อุตพิด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Alismatales
วงศ์: Araceae
สกุล: Typhonium
สปีชีส์: T.  trilobatum
ชื่อทวินาม
Typhonium trilobatum

อุตพิด หรือ มะโหรา หรือ ว่านคางคก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium trilobatum) เป็นพืชในวงศ์ Araceae เป็นไม้ล้มลุก มีหัว เปลือกย่นเหมือนหนังคางคก ก้านใบยาว ใบขอบเว้าลึกเป็นสามพู ดอกเป็นช่อเชิงลด แกนกลางช่ออวบใหญ่ กาบหุ้มช่อดอกปลายสีแดงเข้ม พบตั้งแต่อินเดียจนถึงอินโดจีนและมาเลเซีย

ขึ้นเป็นวัชพืชในมาเลเซีย ในอินโดจีนนำหัวมาหั่นตากแห้งรับประทาน ใบใช้เลี้ยงสัตว์ได้ ในอินโดจีนใช้หัวเป็นยาแก้ไอ หอบหืดและวิงเวียน ในไทยใช้ใบอังไฟประคบแผลน้ำร้อนลวก ใช้เป็นไม้ประดับ ใช้รักษาโรคเรื้อนและโรคผิวหนัง ในทางไสยศาสตร์เชื่อว่าทำให้คงกระพัน หัวแห้งเรียกว่าโหรามหุรา ใช้แก้เถาดานในท้อง หุงเป็นน้ำมัน ใช้ทาแผลเป็นฝ้าเป็นหนอง [1]

อ้างอิง แก้

  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 257 – 258
  • เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ว่าน. กทม. เศรษฐศิลป์. 2553 หน้า 81
  1. ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 194 - 195