮาชิ
- น้องชายของมิเนโกะ
- มูเนโอะ โคอิวาอิ แสดงโดย คาซูโนบุ มิเนตะ
- ลุงของมิเนโกะและน้องชายของมิโนรุ อาศัยอยู่คนละบ้านจากครอบครัวยาตาเบะ เป็นคนอารมณ์ดี อดีตเคยเป็นทหารเกณฑ์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ชอบฟังเพลงของวงเดอะบีเทิลส์
- ชิเงโกะ โคอิวาอิ แสดงโดย ชิซูโยะ ยามาซากิ
- ภรรยาของมูเนโอะและป้าของมิเนโกะ
ครอบครัวซูเกงาวะ
แก้- โทกิโกะ ซูเกงาวะ แสดงโดย ยูอิ ซากูมะ
- เพื่อนร่วมชั้นของมิเนโกะ ในอนาคตอยากเป็นนักแสดง
- คิมิโกะ ซูเกงาวะ แสดงโดย มิจิโกะ ฮาดะ
- แม่ของโทกิโกะ
- โชจิ ซูเกงาวะ แสดงโดย โทชิยะ โทยามะ
- พ่อของโทกิโกะ
- โทโยซากุ ซูเกงาวะ แสดงโดย เค็นโตะ ชิบูยะ
- พี่ชายของโทกิโกะ
ครอบครัวซูมิตานิ
แก้- มิตสึโอะ ซูมิตานิ แสดงโดย ยูกิ อิซูมิซาวะ
- เพื่อนร่วมชั้นของมิเนโกะ เข้ามาทำงานในโตเกียวที่ร้านขายข้าว
- มาซาโอะ ซูมิตานิ แสดงโดย ริเอะ ชิบาตะ
- แม่ของมิตสึโอะ
- มาซาโอะ ซูมิตานิ แสดงโดย ชินจิ อาซากูระ
- พ่อของมิตสึโอะ
- ทาโร ซูมิตานิ แสดงโดย ฮิโรยูกิ โอโนอูเอะ
- พี่ชายของมิตสึโอะ
ตัวละครอื่น
แก้- จิโร มาชิโกะ แสดงโดย ซาโตรุ มัตสึโอะ
- พนักงานขับรถโดยสารโรงเรียน
- มานาบุ ทางามิ แสดงโดย คันจิ สึดะ
- ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้คนในโตเกียว
แก้ร้านซูซูฟูริ
แก้- ซูซูโกะ มากิโนะ แสดงโดย โนบูโกะ มิยาโมโตะ
- เจ้าของร้านซูซูฟูริ
- โชโงะ มากิโนะ แสดงโดย คูราโนซูเกะ ซาซากิ
- พ่อครัว
- ทากาโกะ อาซากูระ แสดงโดย ฮิโตมิ ซาโต
- พนักงานบริการ
- เค็นจิ อิงาวะ แสดงโดย อิจิโร ยาสึอิ
- ฮิเดโตชิ มาเอดะ แสดงโดย ฮายาโตะ อิโซมูระ
โรงงานวิทยุมูโกจิมะ
แก้- ไอโกะ นางาอิ แสดงโดย เอมิ วากูอิ
- ผู้ดูแลหอพักแรงงานหญิง
- ซาจิโกะ อากิบะ แสดงโดย ฟูจิโกะ โคจิมะ
- หัวหน้าหอพักแรงงานหญิงและทำงานที่โรงงานด้วยเช่นกัน มาจากจังหวัดยามางาตะ
- ยูโกะ นัตสึอิ แสดงโดย ยูกิ ยางิ
- เพื่อนร่วมห้องพักของกลุ่มมิเนโกะ มาจากจังหวัดอิบารากิ
- ซูมิโกะ นาบาตาเมะ แสดงโดย โฮโนกะ มัตสึโมโตะ
- นักเรียนที่พึ่งสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เข้ามาทำงานในโตเกียว เธอมาจากจังหวัดฟูกูโอกะ เป็นคนขี้อายและไม่ค่อยพูด
- โทโยโกะ คาเนฮาระ แสดงโดย เรียวโกะ ฟูจิโนะ
- นักเรียนที่พึ่งสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เข้ามาทำงานในโตเกียว ด้วยฐานะทางการเงินของครอบครัวที่ไม่ดีจึงต้องเลิกเรียนและส่งเงินให้กับครอบครัวของเธอ
การผลิต
แก้คาซูมิ อาริมูระ ได้รับเลือกให้แสดงนำในฮิยกโกะ โดยไม่ต้องผ่านการคัดนักแสดง การเลือกนักแสดงเพื่อมาเล่นในอาซาโดระ โดยตรงครั้งสุดท้ายก่อนอาริมูระคือฮานาโกะ นักแปลสาวหัวใจแกร่ง ในปี 2014 นำแสดงโดย ยูริโกะ โยชิตากะ[7] ก่อนที่อาริมูระจะนำแสดงในฮิยกโกะ เธอเคยร่วมแสดงในอาซาโดระ ลำดับที่ 88 ในปี 2013 เรื่อง อามะจัง สาวน้อยแห่งทะเล เป็นแม่ของตัวละครหลัก[1] ผู้อำนวยการสร้าง ฮิโรชิ คาชิ กล่าวว่าอาริมูระแสดงให้เห็นถึง "ความใกล้ชิดที่อบอุ่น" และทำให้เขาคิดว่าในชนบทน่าจะมีเด็กผู้หญิงที่มีลักษณะนิสัยคล้ายเธออยู่บ้าง[8] นอกจากนี้ อาริมูระยังแสดงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 3 ที่เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ได้โดยไม่ต้องใช้นักแสดงเด็กแสดงแทน[1] ขณะที่ตัวละครสมทบอื่น ๆ ที่ปรากฏในฮิยกโกะ นั้นได้รับเลือกจากการคัดเลือกนักแสดง[9][10]
ผู้อำนวยการสร้าง ฮิโรชิ คาชิ กล่าวถึงชื่อเรื่องของอาซาโดระ นี้ว่าในตอนแรกมีการเสนอชื่อ เนโกะ (ねこ, "แมว") แต่ภายหลังตัดสินใจใช้ชื่อ ฮิยกโกะ (ひよっこ, "ลูกนก"[a]) แทน โดยให้เหตุผลว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง กลุ่มหนุ่มสาวที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจในยุคนั้นที่เรียก ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น จะถูกขนานนามว่าเป็น "ไข่ทองคำ" (金の卵)[11][12] ด้วยเหตุนี้เพื่อที่จะให้ตัวละครหลักของฮิยกโกะ มิเนโกะ ยาตาเบะ (แสดงโดย คาซูมิ อาริมูระ) ถูกเรียกว่าไข่ทองคำ เธอจึงต้องออกมาจากเปลือกไข่และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งนั่นสะท้อนถึงชื่อเรื่อง "ฮิยกโกะ" จนถึงตอนสุดท้ายของอาซาโดระ เรื่องนี้[9]
ผลงานผลิตอาซาโดระ ก่อนหน้าฮิยกโกะ มักมีเนื้อเรื่องที่ได้รับต้นแบบจากบุคคลจริง แต่สำหรับเนื้อเรื่องของฮิยกโกะ นั้นเป็นผลงานต้นฉบับที่ตัวละครเอกมีความแข็งแกร่ง[13] ผู้ประพันธ์บทเพียงคนเดียวของฮิยกโกะ โยชิกาซุ โอกาดะ กล่าวเพิ่มเติมว่าแก่นเรื่องจะแตกต่างไปจากอาซาโดระ เรื่องอื่น ๆ ที่ผ่านมาซึ่งให้น้ำหนักไปทางความพยายามเพื่อประกอบอาชีพที่ใฝ่ฝันหรือการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานด้วยตนเอง แต่มิเนโกะ ตัวละครเอกของเรื่อง ได้รับการกระตุ้นและแรงผลักดันให้เดินหน้าต่อไปด้วยปัญหาสำคัญคือการหายตัวไปของพ่อของเธอ[14]
การออกอากาศ
แก้จากตารางด้านล่าง สีน้ำเงิน แสดงเรตติงต่ำสุด และ สีแดง แสดงเรตติงสูงสุด
สัปดาห์ | ตอนที่ | วันออกอากาศ | ชื่อตอนภาษาญี่ปุ่น | ชื่อตอนแปลภาษาไทย | กำกับโดย | เรตติงเฉลี่ยรายสัปดาห์ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1–6 | 3–8 เมษายน | お父ちゃんが帰ってくる! | พ่อกลับมาหา! | ฮิโรชิ คูโรซากิ | 19.4%[15] |
2 | 7–12 | 10–15 เมษายน | 泣くのはいやだ、笑っちゃおう | อย่าร้องไห้แล้วมายิ้มกันเถอะ | 19.2%[16] | |
3 | 13–18 | 17–22 เมษายน | 明日に向かって走れ! | หันหน้าไปยังวันพรุ่งนี้แล้ววิ่งออกไป! | ทาเกชิ ฟูกูโอกะ | 19.3%[17] |
4 | 19–24 | 24–29 เมษายน | 旅立ちのとき | ห้วงเวลาแห่งการออกเดินทาง | ฮิโรชิ คูโรซากิ | 19.1%[18] |
5 | 25–30 | 1–6 พฤษภาคม | 乙女たち、ご安全に! | เหล่าสาว ๆ ขอให้ปลอดภัย! | ทาดาชิ ทานากะ | 18.2%[19] |
6 | 31–36 | 8–13 พฤษภาคม | 響け若人のうた | เพลงของหนุ่มสาวหวนกลับคืน | 19.6%[20] | |
7 | 37–42 | 15–20 พฤษภาคม | 椰子の実たちの夢 | ฝันถึงผลปาล์ม | ทาเกชิ ฟูกูโอกะ | 19.8%[21] |
8 | 43–48 | 22–27 พฤษภาคม | 夏の思い出はメロン色 | ความทรงจำในฤดูร้อนคือสีของเมลอน | เท็ตสึยะ วาตานาเบะ | 19.3%[22] |
9 | 49–54 | 29 พฤษภาคม–3 มิถุนายน | 小さな星の、小さな光[b] | แสงไฟจาง ๆ จากดวงดาวเล็ก ๆ | ทาดาชิ ทานากะ | 19.1%[23] |
10 | 55–60 | 5–10 มิถุนายน | 谷田部みね子ワン、入ります | มิเนโกะ ยาตาเบะ วัน, จะเข้าแล้วนะ | ฮิโรชิ คูโรซากิ | 19.2%[24] |
11 | 61–60 | 12–17 มิถุนายน | あかね荘にようこそ! | ยินดีต้อนรับสู่อากาเนะโซะ! | ทาเกชิ ฟูกูโอกะ | 19.6%[25] |
12 | 67–72 | 19–24 มิถุนายน | 内緒話と、春の風 | ซุบซิบเรื่องความลับผ่านสายลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ | เท็ตสึยะ วาตานาเบะ | 19.8%[26] |
13 | 73–78 | 26 มิถุนายน–1 กรกฎาคม | ビートルズがやって来る | ในที่สุดเดอะบีเทิลส์ก็มาซักที | ทาดาชิ ทานากะ | 20.6%[27] |
14 | 79–84 | 3–8 กรกฎาคม | 俺は笑って生きてっとう! | ฉันน่ะจะยิ้มและใช้ชีวิตต่อไป! | ทาเกชิ คาวากามิ | 20.4%[28] |
15 | 85–90 | 10–15 กรกฎาคม | 恋、しちゃったのよ | เผลอรักเข้าเสียแล้ว | เท็ตสึยะ วาตานาเบะ | 19.9%[29] |
16 | 91–96 | 17–22 กรกฎาคม | アイアイ傘とノック | แชร์ร่มคันเดียวกันและน็อก | ยูซูเกะ โฮริอูจิ | 20.5%[30] |
17 | 97–102 | 24–29 กรกฎาคม | 運命のひと | คนแห่งโชคชะตา | ฮิโรชิ คูโรซากิ | 21.1%[31] |
18 | 103–108 | 31 กรกฎาคม–5 สิงหาคม | 大丈夫、きっと | ไม่เป็นไร ไม่ว่าอย่างไรก็... | ทาดาชิ ทานากะ | 22.4%[32] |
19 | 109–114 | 7–12 สิงหาคม | ただいま。おかえり。 | กลับมาแล้ว, ยินดีต้อนรับกลับ | ฮิโรชิ คูโรซากิ | |
20 | 115–120 | 14–19 สิงหาคม | さて、問題です | เอาล่ะ นี่คือคำถาม | เค็นซูเกะ มัตสึกิ | 20.9%[33] |
21 | 121–126 | 21–26 สิงหาคม | ミニスカートの風が吹く | มินิสเกิร์ตแห่งสายลมเบ่งบาน | ทาเกชิ คาวากามิ | 21.4%[34] |
22 | 127–132 | 28 สิงหาคม–2 กันยายน | ツイッギーを探せ! | ฆ่าทวิกกี้เดี๋ยวนี้! | เท็ตสึยะ วาตานาเบะ | 22.0%[35][c] |
23 | 133–138 | 4–9 กันยายน | 乙女たちに花束を | ช่อดอกไม้แด่พวกเธอ | ยูซูเกะ โฮริอูจิ เค็นซูเกะ มัตสึกิ |
21.8%[37] |
24 | 139–144 | 11–16 กันยายน | 真っ赤なハートを君に | มอบหัวใจดวงสีแดงแด่เธอ | ทาดาชิ ทานากะ ไมโกะ อิตางากิ |
21.7%[38][d] |
25 | 145–150 | 18–23 กันยายน | 大好き | รักที่สุด | ทาเกชิ ฟูกูโอกะ | 22.1%[40] |
26 | 151–156 | 25–30 กันยายน | グッバイ、ナミダクン | ลาก่อน, เจ้าน้ำตา | ฮิโรชิ คูโรซากิ | 23.0%[41] |
เรตติงเฉลี่ย (ภูมิภาคคันโต) | 20.4%[42] |
เพลงประกอบ
แก้ฮิยกโกะ ออริจินัลซาวด์แทร็ก | ||
---|---|---|
|
14. ご説明します |
27. 消えない傷 |
วางจำหน่าย 21 มิถุนายน ค.ศ. 2017 (วิกเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์) VICL-64804[44] | ||
ฮิยกโกะ ออริจินัลซาวด์แทร็ก 2 | ||
|
14. 弾む恋心 |
27. 青春のひとコマ |
วางจำหน่าย 30 สิงหาคม ค.ศ. 2017 (วิกเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์) VICL-64836[45] |
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ในภาษาญี่ปุ่นบ้างสะกดเป็น ひよこ
- ↑ คัดมาจากหนึ่งในเนื้อร้องของ "มิอาเงเตะโกรังโยรุโนะโฮชิ" โดย คีว ซากาโมโตะ
- ↑ ตอนที่ 128 ถูกระงับการออกอากาศในตอนเช้าจากการรายงานข่าวการทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ และย้ายไปออกอากาศช่วงเที่ยงแทน เรตติงเฉลี่ยของตอนที่ 128 คือ 11.6%[36]
- ↑ ตอนที่ 143 ถูกระงับการออกอากาศในตอนเช้าจากการรายงานข่าวการทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ และย้ายไปออกอากาศช่วงเที่ยงแทน เรตติงเฉลี่ยของตอนที่ 143 คือ 10.5%[39]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "有村架純、"田舎にもいそう"で朝ドラヒロイン起用「親近感を持てる」". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
- ↑ "朝ドラ「ひよっこ」続編が来年放送へ 有村架純も喜び「皆様の心もほっこりと」". Daily (ภาษาญี่ปุ่น). 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "有村架純「ひよっこ2」ポスターでウエディングドレス姿を披露! 3.25から4夜連続". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-02-04. สืบค้นเมื่อ 2019-02-04.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ โอโตจังงะคาเอเตะกูรุ:
- "ไดอิกไก". บทโดย โอกาดะ, โยชิกาซุ. กำกับโดย คูโรซากิ, ฮิโรชิ. ฮิยกโกะ. เอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวี. 2017-04-03. ตอนที่ 1 ฤดูกาลที่ 1.
- "ไดนิไก". บทโดย โอกาดะ, โยชิกาซุ. กำกับโดย คูโรซากิ, ฮิโรชิ. ฮิยกโกะ. เอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวี. 2017-04-04. ตอนที่ 2 ฤดูกาลที่ 1.
- "ไดโกะไก". บทโดย โอกาดะ, โยชิกาซุ. กำกับโดย คูโรซากิ, ฮิโรชิ. ฮิยกโกะ. เอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวี. 2017-04-06. ตอนที่ 5 ฤดูกาลที่ 1.
- ↑ นากุโนะวะอิยาดะ, วารัจจาโอ:
- "ไดฮาจิไก". บทโดย โอกาดะ, โยชิกาซุ. กำกับโดย คูโรซากิ, ฮิโรชิ. ฮิยกโกะ. เอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวี. 2017-04-11. ตอนที่ 8 ฤดูกาลที่ 1.
- "ไดจูไก". บทโดย โอกาดะ, โยชิกาซุ. กำกับโดย คูโรซากิ, ฮิโรชิ. ฮิยกโกะ. เอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวี. 2017-04-13. ตอนที่ 10 ฤดูกาลที่ 1.
- ↑ อาซุนิมูกัตเตะฮาชิเระ!: "ไดจูฮาจิไก". บทโดย โอกาดะ, โยชิกาซุ. กำกับโดย ฟูกูโอกะ, ทาเกชิ. ฮิยกโกะ. เอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวี. 2017-04-22. ตอนที่ 18 ฤดูกาลที่ 1.
- ↑ "有村架純、ヒロインとして朝ドラ凱旋!オーディションなし直接指名". Sanspo (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-06-30. สืบค้นเมื่อ 2016-06-30.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "有村架純 オーディションなし 親近感が決め手 実在の人物モチーフにせず". Sponichi Annex. スポーツニッポン. 2016-06-29. สืบค้นเมื่อ 2016-06-29.
- ↑ 9.0 9.1 "朝ドラ『ひよっこ』、タイトルに『ねこ』案もあった". NEWS PostSeven (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-06-18.
高度経済成長を支えた若者たちは当時“金の卵”と呼ばれていたため、みね子が殻を破って成長していく姿とかけたタイトル『ひよっこ』が最終的に残ったのだという。
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "有村架純ヒロイン朝ドラ、幼なじみ2人に"注目の若手"佐久間由衣&泉澤祐希 オーディションで決定". モデルプレス. 2016-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28.
- ↑ อิซูมิ, เร็น (2017-07-03). "誰も知らない「集団就職」の真実 働くことの意味とは?" (ภาษาญี่ปุ่น). Bunshun Online. สืบค้นเมื่อ 2022-05-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ โมริ, ฮารูฟูมิ (2018-01-25). "宮城)古希になった「元ひよっこ」 集団就職の思い出" (ภาษาญี่ปุ่น). Asahi Shimbun Digital. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-07.
- ↑ ทานากะ, อาโออิ (2017-07-28). "朝ドラに新風『ひよっこ』 名もなき人たちの群像劇". Nikkei MJ (ภาษาญี่ปุ่น). Nikkei, Inc. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
「開始当初は故郷で家族の絆を、その後の工場編では懸命に働くみね子を描いてきました。...と制作統括の菓子浩氏は話す。
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ひよっこ」急展開で最大のヤマ場!記憶喪失設定のワケ みね子"怒"有村架純が底知れぬ熱演". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-31. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
- ↑ "ひよっこ:初週視聴率19.4% 大台届かず". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-04-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-10. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
- ↑ "ひよっこ:第2週視聴率19.2% またも大台届かず". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-04-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-17. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ "ひよっこ:第3週視聴率19.3% 番組最高更新もまたも大台届かず". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-04-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
- ↑ "ひよっこ:第4週視聴率19.1%でまたも大台届かず". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-05-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.
- ↑ "ひよっこ:第5週視聴率18.2% 連休の影響? 2日に自己ワースト記録". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
- ↑ "ひよっこ:第6週視聴率は過去最高の19.6% 「東京編」2週目で大幅回復". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-15.
- ↑ "ひよっこ:第7週視聴率は過去最高の19.8% 初の大台まで"あと2歩"". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ 2017-05-22.
- ↑ "ひよっこ:第8週視聴率は19.3%で一歩後退 またも大台届かず". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-05-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-10. สืบค้นเมื่อ 2017-05-29.
- ↑ "〈ひよっこ〉第9週視聴率は19.1% 乙女寮の日常終わる…ず". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-06-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-12. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
- ↑ "ひよっこ:第10週視聴率は19.2% みね子、すずふり亭に再就職". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-06-12. สืบค้นเมื่อ 2017-06-12.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ "有村架純ヒロイン「ひよっこ」第11週平均視聴率は19・6%". Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-06-19. สืบค้นเมื่อ 2017-06-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ひよっこ:第12週視聴率は19.8% 週間最高タイも大台届かず". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-06-26. สืบค้นเมื่อ 2017-06-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ "〈ひよっこ〉第13週視聴率は過去最高の20.6% 全曜日20%超えで初の大台". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-03.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ "〈ひよっこ〉第14週視聴率は20.4% 2週連続で大台乗せ". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 2017-07-10.
- ↑ "〈ひよっこ〉第15週視聴率は19.9% 3週ぶりの大台割れ". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-18. สืบค้นเมื่อ 2017-07-18.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "〈ひよっこ〉第16週視聴率は20.5% 2週ぶり大台回復". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-24. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ひよっこ:第17週視聴率21.1%で過去最高記録を更新". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-31. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ひよっこ」急展開で第18週平均22・4% また自己最高更新". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-08-07. สืบค้นเมื่อ 2017-08-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ひよっこ」第20週平均視聴率は20・9% 5週連続大台超え". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-08-21. สืบค้นเมื่อ 2017-08-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ひよっこ」第21週平均視聴率は21・4%". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 2017-08-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ひよっこ」第22週平均視聴率22・0%". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-09-04. สืบค้นเมื่อ 2017-08-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ひよっこ」朝休止で昼急上昇11・6% 前4週平均から倍増". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-08-30. สืบค้นเมื่อ 2017-08-30.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ひよっこ:第23週視聴率21.8% 好調キープ". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 2017-09-11.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "有村架純主演「ひよっこ」第24週平均視聴率は21・7%". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-09-19. สืบค้นเมื่อ 2017-09-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ひよっこ」第143話 昼倍増10・5% ミサイル影響で朝休止". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-09-19. สืบค้นเมื่อ 2017-09-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ひよっこ:第25週視聴率22.1%で好調キープ 残すはあと1週…". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-09-25. สืบค้นเมื่อ 2017-09-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ひよっこ総合視聴率と人気役" (ภาษาญี่ปุ่น). TV Kansou. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ひよっこ:全156話の平均視聴率は20.4%と大台超え 最終週は自己最高更新で有終の美". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-10-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "NHKドラマガイド ひよっこ 劇伴楽曲試聴". NHK Publishing. 2017-04-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 2017-10-01.
- ↑ "連続テレビ小説「ひよっこ」オリジナル・サウンドトラック" (ภาษาญี่ปุ่น). Victor Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2022-05-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "連続テレビ小説「ひよっこ」オリジナル・サウンドトラック2" (ภาษาญี่ปุ่น). Victor Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2022-05-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)