การสลายของเม็ดเลือดแดง

(เปลี่ยนทางจาก อาการเม็ดเลือดแดงแตก)

การสลายของเม็ดเลือดแดง[1], ฮีโมไลซิส หรือ เฮโมไลซิส (อังกฤษ: Hemolysis หรือ haemolysis; /hˈmɒlɪsɪs/),[2] เป็นการแตก (ไลซิส; lysis) ของเซลล์เม็ดเลือดแดง (เอริโธรไซต์; erythrocyte) และปล่อยสารข้างใน (ไซโตพลาสซึม) ออกมายังสิ่งแวดล้อมโดยรอบ (เช่น พลาสมา) การสลายของเม็ดเลือดแดงอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในร่างกาย (in vivo) และในภาวะสังเคราะห์ (in vitro)

การสลายของเม็ดเลือดแดง
(Hemolysis)
ชื่ออื่นฮีโมไลซิส, เฮโมไลซิส (Haemolysis), เฮมาโตไลซิส (hematolysis), เอริโธรไลซิส ( erythrolysis) หรือ เอริโธรไซโตไลซิส (erythrocytolysis)
สาขาวิชาพยาธิวิทยา

หนึ่งในสาเหตุของเฮโมไลซิสคือการออกฤทธิ์ของฮีโมไลซิน (hemolysin) สารพิษซึ่งปล่อยออกมาโดยฟังไจหรือแบคทีเรียก่อโรคบางชนิด หรืออาจเกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักเกินไป[3] Hemolysins damage the red blood cell's cytoplasmic membrane, causing lysis and eventually cell death.[4]

ในร่างกาย แก้

เฮโมไลซิสในร่างกายอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ หลายประการ เช่นแบคทีเรียแกรมบวกหลายชนิด (เช่น Streptococcus, Enterococcus และ Staphylococcus), ปรสิตบางชนิด (เช่น Plasmodium), โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องบางชนิด (autoimmune disorders; เช่น โลหิตจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดงอันเกิดจากยา; drug-induced hemolytic anemia),[5] โรคพันธุกรรมบางชนิด (เช่น โรคซิกเคิลเซลล์; sickle-cell disease หรือโรคจี-6-พีดีบกพร่อง; G6PD deficiency) หรือเลือดที่มีความเข้มข้นต่ำ (ไฮโปโทนิก; hypotonic ต่อเซลล์)[6]

เฮโมไลซิสอาจนำไปสู่ภาวะฮีโมโกลบินในเลือด (hemoglobinemia) จากฮีโมโกลบินจำนวนมากถูกปล่อยออกมาในพลาสมาของเลือด ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการ pathogenesis ของ sepsis[7] ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วยผลที่เกิดต่อระบบภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง (innate immune system)[7]

Streptococcus แก้

สปีชี่ส์หลายปีชี่ส์ของจีนัส Streptococcus ก่อให้เกิดเฮโมไลซิส แบคทีเรียกลุ่ม Streptococcal นั้นจัดแบ่งตามคุณลักษณะที่ก่อเกิดการเฮโมไลซิส (hemolytic properties) ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องปรากฏเสมอไปในร่างกาย

  • สปีชี่ส์อัลฟา-เฮโมไลติก (Alpha-hemolytic species) เช่น S. pneumoniae, Streptococcus mitis, S. mutans และ S. salivarius จะออกซิไดส์เหล็กในเฮโมโกลบิน
  • สปีชี่ส์เบต้า-เฮโมไลติก (Beta-hemolytic species) เช่น S. pyogenes และ S. agalactiae จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก
  • สปีชี่ส์แกมมา-เฮโมไลติก (Gamma-hemolytic) หรือ ไม่ก่อเฮโมไลติก (non-hemolytic) คือสปีชี่ส์ที่ไม่ก่อให้เกิดเฮโมไลซิสและยากมากที่จะก่อโรค

Enterococcus แก้

จีนัส Enterococcus ประกอบด้วยแบคทีเรียกรดแลกติก (lactic acid bacteria) ซึ่งเคยถูกจัดเป็นแกมมา-เฮโมไลติก กลุ่ม D ในจีนัส streptococcus (ด้านบน) เช่น E. faecilis (S. faecalis), E. faecium (S. faecium), E. durans (S. durans) และE. avium (S. avium).

Staphylococcus แก้

Staphylococcus เป็นคอคคัส (cocci) ประเภทแกรมบวกอีกชนิดหนึ่ง โดยที่พบบ่อยที่สุดคือ S. aureus อันเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการติดเชื้อ "staph" และมักเฮโมไลติกใน blood agar[8]

ปรสิต แก้

ในกระบวนการกินอาหารของปรสิตกลุ่ม Plasmodium ทำอันตรายต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น มาลาเรีย ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า "เฮโมไลซิสจากปรสิต" ("parasitic hemolysis") ในงานเขียนทางการแพทย์

HELLP, pre-eclampsia หรือ eclampsia แก้

ดูที่ HELLP syndrome, Pre-eclampsia และ Eclampsia

โรคเฮโมไลติกในเด็กแรกเกิด แก้

โรคเม็ดเลือดแตกในเด็กแรกเกิด (Hemolytic disease of the newborn) เป็นโรคภูมิคุ้มกัน (autoimmune disease) ที่เกิดจากแอนติบอดีของมารดาข้ามจากรกไปยังทารกในครรภ์ กรณีพบบ่อยเมื่อมารดาเคยได้รับแอนติเจนเลือดที่มีทารกแต่ไม่พบในเธอ ซึ่งอาจมาจากการถ่ายเลือดหรือการตั้งครรภ์มาก่อนหน้า[9]

โลหิตจางเฮโมไลติก แก้

ในกรณีที่เสียเม็ดเลือดแดงจำนวนมากจากการเฮโมไลติดจนเป็นอันตรายร้ายแรง อาจนำไปสู่โรคโลหิตจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง (Hemolytic anemia)

วิกฤตเฮโมไลติก แก้

วิกฤตเฮโมไลติก (Hemolytic crisis) หรือวิกฤตไฮเปอร์เฮโมไลติก (hyperhemolytic crisis) คือภาวะที่อัตราการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อันนำไปสู่โลหิตจาง (anemia), ดีซ่าน (juandice) และ reticulocytosis[10] Hemolytic crises are a major concern with sickle-cell disease and G6PD deficiency.

สารพิษ แก้

การที่ร่างกายย่อย Paxillus Involutus จากการทานอาจก่อให้เกิดเฮโมไลซิสได้

อ้างอิง แก้

  1. ศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา; ศัพท์วิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖) เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th/coined_word/index.php วันที่ 19 พ.ค. 2563
  2. Wells, John C. (2008). Longman Pronunciation Dictionary (3rd ed.). Longman. ISBN 978-1-4058-8118-0.
  3. Witek, K; Ścisłowska, J; Turowski, D; Lerczak, K; Lewandowska-Pachecka, S; Pokrywka, A (March 2017). "Total bilirubin in athletes, determination of reference range". Biology of Sport. 34 (1): 45–48. doi:10.5114/biolsport.2017.63732. ISSN 0860-021X. PMC 5377560. PMID 28416897.
  4. Madigan, Michael T. (2010). Brock Biology of Microorganisms 13th Edition. p. 804. ISBN 978-0-321-64963-8.
  5. Barcellini, Wilma (2015). "Immune Hemolysis: Diagnosis and Treatment Recommendations". Seminars in Hematology. 52 (4): 304–312. doi:10.1053/j.seminhematol.2015.05.001. ISSN 1532-8686. PMID 26404442.
  6. Beris, Photis; Picard, Véronique (2015). "Non-immune Hemolysis: Diagnostic Considerations". Seminars in Hematology. 52 (4): 287–303. doi:10.1053/j.seminhematol.2015.07.005. ISSN 1532-8686. PMID 26404441.
  7. 7.0 7.1 Effenberger-Neidnicht, Katharina; Hartmann, Matthias (2018). "Mechanisms of Hemolysis During Sepsis". Inflammation. 41 (5): 1569–1581. doi:10.1007/s10753-018-0810-y. ISSN 1573-2576. PMID 29956069.
  8. MicrobeLibrary.org, American Society for Microbiology เก็บถาวร ธันวาคม 1, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "Erythrocyte Alloimmunization and Pregnancy: Overview, Background, Pathophysiology". 2019-02-02. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. "Innvista". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-24. สืบค้นเมื่อ 2010-07-04.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค