ฮาการุ ฮาชิโมโตะ

ฮาการุ ฮาชิโมโตะ (ญี่ปุ่น: 橋本 策โรมาจิHashimoto Hakaru, 5 พฤษภาคม 1881 – 9 มกราคม 1934)[1][2] เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวญี่ปุ่นในยุคเมจิและไทโช เขาเป็นที่รู้จักดีที่สุดจากการตีพิมพ์บทบรรยายแรกของโรคที่ปัจจุบันรู้จักในชื่อต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ

ฮาการุ ฮาชิโมโตะ
橋本 策
เกิด5 พฤษภาคม ค.ศ. 1881(1881-05-05)
อิงะ จังหวัดมิเอะ จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต9 มกราคม ค.ศ. 1934(1934-01-09) (52 ปี)
อิงะ มิเอะ จักรวรรดิญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
การศึกษามหาวิทยาลัยคีวชู
อาชีพแพทย์
มีชื่อเสียงจากโรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
คู่สมรสโยชิโกะ มิยาเกะ

ประวัติ

แก้

ฮาชิโมโตะเกิดเมื่อ 5 พฤษภาคม 1881 ในหมู่บ้านอิงะ อายามะ จังหวัดมิเอะ เป็นบุตรคนที่สามของเค็นโนซูเกะ ฮาชิโมโตะ ซึ่งก็เป็นแพทย์เช่นกัน ตระกูลของฮาชิโมโตะเป็นแพทย์ประจำขุนนางอำเภอเป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้ว ปู่/ตาของฮาชิโมโตะ เป็นแพทย์ที่ดังที่สุดของแคว้นมิเอะในเวลานั้น และได้รับการศึกษาแพทย์แบบแผนดัตช์[3]

ฮาขิโมโตะเข้าเรียนประถมศึกษาในปี 1886 และในปี 1903 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ฟูกูโอกะ ซึ่งเป็นวิทยาลัยเปิดใหม่ของมหาวิทยาลัยคีวชูในเวลานั้น เขาเป็นหนึ่งในนักเรียนแพทย์รุ่นแรก และจบการศึกษาในปี 1907[3] จากนั้นเขาได้เข้าปฏิบัติงานที่กรมศัลยกรรมที่หนึ่ง (First Surgical Bureau) และเป็นนักเรียนแพทย์ภายใต้การดูแลของ ฮายาริ มิยาเกะ [ja] ผู้เป็นศัลยแพทย์ระบบประสาทคนแรกของญี่ปุ่น[4] ขณะทำงานวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์แพทยศาสตรบัณฑิต เขาได้ตรวจสอบตัวอย่างทางฮิสโตโลจีจากต่อมธัยรอยด์ที่ที่ตัดออกมาโดยวิธีทางศัลยกรรม และบรรยายการค้นพบนี้ว่า 'struma lymphomatosa' เขาได้ตีพิมพ์การค้นพบนี้ในวารสารภาษาเยอรมัน Archiv für Klinische Chirurgie (ในเวลานั้น ภาษาเยอรมันถือเป็น "lingua franca" ของโลกวิชาการ)[5] ฮาชิโมโตะยังได้ตีพิมพ์งานค้นคว้าอีกสองชิ้นเกี่ยวกับโรคไฟลามทุ่ง และการบาดเจ็บจากการถูกแทงเข้าที่ทรวงอก[3]

 
คุณหมอฮาชิโมโตะ ภาพถ่ายเมื่อปี 1912

ในปี 1912 ฮาชิโมโตะได้เดินทางไปมหาวิทยาลัยเกิททิงเงินในประเทศเยอรมนีเพื่อศึกษาต่อเฉพาะทางด้านพยาธิวิทยา ภายใต้การดูแลของเอดวร์ท เคาฟ์มัน เขามุ่งเน้นการศึกษาไปที่การติดเชื้อวัณโรคของทางเดินปัสสาวะเป็นพิเศษ ในปี 1915 ฮาชิโมโตะเดินทางกลับญี่ปุ่นผ่านทางอังกฤษ เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น และในปี 1916 เขาได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่อิงะ และประกอบอาชีพเป็นแพทย์ประจำท้องถิ่น เปิดคลินิกศัลยกรรมของตนเอง ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะเดินทางมารับการผ่าตัดที่คลินิก แต่ในกรณีที่ป่วยหนักมาก ฮาชิโมโตะจะเดินทางไปทำหัตถการให้ที่บ้านผู้ป่วยพร้อมกับพยาบาลวิชาชีพหนึ่งคน ฮาชิโมโตะยังเป็นที่รู้ดีกันว่ามักไม่เก็บค่ารักษา รวมถึงยังศึกษาหาความรู้ทางแพทยศาสตร์เพิ่มเติมเสมอจนดึกดื่นแม้ว่าจะจบการศึกษามานานแล้วก็ตาม[3]

ในเดือนธันวาคม 1933 ฮาชิโมโตะป่วยด้วยไข้รากสาดน้อย และเสียชีวิตที่บ้านของตนในวันที่ 9 มกราคม 1934 สิริอายุ 52[3]

ผลงานทางวิทยาศาสตร์

แก้

ในปี 1912 เขาได้ตีพิมพ์ผลงานชื่อ Kōjōsen rinpa-setsu shushō-teki henka ni kansuru kenkyū hōkoku หรือ Zur Kenntnis der lymphomatösen Veränderung der Schilddrüse (Struma lymphomatosa) ซึ่งแปลว่า รายงานว่าด้วยคอพอกแบบลิมโฟมาตัส ในวารสาร "Archiv für klinische Chirurgie" เบอร์ลิน, 1912:97:219-248 หลายปีถัดมา เอกสารนี้ได้รับการประเมินโดยนักวิจัยชาวอังกฤษและอเมริกัน ตามมาด้วยการได้รับการยอมรับว่าเป็นโรคค้นพบใหม่

ในหนังสือแพทยศาสตร์ของอเมริกา โรคดังกล่าวถูกนิยามว่า ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ ตามชื่อของคุณหมอฮาชิโมโตะ[6]

อ้างอิง

แก้
  1. 橋本策生誕地碑 (ภาษาญี่ปุ่น). Iga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2007. สืบค้นเมื่อ May 29, 2011.
  2. "橋本策 はしもと-はかる". デジタル版 日本人名大辞典+Plus/kotobank.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha. 2009. สืบค้นเมื่อ May 29, 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Volpe, Robert (1989). "The Life of Doctor Hakaru Hashimoto". Autoimmunity. 3 (4): 243–5. doi:10.3109/08916938908997094.
  4. Amino N (September 2003). "[Centennial Memorial Lecture. Hakaru Hashimoto]". Nippon Naika Gakkai Zasshi (ภาษาญี่ปุ่น). 92 (9): 1741–50. PMID 14560612.
  5. Sawin CT (August 2002). "The heritage of Dr. Hakaru Hashimoto (1881-1934)". Endocr J. 49 (4): 399–403. doi:10.1507/endocrj.49.399. PMID 12402970.
  6. Amino N, Tada H, Hidaka Y, Hashimoto K (August 2002). "Hashimoto's disease and Dr. Hakaru Hashimoto". Endocr. J. 49 (4): 393–7. doi:10.1507/endocrj.49.393. PMID 12402969.