อิเนจิโร อาซานูมะ
อิเนจิโร อาซานูมะ (ญี่ปุ่น: 浅沼 稲次郎; โรมาจิ: Asanuma Inejirō 27 ธันวาคม ค.ศ. 1898 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1960) เป็นนักการเมืองและหัวหน้าพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่นในเขาเป็นหัวหอกสำคัญที่สนับสนุนแนวคิดสังคมนิยมญี่ปุ่นช่วงหลังสงคราม และเป็นที่รู้จักจากจุดยืนสนับสนุนสาธารรรัฐประชาชนจีน (PRC) ที่พึ่งจัดตั้งขึ้นไม่นาน รวมถึงจากการวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับสหรัฐ ทั้งหมดนี้ทำให้เขาเป็นบุคคลที่มีผู้คนมองเขาแตกเป็นสองขั้วคือสนับสนุนอย่างมากกับไม่เห็นด้วยอย่างหนัก
อิเนจิโร อาซานูมะ | |
---|---|
อาซานูมะในปี ค.ศ. 1948 | |
หัวหน้าพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่นคนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 มีนาคม ค.ศ. 1960 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1960 | |
ก่อนหน้า | โมซาบูโร ซูซูกิ |
ถัดไป | โจตาโร คาวากามิ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น จากเขต 1 ของโตเกียว | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน ค.ศ. 1946 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1960 | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 – 30 เมษายน ค.ศ. 1942 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ธันวาคม ค.ศ. 1898 เกาะมิยาเกะ โตเกียว ญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 12 ตุลาคม ค.ศ. 1960 เขตชิโยดะ โตเกียว ญี่ปุ่น | (61 ปี)
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร |
ที่ไว้ศพ | สุสานทามะ โตเกียว |
พรรคการเมือง | พรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยวาเซดะ |
อาชีพ | นักการเมือง |
ชีวิตช่วงต้น
แก้อิเนจิโรเกิดในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1898 ที่เขตชิโยดะของโตเกียว[1] แม่ของเขาเสียชีวิตในตอนที่กำลังเบ่งท้องคลอด และใช้ชีวิตอยู่กับพ่อของเขา โดยที่พ่อเสียชีวิตเมื่ออายุ 42 ปีเนื่องจากเป็นมะเร็ง[2]
การลอบสังหาร
แก้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1960 อิเนจิโรถูกลอบสังหารโดยโอโตยะ ยามากูจิ ในขณะที่กำลังหาเสียงอยู่ที่หอฮิเบยะ โอโตยะได้วิ่งไปหาเขาพร้อมกับชักดาบ โยโรย-โดชิ (ดาบซามูไรแบบทางการ) แทงที่ซี่โครงฝั่งซ้ายของเขา โดยทางเอ็นเอชเคได้บันทึกเหตุการณ์นี้ พร้อมกับนำมาเสนอต่อผู้ชมกว่าล้านคน[3][4] และยาซูชิ นากาโอะ ผู้ถ่ายภาพในตอนที่โอโตยะแทงดาบที่ซี่โครงของอิเนจิโร ได้รับรางวัลทั้งรางวัลพูลิตเซอร์ และรางวัลการประกวดภาพถ่ายสื่อมวลชนโลก สาขาภาพข่าวยอดเยี่ยมประจำปี[1]
โอโตยะถูกจับกุมในข้อหาก่อเหตุอาชญากรรม และไม่กี่สัปดาห์ต่อมาเขาก็ฆ่าตัวตายในเรือนจำตำรวจ[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Newton 2014, p. 234.
- ↑ 鶴崎友亀『浅沼稲次郎小伝』(たいまつ新書、1979年)1998年に新時代社より復刻。ISBN 4167209047(復刻版)
- ↑ Chun, Jayson Makoto (2006). A Nation of a Hundred Million Idiots?: A Social History of Japanese Television, 1953–1973. Routledge. pp. 184–185. ISBN 978-0-415-97660-2. สืบค้นเมื่อ 2014-03-22.
- ↑ Langdon, Frank (1973). Japan's Foreign Policy. Vancouver: University of British Columbia Press. p. 19. ISBN 0774800151. สืบค้นเมื่อ 2012-08-18.
- ↑ "Leftist's Killer Suicide in Japan" (PDF). The New York Times. 3 November 1960. สืบค้นเมื่อ 2013-04-17.
ผลงานต่าง ๆ
แก้- Drea, Edward J. (1979). "The 1942 Japanese General Election: Political Mobilization in Wartime Japan". International Studies East Asian Series Research Publication. Center for East Asian Studies, University of Kansas. 11.
- Hastings, Sally Ann (1995). Neighborhood and Nation in Tokyo, 1905–1937. Pittsburg, PA: University of Pittsburg Press. ISBN 978-0822938842.
- Hoover, William D. (2018). Historical Dictionary of Postwar Japan. Lanham, MD: Rowman and Littlefield. ISBN 978-1538111567.
- Huffman, James L., บ.ก. (2013). Modern Japan: An Encyclopedia of History, Culture, and Nationalism. Routledge. ISBN 978-0815325253.
- Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0674984424.
- Victoria, Brian Daizen (2020). Zen Terror in Prewar Japan: Portrait of an Assassin. Rowman & Littlefield. ISBN 978-1538131664.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | อิเนจิโร อาซานูมะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วาระในพรรคการเมือง | ||||
สมัยก่อนหน้า โมซาบูโร ซูซูกิ |
หัวหน้าพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น 1960 |
สมัยต่อมา ซาบูโร เอดะ | ||
สมัยก่อนหน้า N/A |
เลขาธิการพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น 1955–1960 | |||
สมัยก่อนหน้า ก่อตั้งพรรค |
เลขาธิการพรรคชาวไร่-แรงงาน 1925 |
สมัยต่อมา พรรคถูกยุบ |