อาการกลัวเข็ม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อาการกลัวเข็ม (อังกฤษ: trypanophobia) เป็นความกลัวต่อหัตถการทางการแพทย์ เช่น การฉีดยา หรือการใช้เข็ม โดยทั่วไปมักหมายถึง อาการกลัวของแหลม (aichmophobia, belonephobia, หรือ enetophobia) สภาวะดังกล่าวได้รับการบรรจุเป็นทางการในเกณฑ์วินิจฉัยโรคจิตเวช DSM-IV ใน ค.ศ. 1994 ว่าเป็นโรคกลัวจำเพาะต่อเลือด, การฉีดยา, การบาดเจ็บ ระดับความกลัวพบตั้งแต่การเลี่ยงการฉีดยา, การเจาะเลือด ไปจนถึงปฏิเสธการรักษาจากแพทย์ทุกอย่าง
อาการการกลัวเข็มสามารถแบ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
- Aichmophobia: เป็นอาการกลัวของมีคม ของปลายแหลม และเข็มทุกชนิด และแสดงออกรุนแรง เช่น ช็อก หมดสติ
- Algophobia: เป็นอาการกลัวความเจ็บเนื่องจากของแหลม จะแสดงอาการของความกลัวเมื่อของมีคมหรือของปลายแหลมสัมผัสกับร่างกายบางส่วน
- Belonephobia เป็นอาการกลัวรูปแบบทั่วไปที่เมื่อพบของมีคม มีด หรือเข็ม จะเกิดอาการหน้ามืด ใจสั่น แต่ไม่รุนแรง
- Enetophobia: อาการกลัวเข็มหมุด กล่าวคือเข็มที่มีหัวจับ เช่น เข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม
- Trypanophobia: อาการกลัวการฉีดยา การให้น้ำเกลือ การใช้เข็มเจาะเลือด
- Vaccinophobia: อาการกลัวการฉีดวัคซีน
ในผู้ป่วยบางรายสามารถพบอาการ vasovagal reflex reaction คือเกิดอาการเป็นลม หมดสติ จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการเต้นหัวใจและความดันโลหิต ในบางรายอาจเกิดการผิดปกติของฮอร์โมน เป็นผลสืบเนื่องจากความกลัวจนหมดสติ
ดร. เจมส์ จี แฮมิลทัน (Dr. James G. Hamilton) ได้ตีพิมพ์งานวิจัย เรื่องการกลัวเข็มของท่านในปี ค.ศ. 1995 ไว้ว่า การกลัวเข็ม มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม ไม่ใช่แค่ความกลัว แบบความกลัวอื่น ๆ [ต้องการอ้างอิง]
มีรายงานว่ามีผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตเนื่องจากไม่กล้ารับการฉีดยา[ต้องการอ้างอิง] สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานกับคนที่มีอาการกลัวเข็มมาก ๆ มักใช้ครีมยาชา ยาชา ไนตรัสออกไซด์ (แก๊สหัวเราะ) และยานอนหลับก่อนทำการฉีดยา
หากผู้ป่วยบางรายมีอาการกลัวมากๆสามารถแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ได้เลยว่ามีอาการกลัวเข็ม
ตัวอย่างเช่น น้องครีม ชัชฎาภา มีนัดฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลแต่ไม่ได้แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ว่ามีอาการกลัวเข็ม จึงเกิดเป็นลมหมดสติโดยที่ไม่มีใครทราบสาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้น