อาราเระ

ขนมขบเคี้ยวญี่ปุ่น

อาราเระโมจิ (ญี่ปุ่น: あられ餅โรมาจิ: 'Araremochi' ) หรือ อาราเระ (ญี่ปุ่น: あられโรมาจิ: 'Arare' ; ลูกปรายหิมะ) เป็นขนมขบเคี้ยวญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ซึ่งทำจากข้าวเหนียวปรุงรสด้วยโชยุคล้ายเซ็มเบ แต่ผิดกันตรงที่เซ็มเบทำจากข้าวเจ้า[1] ทั้งมีขนาดและรูปทรงต่างออกไป ส่วนในรัฐฮาวายจะเรียกขนมนี้ว่า คากิโมจิ (欠き餅) หรือ โมจิครันช์ (Mochi Crunch) แปลว่า "โมจิกรอบ"

อาราเระ
ประเภทขนมข้าวกรอบ
แหล่งกำเนิดประเทศญี่ปุ่น
ส่วนผสมหลักข้าวเหนียว โชยุ
รูปแบบอื่นโอลีฟโนะฮานะ

ประวัติ แก้

อาราเระ หรืออาราเระโมจิเป็นโมจิกรอบชนิดหนึ่งทำขึ้นครั้งแรกช่วงยุคเฮอัง ครั้นล่วงมาในยุคเอโดะขนมชนิดนี้ก็ถูกผลิตจำนวนมากจนเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์แล้ว[2] โดยชื่อขนมนี้ตั้งตามลักษณะที่ละม้ายลูกปรายหิมะจึงเรียกตามความหมายในภาษาญี่ปุ่นว่า "อาราเระ"

อาราเระมีขนาด สีสัน และรสชาติที่หลากหลาย อาทิ โนริมากิอาราเระ (海苔巻きあられ) คืออาราเระที่ห่อด้วยสาหร่ายโนริ และคากิโนะทาเนะ (柿の種) บ้างเรียก คากิพี (柿ピー) ส่วนใหญ่ทำมาจากถั่วลิสง แต่มีลักษณะคล้ายเม็ดพลับจึงเรียกว่า "คากิ" นิยมรับประทานแกล้มเบียร์

วัฒนธรรม แก้

ในเทศกาลฮินะมัตสึริ ตรงกับวันที่ 3 มีนาคมซึ่งเป็นวันเด็กหญิงของญี่ปุ่น จะมีการรับประทานอาราเระที่ทำไว้หลากหลายสีตั้งแต่ สีชมพู เหลือง ขาว น้ำตาล เขียวอ่อน ปรกติแล้วสามารถหาซื้ออาราเระรับประทานได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมที่ตรงกับห้วงเทศกาลฮินะมัตสึริเท่านั้นที่จะทำอาราเระหลากสี เรียกว่า ฮินะอาราเระ (雛あられ)[3]

อาราเระถูกนำเข้าไปสหรัฐอเมริกาโดยผู้อพยพชาวญี่ปุ่นที่ไปรับจ้างเป็นเกษตรกรในฮาวายช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งในฮาวายมักเรียกว่าคากิโมจิหรือโมจิครันช์ นิยมผสมอาราเระกับข้าวโพดคั่ว (บางคนก็ผสมฟูริกาเกะ) ส่วนเฮอร์ริเคนป็อปคอร์น (Hurricane popcorn) คือข้าวโพดคั่วที่ผสมทั้งอาราเระและฟุริกาเกะ

ระเบียงภาพ แก้

 
ถั่วเคลือบอาราเระ ถั่วเคลือบวาซาบิ และปลาแห้ง
ถั่วเคลือบอาราเระ ถั่วเคลือบวาซาบิ และปลาแห้ง 
 
ฮินะอาราเระ
ฮินะอาราเระ 
 
ฮินะอาราเระแบบแท่ง
ฮินะอาราเระแบบแท่ง 
 
ลูกปรายหิมะ ที่มาของชื่อขนมอาราเระ
ลูกปรายหิมะ ที่มาของชื่อขนมอาราเระ 

อ้างอิง แก้

  1. กิตติพงศ์ ห่วงรักษ์ (January–February 2012). "อาราเร่และเซมเบ้จากข้าวไทยชนิดมีสี" (PDF). Research Update. 2 (1). สืบค้นเมื่อ 6 May 2016.[ลิงก์เสีย]
  2. 本山荻舟 (25 December 1958). 飲食事典 (ภาษาญี่ปุ่น). 平凡社. p. 8. ISBN 978-4582107012.
  3. ต่อจรัส พงษ์สาลี. "ป้ายที่ 13 : 雛祭り hinamatsuri". เรียนจากป้ายสไตล์ญี่ปุ่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-12. สืบค้นเมื่อ 6 May 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้