อีมาน เคาะลีฟ (อาหรับ: إيمان خليف, อักษรโรมัน: ʾĪmān Khalīf, ออกเสียง: [ʔiːˈmaːn xaˈliːf]; เกิดวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1999) เป็นนักมวยอาชีพชาวแอลจีเรีย เธอชนะเหรียญทองในการแข่งขันมวยเวลเตอร์เวทหญิงที่โอลิมปิกฤดูร้อน 2024.

อีมาน เคาะลีฟ
เคาะลีฟในอาหรับเกมส์ 2023
เกิด (1999-05-02) 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี)
อัยน์ซีดีอะลี จังหวัดอัลอัฆวาฏ ประเทศแอลจีเรีย
สถิติ
รุ่น
ส่วนสูง1.78 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)
รูปแบบการชกดั้งเดิม
สถิติขึ้นชก[1]
ชกทั้งหมด56
ชนะ47 (ภายหลังถูกตัดสิทธิ์ 4 ครั้ง)
ชนะน็อก7
แพ้9
เสมอ0
ไม่มีการตัดสิน0

หลังชัยชนะของเคาะลีฟต่ออันเจลา การีนีจากอิตาลีในการแข่งขันโอลิมปิก 2024 ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับเพศของเธอถูกเปิดเผยในสื่อสังคม ข้อกล่าวหาเท็จเกี่ยวกับเพศของเธอได้รับแรงกระตุ้นจากการที่เคาะลีฟถูกตัดสิทธิ์ในมวยสากลหญิงชิงแชมป์โลก 2023 ซึ่งจัดโดยสหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ (ไอบีเอ) ที่นำโดยรัสเซีย หลังเธอไม่ผ่านการทดสอบคุณสมบัติทางเพศที่ไม่ระบุไว้[2][3][4]

คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) และหน่วยมวยปารีสระบุว่าเคาะลีฟมีสิทธิ์เข้าแข่งขันโอลิมปิก และวิจารณ์การตัดสิทธิ์ของไอบีเอครั้งก่อนว่า "กะทันหันและตามอำเภอใจ" และ "ดำเนินการโดยไม่ผ่านกระบวนการตามกฎหมายใด ๆ"[5] ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ผ่านการตีพิมพ์ว่าเคาะลีฟมีโครโมโซมเอ็กซ์วายหรือระดับเทสโทสเตอโรนสูง[6][7][8] เคาะลีฟเกิดเป็นเพศหญิงและเป็นสตรีตามเพศสถานะสอดคล้อง (cisgender)[9][10]

ชีวิตช่วงต้น

แก้

เคาะลีฟเกิดที่อัยน์ซีดีอะลี จังหวัดอัลอัฆวาฏ[11][12] เมื่อเธออายุ 2 เดือน ครอบครัวของเธอย้ายไปที่ Biban Mesbah หมู่บ้านในจังหวัดติยาร็อต ซึ่งเธอเติบโตที่นั่น[13][14]

พ่อของเธอให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า "อีมานเป็นเด็กหญิงตัวน้อยที่รักกีฬามาตั้งแต่เธออายุ 6 ขวบ"[15] ตอนแรกเธอเล่นฟุตบอลก่อนเปลี่ยนไปเล่นมวย ในช่วงแรก เธอต้องเดินทางไปฝึกซ้อมที่ติยาร็อต และขายขนมปังกับเศษเหล็กเพื่อนำเงินไปจ่ายค่ารถเมล์[13][16][17] เธอกล่าวว่าตอนแรกพ่อเธอไม่อนุญาตให้เล่นกีฬาเนื่องจากว่า "เขาไม่เห็นด้วยกับการชกมวยสำหรับเด็กผู้หญิง"[18]

อาชีพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สถิติขึ้นชกของ อีมาน เคาะลีฟ". BoxRec.
  2. Lough, Richard (3 August 2024). Williams, Allison (บ.ก.). "Who is Imane Khelif, the boxer in Paris Olympics gender debate?". Reuters. สืบค้นเมื่อ 6 August 2024.
  3. "Imane Khelif and Lin Yu-ting: IOC president Thomas Bach defends boxers competing at Olympics". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-08-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2024. สืบค้นเมื่อ 3 August 2024.
  4. Beacham, Greg (2024-08-09). "Algerian boxer Imane Khelif wins gold at Olympics after enduring abuse fueled by misinformation". PBS News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-08-10. Those cheering fans have embraced Khelif throughout her run in Paris even as she faced an extraordinary amount of scrutiny from world leaders, major celebrities and others who have questioned her eligibility or falsely claimed she was a man.
  5. "Joint Paris 2024 Boxing Unit/IOC Statement". International Olympic Committee. 2 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2024. สืบค้นเมื่อ 1 August 2024.
  6. Carpenter, Les. "Olympic boxer who faced gender-eligibility claim wins, igniting outcry". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2024. สืบค้นเมื่อ 2 August 2024.
  7. Loe, Megan (2024-08-07). "Misinformation spurs controversy around Algerian boxer's gender identity". verifythis.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-08-12. There is no evidence to support claims that Khelif is a man or a transgender woman.
  8. Wilson, Brock (3 August 2024). "Misinformation persists online after super-brief Olympic boxing bout". CBC. Nor is there any evidence to support the online speculation that Khelif has experienced differences in sex development (DSD), a group of rare conditions that can cause women to have XY chromosomes and blood testosterone levels in the male range.
  9. Li, David K.; Burke, Minyvonne; Abdelkader, Rima (3 August 2024). "Imane Khelif wins fight and declares, 'I want to tell the entire world that I am a female'". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2024. สืบค้นเมื่อ 6 August 2024.
  10. Peter, Josh. "Algerian boxer Imane Khelif speaks out at Olympics: 'Refrain from bullying'". USA TODAY.
  11. "ملاكمة/ 8 مارس: ايمان خليف مثال المرأة الجزائرية المثابرة". Algérie Presse Service (ภาษาอาหรับ). 8 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2024. สืบค้นเมื่อ 4 August 2024.
  12. نصر, نهى (3 August 2024). "7 معلومات عن الملاكمة الجزائرية إيمان خليف.. أثارت ضجة على مواقع التواصل". El Watan News (ภาษาอาหรับ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2024. สืบค้นเมื่อ 4 August 2024.
  13. 13.0 13.1 "'I Want To Inspire': Algeria's Woman Boxer Fighting Prejudices". Barron's. 3 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2024. สืบค้นเมื่อ 4 August 2024.
  14. منصور, أصيل (2 August 2024). ""لا تهمني تعليقات السوشيل ميديا".. تعرف إلى ملاكمة الجزائر التي أثارت عاصفة". Al Arabiya (ภาษาอาหรับ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2024. สืบค้นเมื่อ 4 August 2024.
  15. Boumzar, Abdelaziz; Herzallah, Thawab (3 August 2024). "Father of Algerian boxer Khelif says he is honoured by his daughter". Reuters. สืบค้นเมื่อ 4 August 2024.
  16. Ayisi, Ruth (8 March 2024). "A top female boxer, Imane Khelif, dreams of gold to inspire young people". UNICEF. สืบค้นเมื่อ 1 August 2024.
  17. Bouchouchi, Lotfi; Metz, Sam (7 August 2024). "Algerians rally behind gold medal hopeful Imane Khelif amid gender misconceptions". AP News. สืบค้นเมื่อ 10 August 2024.
  18. "Paris 2024: Algeria condemn 'baseless attacks' on boxer". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-07-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-08-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้