อ้ายซินเจว๋หลัว อิ้นเถา (จีน: 允祹; 18 มกราคม ค.ศ. 1686 - 1 กันยายน ค.ศ. 1763) เป็นองค์ชายแห่งราชวงศ์ชิงและเป็นโอรสองค์ที่ 23 ของจักรพรรดิคังซี แต่เป็นพระองค์ที่ 12 ที่เติบโตจนเป็นผู้ใหญ่ อิ้นเถาทรงเป็นอนุชาต่างมารดาของจักรพรรดิยงเจิ้ง

อิ้นเถา
ลวี่ชินอ๋อง
พระบรมฉายาลักษณ์องค์ชายอิ้นเถา
ลวี่ชินอ๋อง
ครองราชย์(ในตำแหน่งลวี่ชินอ่อง ค.ศ. 1722-ค.ศ. 1763)
ถัดไปหย่งเฉิง
ประสูติ18 มกราคม ค.ศ. 1686
สวรรคต1 กันยายน ค.ศ. 1763
พระราชบุตรดูข้างล่าง
พระนามเต็ม
อ้ายซินเจวฺ์หลัว อิ้นเถา
พระราชบิดาจักรพรรดิคังซี
พระราชมารดาพระอัครชายาติ้ง

ประวัติส่วนพระองค์ แก้

องค์ชายอิ้นเถาประสูติเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1686 เป็นพระราชโอรสของ จักรพรรดิคังซี กับพระอัครชายาติ้ง[1] ในวัยเยาว์พระองค์ได้รับการสอนโดยสุมาลากู[2]ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง จนเมื่อสุมาลากูล้มป่วย อิ้นเถาได้ส่งคนไปดูแล[3] และพระองค์เองทรงเสด็จไปเยี่ยมสุมาลากูอยู่บ่อยครั้ง ในปี ค.ศ.1709 อิ้นเถาได้รับพระราชทานยศเป็นเป้ยจื่อ หลังจากจักรพรรดิคังซีสวรรคต อิ้นเถาได้ควบคุมกองธงขลิบเหลือง[4]แต่เนื่องจากพระองค์ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามชิงบัลลังก์ของพี่น้องของพระองค์ ซึ่งทำให้พระองค์รับตำแหน่ง ลวี่จวิ้นอ๋อง ในปี ค.ศ.1722 [5] แต่ปีถัดมา ค.ศ.1723 พระองค์กลับถูกลดพระยศและกลับไปเป็นเป้ยจื่อเช่นเดิม จนถึงปี ค.ศ.1730 ถึงได้ยศ ลวี่จวิ้นอ๋อง คืนมาเช่นเดิม[6] และในปี ค.ศ.1735 จักรพรรดิยงเจิ้งสวรรคต และต่อมาจักรพรรดิเฉียนหลงได้ขึ้นครองราช พระองคฺ์ได้เลื่อนให้อิ้นเถาเป็น ลวี่ชินอ๋อง และมอบหมายให้เสด็จอาอิ้นเถาดูแลการรวบรวมราชสกุลของพระองค์[7]

ในปี ค.ศ.1750 โอรสองค์ที่ 5 ของพระองค์สิ้นพระชนม์ พระองค์รู้สึกโทมนัสเป็นอย่างมาก และปี ค.ศ.1757 พระองค์ได้พาพระมารดาไปรักษาตัวที่ตำหนักของพระองค์เอง สุดท้ายมารดาของพระองค์ก็สวรรคตที่นั่น ซึ่งกลายเป็นมเหสีที่ยืนยาวที่สุดในราชวงศ์ชิง[8] โดยมีพระชนมายุถึง 96 พรรษา และในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1763 อิ้นเถาได้สิ้นพระชนม์ลง สิริพระชนม์พรรษา 77 พรรษา

พระบรมวงศานุวงศ์ แก้

  • พระราชบิดา:จักรพรรดิคังซี
  • พระราชมารดา:พระอัครชายาติ้ง
  • พระมเหสี
    • มเหสีหลู่อี๋ แห่งตระกูลฟูคา
    • มเหสีรองแห่งตระกูลฟงกิยา
    • มเหสีรองหมิงเหลียงแห่งตระกูลฟู่จา
    • มเหสีรองของตระกูลกูวาลกิยะ
    • นายหญิงแห่งตระกูลลิกิยา
    • มเหสีตระกูลเบอร์จิกิต
    • นายหญิงตระกูลไหม
    • นายหญิงตระกูลวังกิยะ
    • นายหญิงตระกูลเฉิน
    • นายหญิงตระกูลเหยา
    • นายหญิงตระกูลหลี่
  • พระโอรส
    • องค์ชายไม่ทราบพระนาม 24 มีนาคม ค.ศ.1703 – 30 มีนาคม ค.ศ.1703
    • องค์ชายไม่ทราบพระนาม 4 สิงหาคม ค.ศ.1706 – 15 พฤษภาคม ค.ศ.1707
    • องค์ชายหงซื่อ 2 สิงหาคม ค.ศ.1707 – 12 ตุลาคม ค.ศ.1710
    • องค์ชายไม่ทราบพระนาม 21 มกราคม ค.ศ.1729 – 30 เมษายน ค.ศ.1731
    • องค์ชายหงคุน 27 ตุลาคม ค.ศ.1739 – 26 เมษายน ค.ศ.1750
    • องค์ชายไม่ทราบพระนาม 2 มิถุนายน ค.ศ.1742 – ค.ศ.1742
  • พระธิดา
    • องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 30 พฤศจิกายน ค.ศ.1703 – 19 มีนาคม ค.ศ.1767
    • องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 8 กรกฎาคม ค.ศ.1723 – กรกฎาคม ค.ศ.1723
    • องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1728
    • องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 21 สิงหาคม ค.ศ.1736 – 18 พฤษภาคม 1825ค.ศ[9]
    • องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 6 กรกฎาคม ค.ศ.1741 – 17 มกราคม ค.ศ.1744[10]

อ้างอิง แก้

  1. 《清实录·清圣祖实录·卷之二百八十二》/"Veritable chronics of Qing", vol. 282.
  2. "Memoirs on bamboo slip books"vol.1. 1877.
  3. Aisin Gioro, Zhaolian (1805). 《啸亭杂录》/ "Miscellaneous records of the Roaring Pavillion".
  4. 五, 河 (2018). Great biography of the Yongzheng Emperor. Beijing Book Co. Inc.
  5. Wen, Guan (2011). 醉裡挑燈看歷史/"View on the history from the drunken state". 新潮社文化出版. p. 16.
  6. Xu, Xin (2014). History of the tomb of Hong Taiji. Liaoning Public Press. p. 203.
  7. Ting, Yanshi (2009). One night to succeed. Yuanliu press.
  8. 《欽定八旗通志》.
  9. สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยเต้ากวง
  10. "详细资料介绍_爱新觉罗宗谱网". www.axjlzp.com. สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.