อาการดีเกินไป (อังกฤษ: Nice guy syndrome) เป็นคำจำกัดความทางจิตวิทยาบรรยายลักษณะของเพศชาย ที่มีปัญหาในการมีคู่ โดยมีที่มาจากคำพูดของเพศตรงข้ามว่า "ดีเกินไป" (ตัวอย่าง เธอเป็นคนดีเกินไป แต่เราไม่สามารถเป็นแฟนกันได้ มาคบกันเป็นเพื่อนเถอะ) ซึ่งเกิดจากความรู้สึกของเพศตรงข้ามเปรียบเทียบลักษณะ "ผู้ชายที่ดีเกินไป" ไม่เข้าใจการเติบโต การวางตัวต่อเพศตรงข้าม และเรื่องราวของการมีชีวิตคู่ รวมไปถึงไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์โรแมนติค

ลักษณะของบุคคลที่อยู่ในอาการดีเกินไป ส่วนมากจะมีจิตใจดีงาม ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มักจะมีปัญญาสูงกว่าบุคคลทั่วไป เชื่อมั่นในความคิดตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ขาดความเข้าใจในความคิดของผู้หญิง ขาดความเข้าใจในเรื่องของสังคมมนุษย์ และในหลาย ๆ ครั้งจะขาดความมั่นใจในเรื่องความรัก การแสดงออกจะออกมาในลักษณะ การช่วยเหลือหรือเสนอตัวช่วยเหลือ ไม่ว่าเพศตรงข้ามจะต้องการหรือไม่ แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่ตอบสนองความต้องการของตัวเอง (ที่ต้องการแสดงออก โดยการช่วยเหลือ) การพูดจาจะแสดงออกมาในลักษณะการฟังมากกว่าการพูด และเมื่อใดที่เพศตรงข้ามต้องการถอนตัวออกจากความสัมพันธ์ อาการทางจิตใจจะทำให้เกิดเข้าใจที่ตัดพ้อต่อว่าเพศตรงข้าม และในหลายๆ เหตุการณ์ถ้าเพศตรงข้ามเกิดความสัมพันธ์ใหม่กับผู้ชายคนอื่น ที่มีลักษณะท่าทางไม่ดี ผิดแปลกไปจากตน จะทำให้เกิดความตัดพ้อต่อว่าเพศตรงข้าม และฝังความคิดว่า "ผู้หญิงในโลกรักแต่คนไม่ดี" ในขณะที่เพศตรงข้ามต้องการบุคคลที่สามารถวางตัวในสังคม และมีความมั่นคงทางอารมณ์

"ดีมากเกินไป" บางครั้งอันหมายถึง ทำดีเกินความพอดีอันเป็นการเสแสร้ง(Hypocrite)ซึ่งไม่ได้มาจากใจจริงๆ เป็นการเอาใจอีกฝ่ายจนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัด โดยฝ่ายชายที่มักจีบผู้หญิงในช่วงแรกๆ มักทุ่มตัวจีบฝ่ายหญิงแสร้งทำดีทุกอย่างเพื่อให้ฝ่ายหญิงตัดสินใจคบฝ่ายชาย โดยผู้ชายบางคนมักคิดว่าจะจีบผู้หญิงต้องมีเงิน จึงมักเอาใจผู้หญิงด้วยการออกค่าใช้จ่ายแทนฝ่ายหญิง เช่น เลี้ยงข้าว ออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ฝ่ายหญิงเป็นประจำมากเกินไป ซึ่งถ้าผู้หญิงเริ่มรู้สึกตัวเข้าจะเห็นว่าการเสแสร้งทำดีด้วยเงินนั้นเป็นการดูถูกผู้หญิงอย่างมาก ซึ่งเป็นสาเหตุดังกล่าวที่ทำให้ผู้หญิงรำคาญผู้ชายที่เสแสร้งทำดีเพื่อจีบผู้หญิงโดยไม่ได้มาจากใจ หรือความรักที่แท้จริงๆ แต่ใช้เงิน หรือ องค์ประกอบทฤษฎีต่างๆ ในการจีบหญิง ซึ่งไม่ได้มาจากใจ

ทฤษฎีขั้นบันไดของความรักสนับสนุนแนวความคิดของอาการดีเกินไปว่า ผู้หญิงโดยปกติจะถูกดึงดูดด้วย ลักษณะความมั่นคงทางด้านจิตใจ ฐานะ และความเป็นตัวของตัวเองของเพศตรงข้าม มากกว่ารูปร่างหน้าตา ในขณะเดียวกับที่ผู้ชายส่วนมากจะถูกดึงดูดด้วย รูปร่างและหน้าตาของเพศตรงข้าม มากกว่าปัจจัยอื่น

ถึงแม้ว่าอาการดีเกินไป จะไม่ถูกนับเป็นอาการทางจิต แต่ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ชายที่มีอาการ จะทำให้เกิดความท้อแท้ และหมดหวังในการเติบโตและเข้าใจลักษณะโครงสร้างของสังคมมนุษย์ วิธีแก้อาการเหล่านี้ แนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญทางการเข้าใจผู้คนและสังคม โดยการเปลี่ยนแนวการดำรงชีวิต เช่น การออกไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ เรียนรู้ลักษณะของสังคมรอบตัว ส่งผลให้เกิดความรู้ที่เปิดกว้างขึ้นในการเรียนรู้สังคม การวางตัวในสังคม และการวางตัวต่อเพศตรงข้ามตามมา เว็บไซต์จัดหาคู่ได้นำทฤษฎีนี้มาช่วยเหลือ ผู้ชายที่มีอาการเหล่านี้

ดูเพิ่ม แก้

การศึกษาทางจิตวิทยาทางด้านความรัก

  • ทฤษฎีผู้ชายมาจากดาวอังคาร ผู้หญิงมาจากดาวศุกร์ (Men Are from Mars, Women Are from Venus) อธิบายถึงการเข้าใจทางความคิดของผู้ชายและผู้หญิง โดยเปรียบเทียบผู้ชายมาจากดาวอังคาร ซึ่งมีลักษณะทุกอย่างแตกต่างจากผู้หญิงที่มาจากดาวศุกร์ แต่เมื่อมาอยู่ในโลกใบเดียวกัน ทำให้เกิดความเข้าใจในตัวเองว่าเพศตรงข้ามต้องมีความคิดคล้ายกัน
  • การอายที่จะรัก (love-shyness) ทฤษฎีอธิบายการลำบากในการเข้าหาเพศตรงข้าม หรือการวางตัวในสังคมสำหรับบุคคลที่อาย ต่อการพูดคุยต่อบุคคลอื่น
  • การกลัวการผูกมัด (Commitment Phobia) ทฤษฎีอธิบายถึงการกลัวโดยไม่มีสาเหตุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ในการพัฒนาความรัก
  • เนิร์ด

บรรณานุกรม แก้

  • Glover, Robert A. (2003). No More Mr. Nice Guy. Philadelphia, PA: Running Press Book Publishers. ISBN 0762415339.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้