อินโดรามา เวนเจอร์ส

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) SET:IVL ก่อตั้งโดยนายอาลก โลเฮีย นักธุรกิจชาวอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในบริษัทระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีขั้นกลาง และขนสัตว์ บริษัทมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ไอวีแอลผลิตแบ่งได้เป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่ สารตั้งต้น (Feedstock) พลาสติกโพลีไธลีน เทเรฟธาเลท (PET), และ เส้นใยโพลีเอสเตอร์ ปัจจุบัน ไอวีแอลเป็นเจ้าของบริษัทย่อยในกลุ่มจำนวน 66 แห่ง ใน 21 ประเทศ ใน 4 ทวีป ได้แก่ ยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา และเอเชีย

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:IVL
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ก่อตั้งพ.ศ. 2537 (30 ปี)
ผู้ก่อตั้งนายอาลก โลเฮีย
สำนักงานใหญ่
กรุงเทพมหานคร
,
ประเทศไทย
บุคลากรหลัก
นายอศรี ปรากาซ โลเฮีย ประธานกรรมการ
ผลิตภัณฑ์
  • เส้นด้ายขนสัตว์
  • พลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate)
  • เส้นใยโพลีเอสเตอร์
  • สารตั้งต้น PTA (Purified Terephthalic Acid)
  • EO (Ethylene Oxide)
  • EG (Ethylene Glycol)
รายได้234,698 ล้านบาท (ปี 2558)
พนักงาน
14,000
เว็บไซต์www.indoramaventures.com

ความเป็นมาของธุรกิจ แก้

จุดเริ่มต้นของธุรกิจในประเทศไทย แก้

จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ PET แก้

บริษัทฯ เริ่มดำเนินกิจการเมื่อปี 2537 โดย จัดตั้ง บจ. อินโดรามา โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็น ผู้ผลิตเส้นด้ายจากขนสัตว์ (Worsted Wool Yarn) เป็นรายแรกในประเทศไทย ในส่วนของกลุ่มธุรกิจ PET โดยหลักประกอบด้วย การผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติก PET ซึ่งใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์และเครื่องดื่ม รวมถึงบรรจุภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ ของใช้ ในครัวเรือน และใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทฯยังเป็นผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่า (HVA) อย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ สำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่ไวต่อออกซิเจน (ก่อให้เกิดปฏิกิริยา oxidation) เมื่อปี 2538 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีโดยมุ่งเน้นในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของโพลีเอสเตอร์ โดยการตั้งโรงงาน ผลิตเม็ดพลาสติก PET ขึ้น ในประเทศไทย นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา กิจการ ของบริษัทฯ ได้เจริญเติบโตและขยายตัวขึ้น เรื่อยๆ ในธุรกิจอุตสาหกรรมต่อเนื่องของ โพลีเอสเตอร์ จนกระทั่ง เป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งในอุตสาหกรรม ต่อเนื่องของโพลีเอสเตอร์ของโลก ธุรกิจของบริษัทฯ สามารถแบ่งแยกได้เป็น 3 กลุ่ม ธุรกิจ อันได้แก่ PET, เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และ Feedstock ซึ่งประกอบ ด้วย PTA, MEG และ สารอนุพันธ์ต่างๆ ของ EO บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจ PET โดยการลงทุนในโครงการใหม่ (Greenfield Investment) การเข้าซื้อกิจการอื่น (Strategic Acquisitions) และการขยายกิจการที่มีอยู่แล้ว ให้ใหญ่ขึ้น (Brownfield Expansions) ในช่วง ปี 2538 - 2545 บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจ PET โดยเข้าลงทุนในอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream Production) ของธุรกิจ PET ในรูปของพลาสติกขึ้นรูปขวด (Preforms) ขวด และฝาจุกเกลียว (Closures) โดยเข้าร่วม ทุนกับ บมจ. เสริมสุข และยังได้ลงทุนใน โครงการต่างๆ อีกหลายโครงการเพื่อเพิ่ม กำลังการผลิตของบริษัทฯ

จุดเริ่มต้นในการเริ่มธุรกิจโพลีเอสเตอร์และเส้นใยจากขนสัตว์ แก้

ในส่วนของกลุ่มธุรกิจเส้นใย โพลีเอสเตอร์และเส้นใยจากขนสัตว์ ประกอบด้วย การผลิตและจำหน่ายสินค้าดังกล่าวที่ใช้ในกลุ่มผลิต ภัณฑ์เพิ่มมูลค่า (HVA) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์สุขอนามัย, อุตสาหกรรมยานยนต์ และการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โพลีเอสเตอร์ เป็นหนึ่งในเส้นใยสังเคราะห์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และเป็นวัสดุที่ใช้ในการผลิต สิ่งทอที่หลากหลาย รวมถึงการนำไปใช้ใน เชิงพาณิชย์ (Industrial Applications) การพัฒนาธุรกิจโพลีเอสเตอร์ของบริษัทฯ เป็นผลมาจากการเข้าซื้อสินทรัพย์จากกิจการ ที่มีปัญหาในการดำเนินงาน (Distressed Assets) และการเติบโตตามปกติ (Organic Growth) โดยใช้วิธีการขยายกำลังการผลิต (Debottlenecking) และการใช้ประโยชน์ จากสินทรัพย์ให้คุ้มค่ามากที่สุด (Asset Optimization) โดยบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนิน ธุรกิจโพลีเอสเตอร์ในปี 2540 โดยการเข้าลงทุนใน บจ. อินโด โพลี (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์แห่ง หนึ่งในประเทศไทย และเมื่อปี 2551 บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนใน บมจ. ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์รายใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย โดยการเข้าลงทุนในโรงงาน โพลีเอสเตอร์ทั้งสองแห่งของบริษัทฯ เป็น การเข้าซื้อสินทรัพย์จากกิจการที่มีปัญหา ในการดำเนินงาน ด้วยราคาที่มีส่วนลดจากราคาต้นทุนทดแทนในการสร้างโรงงานแบบ เดียวกัน (Replacement Cost) และต่อมาได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ทำกำไรให้แก่บริษัทเป็น อย่างยิ่ง และในปี 2552 บจ. อินโด โพลี (ประเทศไทย) ได้โอนสินทรัพย์และหนี้สิน ทั้งหมดให้แก่ บมจ. ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ. อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์

การรวมธุรกิจต้นน้ำ Feedstock แก้

กลุ่มธุรกิจ Feedstock ประกอบด้วยการผลิต และจำหน่าย PTA, MEG, สารอนุพันธ์ต่างๆของ EO และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องซึ่งถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ของบริษัท โดยกลุ่มธุรกิจ Feedstock ช่วยสนับสนุนกลุ่มธุรกิจ PETและกลุ่มธุรกิจโพลีเอสเตอร์ รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ การดำเนินงานเชิงบูรณาการในแนวตั้ง

การก้าวขึ้นมาสู่การเป็นผู้นำระดับโลก แก้

จุดเริ่มต้นในการเริ่มธุรกิจ PET ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป แก้

บริษัทฯ ได้ขยายฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ PET ไปยังต่างประเทศ โดยในปี 2546 ได้เข้าลงทุน ในโรงงานผลิต PET ของ StarPet ในทวีปอเมริกาเหนือ และในปี 2549 ได้เข้าลงทุนใน โรงงานผลิต PET ของ Orion Global ในทวีปยุโรป จากการขยายกิจการดังกล่าวทำให้บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET เพียงผู้เดียวที่มีการประกอบธุรกิจอยู่ใน 3 ทวีป ซึ่งเป็น ภูมิภาคที่มีปริมาณการบริโภคที่สูงที่สุดของโลก อันได้แก่ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีป อเมริกาเหนือ นอกจากนี้ เมื่อปี 2551 บริษัทฯ ยังได้ขยายแหล่งการผลิตของบริษัทฯ ด้วยการเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก PET อีกสองแห่งซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรปจาก Eastman Chemical Company และ ในปี 2552 ได้เข้าลงทุนในโครงการใหม่ (Greenfield Investment) AlphaPet ซึ่งทำให้ ธุรกิจ PET ในทวีปอเมริกาเหนือ ในครึ่งปีแรก ของปี 2554 บริษัทฯ เสร็จสิ้นการเข้าซื้อ กิจการโรงงาน PET เพิ่มเติม ในประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเม็กซิโก ประเทศ โปแลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผล ให้บริษัทฯ กลายเป็นผู้ผลิต PET ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก และเป็นผู้ประกอบการที่ใหญ่ที่สุดใน ทวีปยุโรป นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ขยายฐาน การผลิต PET ในทวีปแอฟริกาโดยการจัดตั้ง โรงงาน Solid State Polymerization (SSP) ในประเทศไนจีเรีย ซึ่งเริ่มดำเนินการเชิง พาณิชย์ในปี 2555 และในปี 2555 นี้ บริษัทฯ ได้เข้าซื้อกิจการโรงงาน PET ของ PT Polypet Karyapersada ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Cilegon ประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2558 บริษัทขยายกิจการในทวีปตะวันออกกลาง โดยเข้าซื้อกิจการ 2 แห่งในประเทศตุรกี แห่ง แรกอยู่ทางภาคใต้ของประเทศและอีกแห่งอยู่ ทางภาคเหนือของประเทศตุรกี ในเดือน พฤษภาคม 2558 บริษัทฯยังเข้าซื้อกิจการ Bangkok Polyester Public Company Limited ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET ในประเทศไทย ซึ่ง ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติก PET ในตลาดภายในประเทศ และเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทยังเข้าซื้อกิจการเม็ดพลาสติก PET ของ MICRO POLYPET Private Limited (MicroPet) และบริษัทย่อยอีก 2 แห่ง Sanchit Polymers Private Ltd และ Eternity Infrabuild Private Ltd ในประเทศอินเดีย

การขยายธุรกิจโพลีเอสเตอร์ ไปในต่างประเทศ แก้

ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 บริษัทฯ ได้ขยาย ฐานการผลิตโพลีเอสเตอร์ในต่างประเทศที่ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2554 บริษัทฯ ได้ เข้าซื้อธุรกิจรีไซเคิล PET และเส้นใยโพลีเอส เตอร์ของ Wellman International ในทวีป ยุโรป ซึ่งประกอบด้วยโรงงานจำนวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ที่ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ประเทศเนเธอร์ แลนด์ และประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมกราคม 2555 บริษัทฯ ได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการ ของ FiberVisions Holdings LLC ซึ่งเป็น ผู้ผลิตระดับโลกในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใย พิเศษแบบ Mono และ Bi-component ซึ่งตั้ง อยู่ที่เมือง Duluth มลรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

การร่วมธุรกิจต้นน้ำ MEG แก้

ในปี 2555 บริษัทฯ ขยายกิจการขึ้นไปอีก ในรูปแบบการรวมตัวของ Feedstock โดยเข้าซื้อกิจการของ Old World Industries I, Ltd และ Old World Transportation, Ltd ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิต EO/EG เพียงรายเดียวที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา Mono Ethylene Glycol (MEG) เป็นหนึ่งใน วัตถุดิบหลักของบริษัทฯ ซึ่งใช้ร่วมกับ Purified Terephthalic Acid (PTA) ในอุตสาหกรรมการ ผลิต Polyethylene Terephthalate (PET) และ เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ซึ่งทั้งคู่ เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นปลายของบริษัทฯ เมื่อ เร็วๆนี้ บริษัทฯยังเข้าซื้อกิจการจาก Compañía Española de Petróleos (“CEPSA”) ซึ่งเป็น ผู้ผลิต PTA ในประเทศแคนาดา และใน เดือนกันยายน 2558 บริษัทฯยังเข้าซื้อกิจการ Indorama Ventures Olefins Holding LLC ซึ่งเป็นผู้ผลิต ethylene cracker ดั้งเดิมในประเทศสหรัฐอเมริกา

เน้นความหลากหลายของธุรกิจ แก้

การขยายธุรกิจไปสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษเชิงกลยุทธ์ แก้

จากกาที่บริษัทฯ เป็นผู้นำตลาดและเป็นผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการตอบรับดีจากลูกค้าในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทฯได้ลงทุนขยายธุรกิจไปสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ ใน PET, เส้นใยโพลีเอสเตอร์ เส้นใยและเส้นด้ายโพรพิลีน (Polypropylene fibers and yarns) เส้นใย และเส้นด้ายไนลอน (Nylon fibers and yarns) และ Purified Ethylene Oxide “PEO” โดย การขยายธุรกิจดังกล่าวช่วยลดผลกระทบจาก อัตรากำไรที่ลดลงจากธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ ตลอดช่วงระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ สามารถที่จะรักษาอัตรากำไรให้อยู่ในระดับที่ดีได้ ทั้งนี้ บริษัทฯ มีความตั้งใจที่ จะขยายธุรกิจไปสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ เพื่อที่จะเป็นผู้นำในตลาดและเพิ่มความหลาก หลายให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าของ ตราสินค้าให้แก่บริษัทฯ ทำให้บริษัทฯ เป็น ผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าอย่างครบวงจร

ธุรกิจผลิตภัณฑ์รีไซเคิล แก้

บริษัทฯ เข้าสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์รีไซเคิลในปี 2554 โดยการเข้าซื้อกิจการ Wellman International ในทวีปยุโรป ต้นปี 2557 บริษัทฯ ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากกิจการ Wellman และเริ่มกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ รีไซเคิล PET และเส้นใยที่จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย บริษัทฯ คาดว่าจะใช้ประโยชน์ จากกิจการ Wellman International เพื่อขยาย เทคโนโลยีเพื่อรองรับธุรกิจในต่างประเทศ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังควบรวมผลิตภัณฑ์รีไซเคิล PET เข้ากับฐานกำลังการผลิตทั้ง 3 แห่ง ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก เพื่อที่จะเพิ่มสัดส่วนของผลิตภัณฑ์รีไซเคิล PET ในกำลังการผลิต

ความสำเร็จในการระดมทุน แก้

การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แก้

บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้จดทะเบียน แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส มีทุนจดทะเบียนจำนวน 5,666,010,499 บาท และทุน ชำระแล้วจำนวน 4,814,257,245 บาท แบ่ง เป็นหุ้นสามัญจำนวน 4,814,257,245 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยผู้ถือหุ้น รายใหญ่ของ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส คือ บจ. อินโดรามา รีซอสเซส ซึ่งเป็นบริษัท ที่ Canopus International Limited ถือหุ้น ร้อยละ 99.99 (โดย Canopus International Limited มีนายอาลก โลเฮีย และบุคคลที่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวโดยตรงถือหุ้นร้อยละ 49 โดยมีสิทธิออกเสียงร้อยละ 76 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดใน Canopus International Limited ในขณะที่นายศรี ปรากาซ โลเฮีย และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ ทางครอบครัวโดยตรงถือหุ้นร้อยละ 51 โดย มีสิทธิออกเสียงร้อยละ 24 ของจำนวนสิทธิ ออกเสียงทั้งหมดใน Canopus International Limited) ในเดือนมกราคม 2553 บริษัทฯ ได้เสนอขาย หุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 400 ล้านหุ้น ที่ราคาเสนอขายหุ้นละ 10.20 บาท และได้รับเงินสดจากการเสนอขายหุ้น รวม 4,080 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ผู้ถือ หุ้นรายย่อย บมจ. อินโดรามา โพลีเมอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้รับข้อเสนอ ให้สามารถแลกหุ้นกับหุ้นของบริษัทฯ ได้ จำนวน 582,727,137 หุ้น อนึ่ง หุ้นสามัญ ของบริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 ภายใต้สัญลักษณ์ “IVL” ในระหว่างปี 2553 Indorma Ventures ได้กลายเป็นหุ้นที่อยู่ใน SET50 index, FTSE, SET Large Cap Index และ MSCI

การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหุ้นเดิม แก้

ในเดือนพฤศจิกายน 2553 คณะกรรมการบริษัท มีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,334,271,047 บาท เป็น 4,815,856,719 บาท โดยการออก หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 481,585,672 หุ้น เพื่อการใช้สิทธิแปลงสภาพใบแสดงสิทธิใน การซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSRs) ซึ่งที่ ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ ออกใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอน สิทธิได้ดังกล่าว ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น ในอัตราส่วน 9 หุ้นเดิม ต่อ 1 หน่วยใบแสดงสิทธิ และใบแสดงสิทธินี้มี อัตราส่วนการใช้สิทธิที่ 1 หน่วยใบแสดงสิทธิ ต่อ 1 หุ้น ที่ราคาการใช้สิทธิ 36 บาทต่อหุ้น ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 ผู้ถือหุ้นได้มีมติ อนุมัติการออกใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่ม ทุนที่โอนสิทธิได้ การจัดสรร และข้อกำหนด และเงื่อนไขใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่โอนสิทธิได้ ทั้งนี้ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ผลการใช้สิทธิของใบแสดงสิทธิทั้งหมด ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้เท่ากับร้อยละ 99.67 โดยคิดเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ทั้งหมด 479,986,198 หุ้น ซึ่งหุ้นดังกล่าวได้เริ่มการ ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แล้วเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 โดยจำนวนเงิน ที่ได้รับจากการเพิ่มทุนครั้งนี้เท่ากับ 17,280 ล้านบาท

การทำคำเสนอซื้อ แก้

ในปี 2548 บมจ. อินโดรามา โพลีเมอร์ส (“IRP”) ผู้ดำเนินธุรกิจ PET ได้เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อมา ในเดือนธันวาคม 2552 บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์สได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของ IRP ทั้งหมด โดย IVL ได้เสนอหุ้นสามัญของ IVL ให้กับ IRP เป็นการแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ การทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของ IRP เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งส่งผลให้ IVL ถือหุ้นสามัญทั้งทางตรงและทางอ้อม (ผ่าน บริษัทย่อยของ IVL) ประมาณร้อยละ 99.08 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้วของ IRP อนึ่ง IRP ถูกถอนออกจากการจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553

บริษัทย่อยในกลุ่ม แก้

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นเจ้าของบริษัทย่อยในกลุ่ม 66 แห่ง ใน21 ประเทศ 4 ทวีป ได้แก่ ทวีปยุโรป อเมริกา แอฟริกา และเอเชีย

รายชื่อบริษัทย่อย

ภูมิภาค ประเทศ บริษัทย่อยในกลุ่มไอวีแอล
ยุโรป ไอร์แลนด์ Wellman International (Fibers & Yarns)
เยอรมนี Trevira (Fibers & Yarns)

PHP Fibers (Fibers & Yarns) เก็บถาวร 2016-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

สหราชอณาจักร Beverage Plastics (Packaging) เก็บถาวร 2013-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
เนเธอร์แลนด์ Indorama Ventures Europe B.V (PTA & PET) เก็บถาวร 2014-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Wellman International (Bottle Flakes) เก็บถาวร 2016-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

เดนมาร์ก FiberVisions (Fibers & Yarns)
ลิทัวเนีย Orion Global PET (PET) เก็บถาวร 2015-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
โปแลนด์ Indorama Ventures Poland (PET) เก็บถาวร 2015-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ฝรั่งเศส Wellman International (Bottle Flakes) เก็บถาวร 2016-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สเปน Indorama Ventures Quimica (PET, IPA and PTA facilities) เก็บถาวร 2016-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ตุรกี Indorama Ventures AdanaPET (PET)[ลิงก์เสีย]

Indorama Ventures Corlu (PET) เก็บถาวร 2015-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อเมริกา สหรัฐอเมริกา StarPet (PET) เก็บถาวร 2015-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

AlphaPet (PET) เก็บถาวร 2015-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Auriga Polymers (Fibers & Yarns) (PET) เก็บถาวร 2015-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Indorama Ventures (Oxide & Glycols) (EO/EG) เก็บถาวร 2015-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

FiberVisions (2 sites of Fibers & Yarns)

PHP Fibers (Fibers & Yarns) เก็บถาวร 2016-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Indorama Ventures Olefins (Ethylene)

Indorama Ventures Xylenes & PTA (NDC, PTA, Paraxylene) เก็บถาวร 2016-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แคนาดา Indorama PTA Montreal (PTA) เก็บถาวร 2015-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
เม็กซิโก Indorama Ventures Polymers Mexico (Fibers & Yarns)[ลิงก์เสีย]

Indorama Ventures EcoMex (Bottle Flakes) เก็บถาวร 2016-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แอฟริกา กาน่า Indorama Ventures Packaging (Ghana) (Packaging) เก็บถาวร 2016-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ไนจีเรีย Indorama PET Nigeria (PET) เก็บถาวร 2015-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)

Indorama Ventures Packaging (Nigeria) (Packaging)[ลิงก์เสีย]

เอเชีย จีน Guangdong IVL Kaiping เก็บถาวร 2016-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

FiberVisions (Fibers & Yarns)

PHP Fibers (Fibers & Yarns) เก็บถาวร 2016-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Performance Fibers Asia(2 sites of Fibers & Yarns)[ลิงก์เสีย]

อินเดีย Micro Polypet PET เก็บถาวร 2016-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Dhunseri Petglobal Ltd (Joint Ventures for PET)

ฟิลิปปินส์ Indorama Ventures Packaging (Philipines) (3 sites of packaging)[ลิงก์เสีย]
ไทย IPI Rayong (Fibers & Yarns) (PET) เก็บถาวร 2015-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Indorama Petrochem (PTA) เก็บถาวร 2013-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

TPT Petrochemicals (PTA) เก็บถาวร 2013-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

IPI Nakhon Pathom (Fibers & Yarns) (Bottle Flakes)[ลิงก์เสีย]

AsiaPet/ Indorama Polymers (PET) เก็บถาวร 2013-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Petform(4 sties of Packaging) เก็บถาวร 2015-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Indorama Holdings (Fibers & Yarns)[ลิงก์เสีย]

Indorama Ventures Polymers (Rayong) PCL[ลิงก์เสีย]

อินโดนีเซีย PT Indorama Polypet (PET) เก็บถาวร 2013-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

PT Indorama Petrochemicals (PTA) เก็บถาวร 2015-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

PT Indorama Ventures Indonesia (Fibers & Yarns)(PET)[ลิงก์เสีย]

PT Indorama Polyester Industries Indonesia (Fibers & Yarns) เก็บถาวร 2015-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

PT Indorama Polychem Indonesia (Fibers & Yarns)[ลิงก์เสีย]

เมียนมาร์ Indorama Ventures Packaging (Myanmar) (Packaging) เก็บถาวร 2016-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

กรรมการบริษัท [1] แก้

  • นายอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ และรองประธานกรรมการ
  • นายศรี ปรากาซ โลเฮีย ประธานกรรมการ
  • นางสุจิตรา โลเฮีย กรรมการ และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
  • นายดีลิป กุมาร์ อากาวาล กรรมการ กรรมการด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ Feedstock และ PET
  • นายอุเดย์ พอล ซิงห์ กิล กรรมการ กรรมการด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจเส้นใย
  • นายวิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค กรรมการอิสระและประธานกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและกำกับดูแลกิจการ
  • นายระเฑียร ศรีมงคล กรรมการอิสระ รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานการประชุมกรรมการอิสระ และกรรมการด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง
  • นายอมิต โลเฮีย กรรมการ
  • ดร.ศิริ การเจริญดี กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบและกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและกำกับดูแลกิจการ
  • นายคณิต สีห์ กรรมการอิสระและกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและกำกับดูแลกิจการ
  • นายรัสเซล เลตัน เคคูเอวา กรรมการอิสระและกรรมการด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง
  • นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช กรรมการอิสระ
  • นายเทวินทร์ วงศ์วานิช กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ
  • นายซันเจย์ อาฮูจา กรรมการและหัวหน้าฝ่ายการเงิน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ [2] แก้

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท อินโดรามา รีซอสเซส จำกัด 2,970,291,688 61.70%
2 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 230,180,944 4.78%
3 Canopus International Limited 130,000,000 2.70%
4 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 128,052,918 2.66%
5 Indorama Synthetic (India) Limited 127,529,200 2.65%

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้