สัญลักษณ์แห่งความเป็นนิรันดร์ของอาร์มีเนีย (อาร์มีเนีย: հավերժության նշան, haverzhut’yan nshan; อังกฤษ: Armenian eternity sign) หรือ อาเรวาคัช (Արևախաչ, Arevakhach; "กางเขนพระอาทิตย์") เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติอาร์มีเนียและเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์ประจำชาติ ของชาวอาร์มีเนีย[1] ปรากฏเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่พบทั่วไปในสถาปัตยกรรมอาร์มีเนีย[2][3] แกะสลักบน คัชการ์ และผนังของคริสต์ศาสนสถาน

สัญลักษณ์แห่งความเป็นนิรันดร์ของอาร์มีเนีย แบบหันซ้ายกับขวา ในรูปฟอนต์กลิฟ

ในวัฒนธรรมอาร์มีเนียยุคกลาง สัญลักษณ์นี้สื่อแทนชีวิตที่เป็นนิรันดร์บนสวรรค์ (everlasting, celestial life)[4] นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 พบปรากฏบนจารึกและในสัญลักษณ์วิทยาของ คัชการ์[5] จนกระทั่งราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์เชิงภาพของดินแดนอาร์มีเนีย[6] และยังคงความหมายดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน[7]

ArmSCII และยูนิโคด แก้

ใน ArmSCII หรือระบบแลกเปลี่ยนรหัสและข้อมูลมาตรฐานอาร์มีเนีย (Armenian Standard Code for Information Interchange) มีปรากฏสัญลักษณ์นี้เข้ารหัส (encoded) ในรูปมาตรฐาน 7 และ 8 บิต มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 เป็นอย่างน้อย และในปี ค.ศ. 2010 ได้เสนอสัญลักษณ์ต่อยูนิโคด[8] ทั้งสัญลักษณ์แบบหันออกทางซ้ายและทางขวา ปรากฏในยูนิโคดรุ่น 7.0 ซึ่งเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014[9]

กลิฟฟอนต์
ปรกติ
ตัวเอียง
ตัวหนา
ตัวหนาเอียง

ระเบียงภาพ แก้

คริสต์ศาสนสถาน
สิ่งก่อสร้างยุคใหม่
ตราสัญลักษณ์

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Armenian Eternity Sign" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 ธันวาคม 2013., "IT Development Support Council of the Government Prime Minister of the Republic of Armenia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2013., "Workgroup of Language & Culture, 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2013.
    จากบทความ Prehistory of the Armenian Dram and Armenian eternity signs โดย National institute of Standards of Republic of Armenia.
  2. Jacob G. Ghazarian (2006), The Mediterranean legacy in early Celtic Christianity: a journey from Armenia to Ireland, Bennett & Bloom, pp. 263, p. 171 "... Quite a different version of the Celtic triskelion, and perhaps the most common pre-Christian symbolism found throughout Armenian cultural tradition, is the round clockwise (occasionally counter-clockwise) whirling sun-like spiral fixed at a centre—the Armenian symbol of eternity."
  3. K. B. Mehr, M. Markow (2002). Mormon Missionaries enter Eastern Europe. Brigham Young University Press. pp. 399, p. 252. "... She viewed a tall building with spires and circular windows along the top of the walls. It was engraved with sun stones, a typical symbol of eternity in ancient Armenian architecture."
  4. Bauer-Manndorff, Elisabeth (1981). Armenia: Past and Present. Reich Verlag. p. 89. The circle, as a line returning upon itself, represented perfection. Having neither beginning, nor end, it was the symbol of eternity. The architects expressed the concept of everlasting, celestial life in the knowledge of the presence and effect of the divine power by sphere.
  5. N. Sahakyan (2006). Armenian Highland. RAU Press. pp. 349, p. 150.
  6. Jacob G. Ghazarian (2006), The Mediterranean legacy in early Celtic Christianity: a journey from Armenia to Ireland. Bennett & Bloom. pp. 263, p. 186. "The eighth, or ninth, century date of this two examples of Irish stone crosses places them chronologically well after the carving of stone crosses in Armenia and the use of the Armenian symbol of eternity had become a long established national iconographical practice."
  7. Zarian, A. K. (1989). "Խաչքարերի խորհրդանշաններին և միթրայականությանը վերաբերող պատկերագրական հարցեր" [Iconographical Problems Concerning Symbols of Khatchkars and Cult of Mithra]. Patma-Banasirakan Handes. Yerevan: Armenian National Academy of Sciences (1): 202–219. ISSN 0135-0536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2021. (ในภาษาอาร์มีเนีย).
  8. "Armenian Eternity Sign" (PDF). Unicode. 2010. pp. 10–12.
  9. "Unicode: Armenian" (PDF). Unicode. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้