อาหรับมุสลิม (อาหรับ: مسلمون عرب) เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาอาหรับซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและมีอัตลักษณ์ ภาษา และวัฒนธรรมเป็นอาหรับมุสลิม อาหรับไม่ใช่ชาติพันธุ์ แต่เป็นศัพท์ทางวัฒนธรรมเพื่อเรียกผู้คนที่มีภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่[1][2][3] อาหรับมุสลิมถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศแอลจีเรีย, บาห์เรน, คอโมโรส, จิบูติ, อียิปต์, อิรัก, จอร์แดน, คูเวต, เลบานอน, ลิเบีย, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ซูดาน, โซมาเลีย, ซีเรีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ตูนิเซีย และเยเมน[4] ประเทศลิเบีย, ตูนิเซีย, แอลจีเรีย และโมร็อกโก ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นประเทศอาหรับอย่างเดียว เพราะในประเทศก็มีชนเบอร์เบอร์อาศัยอยู่[5] ใช่ว่าประชากรทั้งหมดในประเทศที่มีมุสลิมส่วนใหญ่เป็นอาหรับมุสลิม มีชาวอาหรับหลายคนที่ไม่ได้เป็นมุสลิม และมุสลิมหลายก็ไม่ได้มีเชื้อสายอาหรับ อาหรับมุสลิมก่อให้เกิดกลุ่มชาติพันธุ์-ภาษาที่ใหญ่ที่สุดของชาวมุสลิมในโลก[6] ตามมาด้วยเบงกอล,[7] ปัญจาบ,[8] และชวา

อาหรับมุสลิมเป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

ประชาชนในประเทศอียิปต์และเลบานอนส่วนใหญ่ระบุว่าตนเป็นชาวอียิปต์และเลบานอนมากกว่าระบุเป็นชาวอาหรับหรือมุสลิม[9]

อาหรับมุสลิมจำนวนมากอาศัยอยู่ในเขตอาหรับพลัดถิ่น อาหรัยมุสลิมถือเป็นประชากรอาหรับส่วนใหญ่ในประเทศเบลเยียม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิสราเอล, เนเธอร์แลนด์, ตุรกี และสหราชอาณาจักร ในขณะที่อาหรับคริสเตียนเป็นประชากรอาหรับส่วนใหญ่ในประเทศอาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, บราซิล, ชิลี, โคลอมเบีย, คิวบา, กรีซ, เฮติ, เม็กซิโก, สหรัฐ, อุรุกวัย และเวเนซุเอลา ประมาณหนึ่งส่วนสี่ของอาหรับอเมริกันเป็นอาหรับมุสลิม[10]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Facts about Arabs, “Arab” is a cultural and linguistic term. It refers to those who speak Arabic as their first language.
  2. Facts About Arab Culture & the Arabic Language
  3. "Facts About Arabs And The Arab World", American-Arab Anti-Discrimination Committee (ADC)
  4. Arab league
  5. Peter Haggett (2001). Encyclopedia of World Geography. Vol. 1. Marshall Cavendish. p. 2122. ISBN 0-7614-7289-4.
  6. Margaret Kleffner Nydell Understanding Arabs: A Guide For Modern Times, Intercultural Press, 2005, ISBN 1931930252, page xxiii, 14
  7. มุสลิมเบงกอลประมาณ 152 ล้านอาศัยอยู่ในประเทศบังกลาเทศและอีก 36.4ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศอินเดีย (เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ค.ศ. 2014); ชาวบังกลาเทศประมาณ 10 ล้านคนอยู่ในตะวันออกกลาง, 1 ล้านคนอยู่ในประเทศปากีสถาน, 5 ล้านคนอยู่ในอังกฤษ
  8. Gandhi, Rajmohan (2013). Punjab: A History from Aurangzeb to Mountbatten. New Delhi, India, Urbana, Illinois: Aleph Book Company. p. 1. ISBN 978-93-83064-41-0.
  9. "A Growing Muslim Identity". Brookings Institute. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  10. "Arab Americans: Demographics". Arab American Institute. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2006. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020.

บรรณานุกรม แก้

  • Ankerl, Guy (2000). Coexisting Contemporary Civilizations: Arabo-Muslim, Bharati, Chinese, and Western. Geneva: INU Press. ISBN 2-88155-004-5.