อ่าวมารีนา (สิงคโปร์)

อ่าวมารีนา (อังกฤษ: Marina Bay) คือ อ่าวที่อยู่ใกล้พื้นที่ศูนย์กลางทางฝั่งใต้ของประเทศสิงคโปร์ โดยขนานกับฝั่งตะวันออกของดาวน์ทาวน์คอร์ บริเวณโดยรอบของอ่าวนี้จึงถูกเรียกว่า อ่าวมารีน่า ซึ่งมีขนาด 360 เฮคเตอร์ (900 ไร่) ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของเซ็นทรัลแอเรีย[1]

ภูมิทัศน์ ศูนย์มารีน่า บริเวณอ่าวมารีนา
แผนที่ปีพ.ศ. 2365 แสดงปากแม่น้ำสิงคโปร์เดิม ในตอนล่างของภาพคือส่วนที่มีการถมทะเลและสร้าง อ่าวมารีนา

ประวัติ แก้

ในปี 19ุ69 เริ่มการถมทะเลในบริเวณฝั่งใต้ของอ่าวมารีน่า ซึ่งในปัจจุบัน คือ มารีน่าเซนเตอร์ และ พื้นที่มารีน่าเซ้าท์ ในการถมทะเลดังกล่าวได้แปรสภาพพื้นที่เดิม คือ แอ่งจอดเรือ เทล๊อค เอเยอร์ได้ถูกถม ถนนชั้นในได้ถูกรื้อออก และปากแม่น้ำสิงคโปร์เดิมที่เคยไหลสู่ทะเลโดยตรงให้ไหลผ่านอ่าวมารีน่าก่อนลงสู่ทะเล ในปี 2008 สะพานและเขื่อนกั้นน้ำทะเล มารีน่า แบเรจ ถูกสร้างขึ้นเพื่อกั้นปากแม่น้ำสิงคโปร์(ใหม่) ทำให้อ่าวมารีน่าเป็นเสมือนอ่างเก็บน้ำกลางเมือง ให้มีแหล่งน้ำจืดเพื่อระบบประปา เพื่อควบคุมน้ำท่วม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่

กิจกรรม ณ อ่าวมารีน่า แก้

 
ทัศนียภาพอ่าวมารีน่า จากสิงคโปร์ ฟลายเออร์ ช่วงพระอาทิตย์ตก

ฟอร์มูล่าวันสิงคโปร์กรังด์ปรีซ์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2551 ในแบบ street circuit (สนามที่ใช้ถนนสาธารณะในการแข่งขัน) บนถนนที่อยู่รอบอ่าวมารีน่าด้านทิศเหนือ[2] และตั้งแต่ปี 2550 ที่ The Float @ Marina Bay แล้วเสร็จได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ขบวนพาเหรดวันชาติสิงคโปร์ การนับถอยหลังวันส่งท้ายปีเก่า และการเฉลิมฉลองดอกไม้ไฟของสิงคโปร์ และ เป็นอัฒจรรย์ผู้ชมการแข่งขันสิงคโปร์กรังด์ปรีซ์ (Singapore Grand Prix) นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่เปิดและปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ครั้งแรก[3]

บริเวณอ่าวนี้ยังใช้จัดงานเทศกาลศิลปะแสงสี i Light Marina Bay เป็นประจำทุกปี

พื้นที่โล่งสำหรับจัดงานที่อยู่ถัดจาก มารีนาเบย์แซนส์ หรือที่เรียกว่า The Lawn ใช้จัดงาน ArtBox Bangkok จากประเทศไทย และเป็นการจัดงานนี้ในต่างประเทศครั้งแรก งานนี้จัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี (ตั้งแต่ปี 2560)

โครงสร้างพื้นฐาน แก้

อุโมงค์สาธารณูปโภคร่วม แก้

สิงคโปร์เป็นประเทศที่สองในทวีปเอเชียต่อจากญี่ปุ่น ที่ได้สร้างระบบ อุโมงค์สาธารณูปโภคร่วม ที่ครอบคลุมสาธารณูปโภคหลายด้านรวมถึง ท่อน้ำประปา ระบบสายไฟฟ้า ระบบการสื่อสารทางสายและเคเบิลใยแก้ว และ ยังสามารถรองรับระบบขับดันเศษปฏิกูลด้วยแรงดันอากาศภายในท่อได้ในอนาคต

นอกจากนี้ยังมีการให้สัมปทานโรงงานทำความเย็นของพื้นที่ในเดือนพฤษภาคม 2553 [16] ซึ่งจะจ่ายน้ำเย็นสำหรับเครื่องปรับอากาศของอาคารต่าง ๆ ในพื้นที่ผ่านท่อที่อยู่ภายในอุโมงค์นี้ สามารถรองรับพื้นที่รวม 1.25 ล้านตารางเมตรและซึ่งช่วยลดการใช้พื้นที่สำหรับการสร้างโรงทำความเย็นและหอทำความเย็นของแต่ละอาคาร โรงทำความเย็นนี้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559[4]

การบริหารจัดการน้ำ แก้

ในปี 2547 คณะกรรมการสาธารณูปโภคได้ประกาศแผนการสร้างอ่างเก็บน้ำของเมืองแห่งใหม่โดยการสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลที่บริเวณปากอ่าวมารีน่า เขื่อนกั้นน้ำนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2561 เป็นที่รู้จักในชื่อ มารีน่าแบเรจ ใช้สำหรับกักน้ำจืดในอ่าวมารีน่า และแอ่งแคลแลง และจำกัดการเข้าออกของการขนส่งทางเรือเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐาน อ่างเก็บน้ำแห่งใหม่นี้เป็นแหล่งน้ำดื่มของชาวสิงคโปร์ การรักษาระดับน้ำให้คงที่ยังช่วยในการจัดกิจกรรมทางน้ำและงานแสดงบนน้ำได้ นอกจากนี้เขื่อนนี้ยังช่วยป้องกันน้ำท่วมบริเวณชุมชนย่านคนจีน (Chinatown)ได้อีกด้วย

ระบบคมนาคม แก้

ในปัจจุบัน มีสถานีรถไฟ 7 สถานี: ซิตี้ ฮอล์, ตึกราฟเฟิล, มารีน่า เบย์, เบย์ฟร้อนท์, ดาวน์ทาวน์, เอสพลานาด และ โพรมาเนด ที่ให้บริการไปยังมารีน่า เบย์ ภายในปี 2020 "360 เฮคเตอร์ มารีน่า เบย์" จะสามารถขยายระบบคมนาคมให้เชื่อมต่อกัน ซึ่งเป็นเขตสายทางรถไฟที่เชื่อมต่อกันมากที่สุดในสิงคโปร์ สถานีรถไฟสายใหม่ 3 สายแรกจะเปิดให้บริการช่วงระหว่างปี 2012 และ 2014 ภายในปี 2018 เขตมารีน่า เบย์ จะเป็นเขตที่มีระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงรถไฟฟ้าเชื่อมต่อถึง 6 สถานี และทุกสถานีจะใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีที่จะเดินทางถึงกัน ระบบทางเดินเท้าแบบเบ็ดเสร็จ รวมไปถึงทางเดินที่ร่มรื่น และครอบคลุมทางเดินต่างๆ จะมีทางใต้ดินและทางเดินยกชั้น 2 เชื่อมต่อกันเพื่อป้องกันหรือหลบได้ทุกสภาพอากาศ และการเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อระหว่างการพัฒนาสถานที่และสถานีของระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงรถไฟฟ้า ภายในอ่าวมารีน่าที่ใหญ่โต มีบริการแท็กซี่ทางน้ำซึ่งเป็นทางเลือกที่อีกทางหนึ่งของการคมนาคม

สถานที่น่าสนใจอื่นๆ แก้

สวนธรรมชาติในอ่าว แก้

สวนธรรมชาติในอ่าว ขนาด 101 เฮคเตอร์ สร้างขึ้นจากสวนอ่าวใต้, สวนอ่าวตะวันออก และสวนอ่าวกลาง ที่ข้ามไปทางปากแม่น้ำสิงคโปร์. ทั้ง 3 สวนนี้เชื่อมต่อกันผ่านสะพานทางเท้าที่เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนขนาดใหญ่รอบริมฝั่งแม่น้ำทั้งหมด และเชื่อมต่อไปยังรอบแหล่งพัฒนาต่างๆ, บริเวณพื้นที่สาธารณะ, จุดเชื่อมต่อการเดินทาง และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ.

ศูนย์แสดงภาพถ่ายเมือง มารีน่า เบย์ แก้

สร้างเสร็จในเดือนกรกฎาคม ปี 2010 ศูนย์แสดงภาพถ่ายเมือง มารีน่า เบย์ เป็นอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีทางเดินริมฝั่งแม่น้ำเชื่อมต่อไปยังถนนมารีน่าสายหลัก ศูนย์แสดงภาพนี้แสดงโมเดลขนาดใหญ่ของมารีน่า เบย์

ทางเดินเลียบริมฝั่งแม่น้ำ แก้

ระยะทางเดินเลียบริมฝั่งแม่น้ำ ความยาวขนาด 3.5 กิโลเมตร เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่าง เช่น มารีน่าเซนเตอร์, คอเยอร์ คีส์ และ พื้นที่บริเวณหน้าอ่าว โดยทางเดินเลียบแม่น้ำนี้สร้างเสร็จในปี 2010

จุดพัฒนาที่สำคัญ แก้

จุดพัฒนาอื่นในอนาคต แก้

See also Future developments in Singapore

แกเลอรี่ภาพ แก้

See also แก้

References แก้

External links แก้

แม่แบบ:Places in Singapore