อาเพลโดร์น
อาเพลโดร์น (ดัตช์: Apeldoorn) เป็นเทศบาลและเมืองในจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ ใจกลางประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงอัมสเตอร์ดัมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 60 ไมล์ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ เทศบาลมีประชากร 162,445 คน (สำรวจเมื่อปี ค.ศ. 2019)
อาเพลโดร์น | |
---|---|
เทศบาล | |
พระราชวังเฮทโล | |
พิกัด: 52°13′N 5°58′E / 52.217°N 5.967°E | |
ประเทศ | เนเธอร์แลนด์ |
จังหวัด | จังหวัดเกลเดอร์ลันด์ |
การปกครอง | |
• Mayor | ฮันส์ เอสเมเยอร์ (CDA) |
พื้นที่(2006) | |
• ทั้งหมด | 341.13 ตร.กม. (131.71 ตร.ไมล์) |
• พื้นดิน | 339.96 ตร.กม. (131.26 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 1.17 ตร.กม. (0.45 ตร.ไมล์) |
ประชากร (มกราคม 2019) | |
• ทั้งหมด | 162,445 คน |
• ความหนาแน่น | 478 คน/ตร.กม. (1,240 คน/ตร.ไมล์) |
Source: CBS, Statline. | |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
อาเพลโดร์น เป็นแหล่งอุตสาหกรรมกระดาษและการผลิตเนื้อ เป็นที่ตั้งของสำนักงานราชการหลายแห่ง ได้แก่ สำนักงานสรรพากรเนเธอร์แลนด์ สำนักงานที่ดินเนเธอร์แลนด์ และยังมีบริษัทประกัน บริษัทหนังสือพิมพ์ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลอีกหลายแห่งตั้งอยู่ นับจำนวนแรงงานได้ราว 95,000 คนจึงเป็นศูนย์กลางในการจ้างงานในภูมิภาคตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาขั้นสูงหลายแหล่ง ได้แก่ วิทยาลัยซักเซียน (เน้นการจัดการโรงแรมและอาคาร) วิทยาลัยวิตเตินโบร์ก โรงเรียนตำรวจเนเธอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยเทววิทยาแห่งอาเพลโดร์น
ประวัติ
แก้ชื่อของอาเพลโดร์นปรากฏในบันทึกครั้งแรกในชื่อ อัปโปลโดร (Appoldro) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นจุดตัดระหว่างถนนโบราณเส้นอาเมอร์สโฟรต์-เดเวนเตอร์และเส้นอาร์เนม-ซโวลเลอ กระทั่งในปี ค.ศ. 1740 ปรากฏในแผนที่ด้วยชื่อ อัปเปลโดร์น (Appeldoorn)[1]
พระราชวังเฮทโล เป็นพระราชฐานของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาของพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากใจกลางเมือง ในอดีตชื่อพระราชวังเฮทนิวโล เดิมเป็นบ้านพักของดยุคแห่งเกลเดอร์ลันด์ ได้รับการตกแต่งจนมีสภาพหรูหราแบบในปัจจุบันโดยเจ้าชายวิลเลมที่ 3 แห่งออเรนจ์ สตัดเฮาเดอร์ผู้ปกครองเนเธอร์แลนด์ในขณะนั้น (ทรงประทับช่วงสั้นๆระหว่าง ค.ศ. 1685 ถึง 1686)[2] สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และเจ้าหญิงมาร์ครีตพร้อมด้วยปีเตอร์ ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน พระสวามีก็เคยทรงประทับที่นี่เช่นกัน
อาเพลโดร์นอาจไม่โดดเด่นนักในเชิงประวัติศาสตร์ จนกระทั่งเริ่มมีความสำคัญหลังจากมีการสร้างสำนักงานและอาคารต่างๆช่วงศตวรรษที่ 19 และเรื่อยมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โบสถ์คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ได้รับการซ่อมแซมจากความเสียหายจากอัคคีภัยเมื่อปี ค.ศ. 1890[1] ส่วนโบสถ์มาเรียแกร็กในนิกายโรมันคาทอลิกได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติ[2]
เมื่อปี ค.ศ. 1996 โรงงานกระดาษฟันเกลเดอร์ปาปิเยร์ถูกไฟไหม้ได้รับความเสียหายจนธุรกิจล้มละลาย ส่วนที่เหลืออยู่ของโรงงานถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ ส่วนพื้นที่โรงงานส่วนอื่นกลายมาเป็นที่ตั้งของสำนักงานของธนาคารราโบบังก์ สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง ร้านค้าอุปกรณ์กีฬา และบริษัทขนาดเล็กอีกหลายแห่ง
ในอดีต อาเพลโดร์นเคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมกระดาษและซักเสื้อผ้า เนื่องจากน้ำใต้ดินมีความใสสะอาด ผ่านการกลองด้วยทรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง ปัจจุบันได้กลายมาเป็นแหล่งผลิตเนื้อที่สำคัญของประเทศ และยังมีสำนักงานสาขาของหลากหลายธุรกิจ ได้แก่ ลอจิสติก ทำสีพลาสติก เครื่องต้มน้ำ รถบัสและรถบรรทุก สารผลิตยา และเฟอร์นิเจอร์
นอกจากนี้ยังมีสวนสัตว์อาเปินเฮิลที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมสัตว์นานาชนิดได้อิสระ และมีสวนสนุกโกนิงงินยูเลียนาโตเรินที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์
เมื่อ ค.ศ. 2009 สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และพระราชวงศ์ดัตช์ถูกโจมตีด้วยการใช้รถพุ่งเข้าชนโดยชายชาวดัตช์ ชื่อ คาร์สท์ เท็ทส์ เท็ทท์ได้ขับรถเข้าพุ่งเข้าไปในขบวนเสด็จที่อาเพลโดร์น[3] ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตรวม 6 คน แต่พระราชวงศ์ไม่ได้รับอันตรายใดๆ เป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เรียกความสนใจจากทั่วโลก
ภูมิศาสตร์
แก้อาเพลโดรน์มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทรเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆในประเทศเนเธอร์แลนด์
ข้อมูลภูมิอากาศของอาเพลโดร์น, 1981–2010 normals | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 4.3 (39.7) |
5.2 (41.4) |
8.5 (47.3) |
12.0 (53.6) |
17.0 (62.6) |
20.2 (68.4) |
21.3 (70.3) |
21.3 (70.3) |
18.8 (65.8) |
14.2 (57.6) |
8.5 (47.3) |
5.5 (41.9) |
13.07 (55.52) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -0.8 (30.6) |
-0.8 (30.6) |
1.7 (35.1) |
3.7 (38.7) |
7.5 (45.5) |
10.4 (50.7) |
12.1 (53.8) |
12.0 (53.6) |
9.8 (49.6) |
6.7 (44.1) |
3.1 (37.6) |
0.6 (33.1) |
5.5 (41.9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 66.0 (2.598) |
48.0 (1.89) |
54.0 (2.126) |
48.0 (1.89) |
58.0 (2.283) |
69.0 (2.717) |
77.0 (3.031) |
76.0 (2.992) |
69.0 (2.717) |
66.0 (2.598) |
73.0 (2.874) |
74.0 (2.913) |
778 (30.63) |
ความชื้นร้อยละ | 88 | 84 | 81 | 75 | 74 | 75 | 76 | 77 | 82 | 86 | 89 | 90 | 82 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 13 | 9 | 12 | 9 | 10 | 11 | 9 | 9 | 11 | 12 | 13 | 13 | 131 |
แหล่งที่มา: [4] |
เมืองย่อย
แก้- อาเพลโดร์น
- เบกแบร์เคิน ห่างจากอาเพลโดร์นไปทางใต้ 6 กิโลเมตร
- ฮุนเดอร์โล ห่างจากอาเพลโดร์นไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 8 กิโลเมตร
- กลาเรินเบก ทางตะวันออกของลีเริน
- ลีเริน
- ลุนเนิน ห่างจากเบกแบร์เคินไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 5 กิโลเมตร มีปราสาท แทร์ โฮรสต์ โรงงานกล่องกระดาษ และน้ำตกเทียม
- อุดเดิล ห่างจากอาเพลโดร์นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 10 กิโลเมตร มีการเลี้ยงโคและสุกร เป็นพื้นที่ที่มีการนับถือโปรเตสแตนท์ออโธด็อกซ์อย่างเคร่งครัด
เศรษฐกิจ
แก้ธุรกิจท้องถิ่น
แก้- บริษัทประกันเซ็นทราล เบเฮร์
- บริษัทผลิตจักรยานสปาร์ตา
- บริษัทอุปกรณ์จิตรกรรมรอยัลตาเลินส์
การคมนาคม
แก้อาเพลโดร์นมีสถานีรถไฟ 4 แห่งได้แก่
- อาเพลโดร์น
- อาเพลโดร์น เดอ มาเติน
- อาเพลโดร์น โอสเซอเฟลด์
- กลาเรินเบก
วัฒนธรรม
แก้กีฬา
แก้อาเพลโดร์นเคยมีสโมสรฟุตบอลอาชีพในชื่อ AGOVV Apeldoorn ลงแข่งขันที่สนามสปอร์ตปาร์กแบร์กเอ็นโบส แต่ได้ยุบเลิกไปในปี ค.ศ. 2013 เนื่องจากล้มละลายทางการเงิน แต่กีฬาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอาเพลโดร์นคือวอลเลย์บอล ด้วยผลงานของสโมสรวอลเลย์บอลเอสเฟ ดินาโม ครองแชมป์ลีกสูงสุดได้ 12 สมัย อาเพลโดร์นยังมีสนามกีฬาออมนิสปอร์ต อาเพลโดร์นที่เน้นการจัดวอลเลย์บอล เป็นสังเวียนแข่งขันวอลเลย์บอลและจักรยานรายการสำคัญระดับชาติและระดับโลกมาแล้วหลายครั้ง
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้- ปีเตอร์ ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน พระสวามีในเจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์
- ปีต เดอโยง อดีตนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์
- เดมี เดอเซว นักฟุตบอลทีมชาติ
- เปเตอร์ โบสซ์ นักฟุตบอลและผู้จัดการทีม
เมืองพี่น้อง
แก้- บันดาอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย[5]
- เบอร์ลิงตัน รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Stenvert, R. et al. (2000). Monumenten in Nederland: Gelderland, p. 14 and 68–77. Zwolle: Waanders Uitgevers. ISBN 90-400-9406-3
- ↑ 2.0 2.1 Chisholm, Hugh, ed. (1911). "Apeldoorn". Encyclopædia Britannica. 2 (11th ed.). Cambridge University Press. p. 160.
- ↑ "RTL News broadcast". 30 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-01.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Sister City". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-14.
- ↑ "Sister City".