คณะกรรมการโอลิมปิกสากล
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (อังกฤษ: International Olympic Committee, IOC; ฝรั่งเศส: Comité international olympique, CIO) เป็นองค์กรกีฬานอกภาครัฐที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในอยู่ในโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1894 โดย ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง และ ดีมีตรีโอส วีเกลัส โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวสมัยใหม่[2]
Comité international olympique | |
ชื่อย่อ | IOC |
---|---|
คําขวัญ | ละติน: Citius, Altius, Fortius – Communiter (Faster, Higher, Stronger – Together) |
ก่อตั้ง | 23 มิถุนายน 1894 |
ผู้ก่อตั้ง | Pierre de Coubertin |
ประเภท | สภากีฬา (สมาคมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของสมาพันธรัฐสวิส) |
สํานักงานใหญ่ | โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
สมาชิก | 104 สมาชิกปัจจุบัน, 45 สมาชิกกิตติมศักดิ์, 1 สมาชิกกิตติมศักดิ์ (สหรัฐ), 206 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติเดี่ยว |
ภาษาทางการ | ฝรั่งเศส (ภาษาอ้างอิง), อังกฤษ, และภาษาของประเทศเจ้าภาพเมื่อจำเป็น |
ประธาน | โทมัส บัค[1] |
รองประธาน | Ng Ser Miang[1] John Coates Nicole Hoevertsz Juan Antonio Samaranch |
ผู้อำนวยการ | Christophe De Kepper |
เว็บไซต์ | olympics |
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ประกอบด้วยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (National Olympic Committee หรือ NOC) ของประเทศต่าง ๆ ประกอบกันเป็นประเทศสมาชิก โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากลมีหน้าที่ควบคุมคณะกรรมการโอลิมปิกของประเทศสมาชิกทั่วโลก ให้ดำเนินงานจัดการแข่งขันให้เป็นไปตามหลักการและอุดมการณ์ของกีฬาโอลิมปิก ในปี ค.ศ. 2020 มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจำนวน 206 ประเทศ ประธานคณะกรรมการคนปัจจุบันคือ โทมัส บัค จากประเทศเยอรมนี ซึ่งแทนที่ ฌัก โรคเคอ จากประเทศเบลเยียม เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2013[3]
คณะกรรมการบริหาร
แก้ตำแหน่ง | ชื่อ | ประเทศ |
---|---|---|
ประธาน | โทมัส บัค | เยอรมนี |
รองประธาน | หยู ไจ้ชิง | จีน |
Ng Ser Miang | สิงคโปร์ | |
John Coates | ออสเตรเลีย | |
Nicole Hoevertsz | อารูบา | |
กรรมการบริหาร | Nenad Lalovic | เซอร์เบีย |
Ivo Ferriani | อิตาลี | |
เจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฮุซัยน์ | จอร์แดน | |
นะวาล อัลมุตะวักกิล | โมร็อกโก | |
Mikaela Cojuangco Jaworski | ฟิลิปปินส์ | |
Gerardo Werthein | อาร์เจนตินา | |
โรบิน อี. มิตเชลล์ | ฟีจี | |
Denis Oswald | สวิตเซอร์แลนด์ | |
Kristin Kloster Aasen | นอร์เวย์ | |
เอ็มมา เตร์โฮ | ฟินแลนด์ | |
ผู้อำนวยการทั่วไป | Christophe De Kepper | เบลเยียม |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "IOC". International Olympic Committee. 25 April 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Roger Bartlett, Chris Gratton, Christer G. Rolf Encyclopedia of International Sports Studies. Routledge, 2012, p. 678
- ↑ Gibson, Owen (2013-09-10). "Thomas Bach elected to succeed Jacques Rogge as IOC president". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-02-12.
อ่านเพิ่ม
แก้- Chappelet, Jean-Loup; Brenda Kübler-Mabbott (2008). International Olympic Committee and the Olympic system: the governance of world sport. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-43167-5.
- Lenskyj, Helen Jefferson (2000). Inside the Olympic Industry: Power, Politics and Activism. New York: SUNY.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล