อาการกลัวแมงมุม

อาการกลัวแมงมุม หรือ โรคกลัวแมงมุม (อังกฤษ: Arachnophobia หรือ arachnephobia ซึ่งรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ: ἀράχνη อาราคเน่ "แมงมุม" และ φόβος โฟบอส "ความกลัว") คือโรคกลัวจำเพาะชนิดหนึ่ง เป็นอาการกลัวแมงมุมซึ่งรวมไปถึงสัตว์ชนิดอื่นในตระกูลแมง เช่น แมงป่อง ซึ่งอาจถูกจัดรวมกับอาการกลัวแมลง [1]

ในบางครั้ง แม้แต่วัตถุที่คล้ายคลึงกับแมงมุมก็สามารถกระตุ้นอาการตื่นตระหนกในผู้ที่มีอาการนี้ได้ จากภาพการ์ตูนด้านบนคือหนึ่งในตัวละครเรื่อง หนูแจ็คและคุณมัฟเฟท ที่มีอาการกลัวแมงมุม

บ่อยครั้งที่ปฏิกิริยาตอบสนองต่ออาการกลัวแมงมุมมักจะเกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล (และไม่ใช่ว่าผู้ที่มีอาการนี้ทุกคนจะรับรู้ถึงความไร้เหตุผลต่อปฏิกิริยาดังกล่าว) มันยังเป็นหนึ่งในอาการกลัวจำเพาะที่พบได้ทั่วไปมากที่สุดอาการหนึ่ง[2][3] ขนาดที่ว่าสถิติบางสถิติพบว่าร้อยละ 50 ของผู้หญิงและร้อยละ 10 ของผู้ชายมีอาการดังกล่าว[4] มันอาจจะเป็นอาการตอบสนองของสัญชาตญาณที่มากเกิน ซึ่งมีส่วนช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ[5] หรืออาจเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมซึ่งที่พบได้ทั่วไปที่สุดในสังคมยุโรป[6]

อาการกลัวแมงมุมสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการและเทคนิคทั่วไปเช่นเดียวกับที่รักษาอาการกลัวจำเพาะอื่นๆ ในขณะเดียวกันกับอาการกลัวแบบอื่น การบรรเทาอาการคือการที่ผู้มีอาการไม่คล้อยตามความรู้สึกหรือเหตุการณ์ต่อเนื่องจากความกลัว พร้อมกับการที่ผู้อื่นซึ่งไม่มีอาการ ก็ไม่ควรกระทำการใดๆ อันเป็นการส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความกลัว

อาการและผลกระทบ แก้

ผู้ป่วยที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกไม่สบายใจในบริเวณใดก็ตามที่พวกเขาเชื่อว่าสามารถมีแมงมุมอาศัยอยู่ หรือบริเวณใดก็ตามที่สามารถพบเห็นสัญลักษณ์และวัตถุอันบ่งบอกถึงการมีอยู่ของแมงมุม เช่น ใยแมงมุม ถ้าหากผู้ป่วยพบเห็นแมงมุม พวกเขาจะไม่เข้าใกล้บริเวณโดยรอบที่พบเห็นนั้นจนกว่าจะสามารถเอาชนะอาการกลัวนั้นได้ เมื่ออยู่ในบริเวณที่ใกล้แมงมุมหรือสัมผัสกับใยแมงมุม ผู้ป่วยบางรายถึงกับกรีดร้อง, ร้องไห้, มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ, เหงื่อออกมากหรือแม้กระทั่งหัวใจล้มเหลว ในกรณีร้ายแรง บางรายถึงขนาดกับเกิดอาการกลัวกำเริบเมื่อพบเห็นรูปภาพหรือภาพวาดเสมือนจริงของแมงมุม นอกจากนี้แล้วอาการกลัวแมงมุมยังสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยเพียงการนึกคิดถึงแมงมุมหรือแม้แต่รูปภาพของแมงมุมด้วยในบางกรณี ผู้ป่วยบางรายจะกระทำการตรวจสอบห้องหรือสถานที่ว่ามีแมงมุมหรือไม่ก่อนที่จะเข้าไปยังสถานที่นั้น หากพบเห็นแล้วก็จะจับตาดูความเคลื่อนไหวอย่างละเอียดถี่ถ้วน ในขณะที่มีอาการอื่นๆ เช่น เบี่ยงเบนความสนใจตัวเองเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการพบเห็นแมงมุม[7]

อ้างอิง แก้

  1. Heather Hatfield. "The Fear Factor: Phobias". webmd.com
  2. "A Common Phobia". phobias-help.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-02. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02. There are many common phobias, but surprisingly, the most common phobia is arachnophobia.
  3. Fritscher, Lisa (2009-06-03). "Spider Fears or Arachnophobia". Phobias. About.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-02. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02. Arachnophobia, or fear of spiders, is one of the most common specific phobias.
  4. "The 10 Most Common Phobias — Did You Know?". 10 Most Common Phobias. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-02. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02. Probably the most recognized of the 10 most common phobias, arachnophobia is the fear of spiders. The statistics clearly show that more than 50% of women and 10% of men show signs of this leader on the 10 most common phobias list.
  5. Friedenberg, J., and Silverman, G. (2005). Cognitive Science: An Introduction to the Study of Mind. SAGE. pp. 244–245. ISBN 1-4129-2568-1. สืบค้นเมื่อ 2008-10-11.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Davey, G.C.L. (1994). "The "Disgusting" Spider: The Role of Disease and Illness in the Perpetuation of Fear of Spiders". Society and Animals. 2 (1): 17–25. doi:10.1163/156853094X00045.
  7. http://www.disabled-world.com/health/neurology/phobias/arachnophobia.php#ixzz1zuUsTTTr