เอบราแฮม ลิงคอล์น
เอบราแฮม ลิงคอล์น (อังกฤษ: Abraham Lincoln, 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 – 15 เมษายน ค.ศ. 1865) เป็นทนายความและรัฐบุรุษชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 16 แห่งสหรัฐ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1861 จนกระทั่งถูกลอบสังหารเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1865 ลิงคอล์นประสบความสำเร็จในการนำพาประเทศผ่านพ้นสงครามกลางเมืองอเมริกา ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ทางรัฐธรรมนูญ ทางทหารและศีลธรรมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ[2][3] ด้วยความสำเร็จดังกล่าว ลิงคอล์นจึงสามารถรักษาความเป็นสหภาพของสหรัฐเอาไว้ได้ นอกจากนี้เขายังนำทางไปสู่การเลิกทาส สร้างความมั่งคงแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลกลาง ตลอดจนส่งเสริมการเศรษฐกิจและการเงินให้ทันสมัย
เอบราแฮม ลิงคอล์น | |
---|---|
ลิงคอล์น ใน ค.ศ. 1863 | |
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 16 | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มีนาคม ค.ศ. 1861 – 15 เมษายน ค.ศ. 1865 | |
รองประธานาธิบดี |
|
ก่อนหน้า | เจมส์ บิวแคนัน |
ถัดไป | แอนดรูว์ จอห์นสัน |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ จาก รัฐอิลลินอย เขต 7 | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มีนาคม ค.ศ. 1847 – 3 มีนาคม ค.ศ. 1849 | |
ก่อนหน้า | จอห์น เฮนรี |
ถัดไป | โทมัส แอล ฮาร์ริส |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐอิลลินอย จาก เทศมณฑลซากามอน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม ค.ศ. 1834 – 4 ธันวาคม ค.ศ. 1842 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ซิงกิงสปริงฟาร์ม รัฐเคนทักกี สหรัฐ |
เสียชีวิต | 15 เมษายน ค.ศ. 1865 วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ | (56 ปี)
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร (บาดแผลจากกระสุนที่ศีรษะ) |
ที่ไว้ศพ | สุสานลิงคอล์น |
พรรคการเมือง |
|
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เนชันแนลยูเนียน (ค.ศ. 1864 – ค.ศ. 1865) |
ความสูง | 6 ฟุต 4 นิ้ว (193 เซนติเมตร)[1] |
คู่สมรส | แมร์รี่ ทอดด์ (สมรส 1842) |
บุตร | |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | ตระกูลลิงคอล์น |
วิชาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | ทหารช่วยรบแห่งรัฐอิลลินอย |
ประจำการ | ค.ศ. 1832 |
ยศ | |
สงคราม/การสู้รบ | |
ลิงคอล์นเกิดในครอบครัวยากจน ณ เมืองฮ็อดเจนวิลล์ รัฐเคนทักกี ซึ่งสมัยนั้นเป็นพรมแดนทางตะวันตกของสหรัฐ ส่วนใหญ่ลิงคอล์นศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพทนายความในรัฐอิลินอยส์ใน ค.ศ. 1836 เขากลายเป็นผู้นำพรรควิก และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐอิลลินอยระหว่าง ค.ศ. 1834 - 1842 และต่อมาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐใน ค.ศ. 1846 โดยดำรงตำแหน่งอยู่หนึ่งสมัย ลิงคอล์นเน้นการปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้ทันสมัย และต่อต้านสงครามเม็กซิโก-อเมริกา หลังหมดวาระลิงคอล์นกลับไปประกอบวิชาชีพกฎหมายจนประสบความสำเร็จ เมื่อกลับมาสู่เวทีการเมืองอีกครั้งใน ค.ศ. 1854 ลิงคอล์นกลายเป็นผู้นำก่อตั้งพรรคใหม่ คือ พรรคริพับลิกัน ในระหว่างการโต้วาทีกับตัวแทนพรรคเดโมแครต สตีเฟน เอ. ดักลัส ใน ค.ศ. 1858 ลิงคอล์นแสดงจุดยืนทางการเมืองที่คัดค้านการขยายตัวของสถาบันทาส แต่ก็แพ้การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแก่ดักลัส คู่แข่งผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองชนิดไม่แทรกแทรงการมีอยู่ของสถาบันทาส โดยเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ประชาชนควรมีสิทธิกำหนดเอง
ลิงคอล์นกลายเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคริพับลิกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1860 ในฐานะนักการเมืองผู้มีทัศนะทางการเมืองเป็นกลาง (moderate) และมาจากรัฐที่คะแนนเสียงไม่แน่นอน (swing state) แต่แม้จะแทบไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเลยในทางใต้ ลิงคอล์นก็กวาดคะแนนเสียงในทางเหนือและได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐใน ค.ศ. 1860 ชัยชนะการเลือกตั้งของลิงคอล์นกระตุ้นให้เจ็ดรัฐทาสทางใต้ตัดสินใจประกาศแยกตัวออกจากสหภาพ และก่อตั้งสมาพันธรัฐทันทีโดยไม่รอให้มีพิธีเข้ารับตำแหน่งเสียก่อน การถอนตัวของนักการเมืองฝ่ายใต้ ทำให้พรรคของลิงคอล์นกุมที่นั่งในรัฐสภาคองเกรสได้อย่างเด็ดขาด แต่ความพยายามที่จะประนีประนอมต่างจบลงด้วยความล้มเหลว และเหลือเพียงสงครามเป็นทางเลือกสุดท้าย
สงครามกลางเมืองเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 เมื่อกองกำลังของนายพลโบริการ์ด แห่งฝ่ายสมาพันธรัฐเปิดการยิงโจมตีฟอร์ตซัมเทอร์ รัฐฝ่ายเหนือให้การตอบรับการเรียกระดมพลอย่างแข็งขัน ลิงคอล์นดำเนินกลยุทธการเมืองอย่างชาญฉลาด และเขายังเป็นนักปราศัยที่มีทักษะการพูดที่ทรงพลัง สมารถโน้มน้าวจิตใจผู้คนได้[4] สุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์กของเขาใน ค.ศ. 1863 เป็นสุนทรพจน์ที่มีการยกคำพูดไปอ้างอิงมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา[5] และเป็นคำนิยมอันอุโฆษ ต่ออุดมคติแห่งหลักการชาตินิยม สาธารณรัฐนิยม สิทธิเท่าเทียม เสรีภาพ และประชาธิปไตย
ลิงคอล์นให้ความสนใจต่อมิติทางการทหาร และกิจการในยามสงครามอย่างใกล้ชิด เป้าหมายของเขาคือการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว สมัยประธานาธิบดีของลิงคอล์นมีจุดเด่นที่การใช้อำนาจฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี (presidential power) อย่างกว้างขวางและเฉียบขาด เมื่อรัฐทางใต้ประกาศตนเป็นกบฏต่อสหภาพ ลิงคอล์นจึงใช้อำนาจของตนยับยั้งการใช้ เฮบีอัส คอร์ปัส (habeas corpus) หรือ หมายสั่งเรียกไต่สวนเหตุผลในการคุมขัง ในสถานการณ์นั้น ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและกักขังผู้ต้องสงสัยว่าสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนหลายพันคนโดยไม่มีการไต่สวน ในด้านการทูต ลิงคอล์นสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการทหารกับอังกฤษ โดยสามารถจัดการกับกรณีเรือ เทรนต์ (Trent affair) ในช่วงปลาย ค.ศ. 1861 ได้อย่างเฉียบขาด ลิงคอล์นบริหารการสงครามด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนายพลระดับสูง ดังเช่นการเลือก ยูลิสซิส เอส. แกรนท์ เข้ามาเป็นผู้บัญชาการสั่งการกองทัพแทนที่ จอร์จ มี้ด ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปกองทัพ ทำให้ฝ่ายสหภาพสามารถทำสงครามได้หลายภูมิภาคการรบ หรือเขตสงคราม (theater) พร้อม ๆ กัน[6] ลิงคอล์นให้การสนับสนุน นายพลแกรนต์ ทำสงครามที่ทั้งยืดเยื้อ นองเลือดและเบ็ดเสร็จ ฝ่ายสมาพันธรัฐแม้จะได้เปรียบจากการเป็นฝ่ายตั้งรับ ก็อ่อนแรงลงไปเรื่อย ๆ โดยการโจมตีของฝ่ายสหภาพไม่ได้จำกัดอยู่เพียงบนสนามรบ แต่ยังรวมถึงการปิดกั้น และทำลายทางคมนาคนขนส่ง ทั้งทางแม่น้ำและทางรถไฟ รวมไปถึงฐานทางเศรษฐกิจของฝ่ายสมาพันธรัฐ จนในที่สุดแกรนต์สามารถเข้าเดินทัพเข้ายึดริชมอนด์ เมืองหลวงของสมาพันธรัฐได้ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1865
ในส่วนภาระกิจด้านการเลิกทาส ลิงคอล์นไม่เพียงแต่ใช้สงครามเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย แต่ยังดำเนินกิจกรรมทางนโยบายอื่น ๆ เช่น การออกการประกาศเลิกทาสใน ค.ศ. 1863 (หลังได้รับชัยชนะในยุทธการที่แอนตีแทม) การเกลี้ยกล่อมให้รัฐชายแดนประกาศให้สถาบันทาสเป็นสิ่งผิดกฎหมาย การออกกฎหมาย Confiscation Act เพื่อยึดและปลดปล่อยทาสจากผู้ที่ถูกศาลพิพากษาว่าให้การสนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐ[7][8] และช่วยผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่สิบสามจนผ่านสภาคองเกรสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865 ซึ่งห้ามการมีและซื้อขายทาสตลอดไป ในทุก ๆ พื้นที่ที่อยู่ใต้การปกครองของสหรัฐ
ลิงคอล์นเป็นนักการเมืองที่ฉลาดหลักแหลม มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสถานการณ์อำนาจในแต่ละมลรัฐ เขาพยายามเกลี้ยกล่อมระหว่างสมาชิกพรรคเดโมแครตสายสงครามซึ่งต้องการให้มีการประนีประนอมในประเด็นเรื่องสถาบันทาส และสมาชิกริพับลิกันหัวก้าวร้าว ซึ่งต้องการกำจัดกบฏฝ่ายใต้และสถาบันทาสให้สิ้นซากโดยเร็วที่สุด[9][10] ยิ่งไปกว่านั้น เขายังบริหารแคมเปญจ์การลงเลือกตั้งใหม่ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1864 ด้วยตนเอง ช่วงปลายสงคราม ลิงคอล์นถือมุมมองการฟื้นฟูบูรณะ (Reconstruction) แบบผ่อนผัน โดยแสวงการรวมและบูรณะประเทศอย่างรวดเร็ว ผ่านนโยบายการปรองดองที่ไม่มีเงื่อนไขยุ่งยาก ในสภาวะที่ความแตกแยกอย่างขมขื่นยังไม่ลดลงไป อย่างไรก็ดี เพียงห้าวันหลังการยอมจำนนของโรเบิร์ต อี. ลี ผู้บัญชาการกองทัพของฝ่ายสมาพันธรัฐ ลิงคอล์นถูกลอบยิงในโรงละคร โดยนักแสดงผู้ฝักใฝ่สมาพันธรัฐ จอห์น วิลค์ส บูธ (John Wilkes Booth) และเสียชีวิตในวันต่อมา การลอบสังหารลิงคอล์นเป็นการลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐเป็นครั้งแรก และเป็นเหตุการณ์ทำให้ทั้งประเทศตกอยู่ในความโศกเศร้า นักวิชาการและสาธารณชนชาวอเมริกันจัดให้ลิงคอล์นเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีสหรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมาจวบจนปัจจุบัน[11][12]
ประวัติ
ชิวิตตอนต้น
เอบราแฮม ลิงคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 เป็นบุตรของ โทมัส ลิงคอล์นและแนนซี่ แฮงค์ ทั้งสองไม่ได้เรียนหนังสือและประกอบอาชีพชาวนาในตะวันตกของเมือง ฮาร์ดิน รัฐแมสซาชูเซตส์ บรรพบุรุษของลิงคอล์นมาตั้งรกรากที่เมืองนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ส่วนทายาทของเขาได้ย้ายถิ่นฐานจาก รัฐเพนซิลเวเนีย ไปยัง รัฐเวอร์จิเนีย ต่อจากนั้นก็ไปยังเมืองชนบทที่ไม่ได้รับการพัฒนา[13]
บางครั้งโธมัส ลิงคอล์น พ่อของอิบราฮัม ลิงคอล์น ถูกคาดหวังและนำไปเปรียบเทียบกับพลเมืองที่มั่งคั่ง ในเขตพื้นที่เพาะปลูกใน รัฐเคนทักกี เขาทำให้น้ำท่วมฟาร์มในช่วงฤดูใบไม้ผลื เดือนธันวาคม ค.ศ. 1808 เพื่อนำเงินสด $200 นำไปใช้หนี้[14] ครอบครัวของลิงคอล์นชอบไปทำพิธีการทางศาสนาที่โบสถ์ ฮาร์ดเชลล์ แบบติสท์ แต่ตัวของ อับราฮิม ลิงคอล์น ไม่เคยไปร่วมกับทางครอบครัวเลย
ใน ค.ศ. 1816 ครอบครัวของลิงคอล์นถูกบังคับให้มาเริ่มต้นทำนาใหม่ที่เพอร์รี่ รัฐอินดีแอนา[15] จากนั้นเขาได้บันทึกไว้ว่า การย้ายถิ่นฐานในครั้งนี้เปรียบเสมือนการตกเป็นทาส
เมื่อลิงคอล์นอายุ 9 ขวบ แม่ของเขาเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำนมจากแม่โคที่กินอาหารสัตว์ ที่เป็นพิษ เมื่ออายุ 34 หลังจากนั้นไม่นาน พ่อของเขาได้แต่งงานใหม่กับ ซาห์ร่า บุช จอห์นสัน และเอบราแฮม ลิงคอล์นเองก็ได้รับความอบอุ่นจากแม่เลี้ยงคนใหม่นี้มาก ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อของเขายังคงห่างเหิน[16]
ค.ศ. 1830 หลังจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาที่ดินในรัฐอินเดียนา บานปลายออกไปมากขึ้น ครอบครัวลิงคอล์นจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่สาธารณะ[17] เมคอน รัฐอิลลินอย หลังจากที่พายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำจนบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ครอบครัวของเขาจึงตัดสินใจกลับไปอินเดียนา ถัดมา พ่อของลิงคอล์นย้ายครอบครัวไปยังบ้านและที่ดินใหม่ที่เมืองโคลส์ รัฐอิลลินอย
ลิงคอล์นใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนเพียง 18 เดือนขาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเขาชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ลิงคอล์นยังมีทักษะเกี่ยวกับการใช้ขวานอีกด้วย[18]
ชีวิตครอบครัว
ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1842 เอบราแฮม ลิงคอล์น แต่งงานกับ แมร์รี่ ทอดด์ ลิงคอล์น ซึ่งเป็นลูกสาวของเจ้าของทาสที่มีชื่อเสียงจากเคนทักกี ทั้งคู่มีบุตรด้วยกับ 4 คน โรเบิร์ต ทอดด์ เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1843 ซึ่งเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวที่อยู่รอดมาจนถึงวัยบรรลุนิติภาวะ ส่วนบุตรคนอื่น ๆ เสียชีวิตเมื่อวัยเด็ก เอ็ดวาร์ด แบ็งเกอร์ ลิงคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1846 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850 วิลเลียม วอลเลส ลิงคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ที่สปริงฟิลด์ ค.ศ. 1850 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1862 ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. โทมัส แทด ลิงคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1853 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1871 ในชิคาโก
ชีวิตการทำงานและบทบาททางการเมือง
1832 ขณะอายุได้ 23 ลิงคอล์นเข้าหุ้นส่วนซื้อร้านเล็ก ๆ ด้วยสินเชื่อ ในนิวซาเล็ม รัฐอิลินอยส์ ขณะนั้นสภาพเศรษฐกิจกำลังขยายตัวเร็ว แต่ธุรกิจของลิงคอล์นกลับต้องดิ้นรน และสุดท้ายเขาก็ตัดสินใจขายหุ้นส่วนที่ตนถือ ในเดือนมีนาคมนั้นเอง ลิงคอล์นก็เริ่มอาชีพทางการเมือง
การเมืองพรรคริพับลิกันระหว่าง 1854-1860
การเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1860
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) มีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน และเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ผลักดันประเทศอเมริกาเข้าสู่สงครามกลางเมือง ประธานาธิบดี เจมส์ บิวแคนัน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น เป็นชาวอเมริกันทางตอนเหนือที่มีความคิดเห็นเข้าข้างฝ่ายใต้ ประธานาธิบดีบิวแคนันมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการทำให้เนื้อคำพิพากษาคดี เดร็ด สก๊อต ออกมากว้างในลักษณะเป็นคุณกับนายทาสเช่นนั้น โดยบิวแคนันเป็นคนเขียนจดหมายชักจูงให้ตุลาการสมทบแห่งศาลสูงสุดสหรัฐ โรเบิร์ต เกรีย (Robert Grier) โหวตร่วมกับฝ่ายเสียงข้างมากในคณะศาลให้ สก็อตต์ ทาสผิวดำแพ้คดี[19] เพื่อให้ศาลสามารถออกคำพิพากษาปฏิเสธอำนาจของรัฐบาลกลางได้อย่างเด็ดขาด ในประเด็นที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาส การเข้ากดดันตุลาการในคดี เดร็ด สก็อตต์ ของ ปธน. บิวแคนันกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว และก่อเกิดผลสะท้อนกลับเชิงลบทางการเมืองต่อพรรคเดโมแครตเป็นอย่างยิ่ง ความไม่พอใจในคำพิพากษา เดร็ด สก็อตต์ ของชาวอเมริกันในรัฐทางเหนือ ช่วยให้พรรคริพับลิกันได้รับชัยชนะได้ที่นั่งสภาผู้แทนเพิ่มในการเลือกตั้งกลางเทอม 1858[20] และเข้าควบคุมได้ทั้งสภาคองเกรสในการเลือกตั้งใหญ่ 1860
ความแตกแยกในพรรคเดโมแครต
ชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 1860 ของพรรคริพับลิกันซึ่งนำโดยเอบราแฮม ลิงคอล์น เป็นผลมาจากความระส่ำระสายภายในของพรรคเดโมแครตเอง โดยช่วงปลายเดือนเมษายน 1860 พรรคเดโมแครตมารวมตัวประชุมที่ เมืองชาลส์ตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา เพื่อคัดเลือกตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี ในขณะนั้น ชาลส์ตัน เป็นเมืองที่แตกแยกทางความคิดมาก มีนักปราศัยเรียกร้องการแยกตัวจากสหภาพ (ซึ่งเรียกว่า พวกกินไฟ หรือ fire-eaters) เดินอยู่เต็มถนน และเปิดฉากล้อเลียน สว. สตีเฟน เอ. ดักลัส กับผู้สนับสนุนชาวเหนือของดักลัสอยู่เนือง ๆ [21] แม้ในระหว่างสมาชิกพรรคเดโมแครตเอง ก็แตกกันออกเป็นฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ โดยตัวแทนพรรคฝ่ายใต้ สนับสนุนนโยบายขยายสถาบันทาส โดยการใช้กฎหมายทาส (slave codes) ในทุกพื้นที่ของสหรัฐ ในขณะที่สมาชิกพรรคจากทางเหนือคิดว่านั่นเป็นเรื่องเสียสติ เพราะมีแต่จะทำให้เสียเสียงสนับสนุนในรัฐทางเหนือ
เมื่อการประชุมดำเนินต่อไป เสียงส่วนใหญ่ยังคงยืนกรานสนับสนุน หลักการอำนาจอธิปไตยปวงชนของดักลัส ที่ต้องการให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ของสหรัฐ ออกเสียงกำหนดกันเอาเองในเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาส การตัดสินใจนี้ทำให้ตัวแทนจากรัฐทางตอนใต้ซึ่งเป็นพวกสนับสนุนสถาบันทาส และคำพิพากษา เดร็ด สก็อตต์ พากัน "วอล์กเอ้าท์" จากการประชุมแห่งชาติของพรรคเดโมแครต (DNC)[21] หลังจากล้มเหลวในการโหวตเพื่อลงมติถึง 57 ครั้ง การประชุม DNC ก็ถูกเลื่อนไปเป็นเดือนมิถุนายน 1860 ที่บัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ แต่พวกฝ่ายใต้หัวแข็งกร้าวก็ขัดขวางการลงมติอีก และจบลงที่การเดินออกจากที่ประชุมอีกครั้ง ฝ่ายเดโมแครตที่เหลือจึงเสนอชื่อ สตีเฟน ดักลัส ให้เป็นตัวแทนลงสมัครลงชิงตำแหน่ง ส่วนสมาชิกพรรคฝ่ายใต้เป็นพวกสนับสนุนคำพิพากษาคดีเดร็ด สก็อตต์ กลับมาหารือกันใหม่ที่ริชมอนด์ เวอร์จิเนีย แล้วเลือก นายจอห์น ซี. เบรกคินริดจ์ (John C. Breckinridge) ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี มาเป็นผู้แทนลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคเดโมแครตฝ่ายใต้[21]
การหาเสียง
กลางเดือนพฤษภาคม นักการเมืองพรรครีพับลิกันมารวมตัวกันที่ชิคาโก ในตึกการประชุม "The Wigwam" ที่เพิ่งสร้างใหม่ ในขณะนั้นพรรครีพับลิกันมั่นใจแล้วว่าการเลือกตั้งคราวนี้ฝ่ายตนน่าจะชนะ[22] ทางพรรคประชุมและมีมติร่วมกันว่าจะไม่คุกคามสถาบันทาสในภาคใต้ แต่ก็ไม่อยากให้สถาบันทาสขยายตัวต่อไปในดินแดนที่กำลังได้รับการบุกเบิกทางทิศตะวันตก ผู้เสนอชื่อเข้าแข่งขันต่างสนับสนุนนโยบายการขยายตัวของประเทศ โดยสัญญาว่าจะผ่าน Holmstead Act เพื่อสร้างกระท่อมที่อยู่อาศัยให้ฟรี สำหรับผู้ที่จะบุกเบิกไปตั้งถิ่นฐานในทิศตะวันตก และจะให้มีการระดมทุนเพื่อสร้างทางรถไฟข้ามทวีปอเมริกาเหนือด้วย[21]
พรรครีพับลิกันตกลงเลือกลิงคอล์นเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค เพราะเห็นว่าท่านเป็นนักการเมืองสายกลางที่ไม่แข็งกร้าวไปทางใดทางหนึ่ง[23] และน่าจะได้เปรียบในพื้นที่เพนซิลเวเนีย กับรัฐทางมิดเวสต์ ตัวลิงคอล์นเองก็ไม่ใช่นักเลิกทาส (abolitionist) แต่เขาสามารถสะท้อนความรู้สึกที่กำลังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ในหมู่ชาวรัฐตอนเหนือว่า สถาบันทาสเป็นภัยคุกคามต่อสหภาพและอนาคตของประเทศ[21]
ในส่วนพรรครัฐธรรมนูญสหภาพ (Constitutional Union Party) นั้นประกอบไปด้วย นักการเมืองสายอนุรักษ์นิยมจากพรรควิกส์ (whigs) เดิม และพวกที่มาจากรัฐ"ชายแดน" (คือ รัฐที่ประกอบเป็นรัฐกันชนตามแนวชายแดนระหว่างฝ่ายหนือและฝ่ายใต้) ที่ต่อต้านการสลายตัวของสหภาพแต่ก็เห็นอกเห็นใจรัฐทาสทางใต้ และเนื่องจากพวกนี้ไม่นิยมพูดถึงประเด็นเรื่องทาส จึงได้รับความนิยมจากผู้อาศัยในรัฐทางใต้บางรัฐ ได้แก่เทนเนสซี, เวอร์จิเนีย, และเคนทักกี นายจอห์น เบลล์ ตัวแทนลงสมัครฯของพรรคจากรัฐเทนเนสซี สัญญาที่จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิของทุกฝ่ายตามรัฐธรรมนูญ (รวมถึงสิทธิของรัฐที่จะปกครองตนเอง และสิทธิในการถือครองทาสเป็นทรัพย์สิน) และความคงอยู่ของสหภาพ แต่ประชาชนทางเหนือส่วนใหญ่ มองพรรคนี้ว่าเป็นพวก "คนแก่" ที่ไม่ทันกับการเมืองของยุคสมัย[21]
พรรคเดโมแครตมี สว.สตีเฟน เอ. ดักลัส (ผู้ร่างกฎหมาย แคนซัส-เนบรากา) เป็นตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามเดโมแครตฝ่ายเหนือ ดักลัสสนับสนุนแนวคิดว่าด้วยการกำหนดความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาสโดยทางอธิปไตยปวงชน[24] (กล่าวคือประสงค์จะให้สภาคองเกรสทำตัวเป็นกลาง ไม่เข้าแทรกแทรงไม่ว่าจะเพื่อจำกัด หรือสนับสนุนการขยายตัวของสถาบันทาสไปในพื้นที่ใหม่ ๆ ของสหรัฐ) ดักลาสเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อเตือนถึงภัยของการสูญเสียสหภาพ แต่ก็ได้รับความนิยมทางตอนเหนือสู้ลิงคอล์นไม่ได้ ส่วน เบรกคิริดจ์ ตัวแทนผู้ลงสมัครของเดโมแครตฝ่ายใต้ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็น "คนทรยศ" และ เป็นพวก "บ่อนทำลายสหภาพ"[21] จึงมีคะแนนนิยมจำกัดอยู่แต่ในภาคใต้
โดยภาพรวมการเลือกตั้ง 1860 เป็นการแข่งขันที่แยกเป็นสองภาคส่วน ฝ่ายลิงคอล์นนั้น แทบไม่ได้รับความนิยมในทางใต้เลย โดยไม่ชนะในรัฐทางใต้แม้แต่รัฐเดียว นอกจากนี้รัฐจำนวน 10 จาก 15 รัฐทางใต้ไม่ยอมใส่ชื่อลิงคอล์นลงไปในบัตรเลือกตั้งด้วยซ้ำ[25] การหาเสียงของลิงคอล์นจึงเป็นการแสวงหาชัยชนะเด็ดขาดทางเหนือ ซึ่งมีดักลาสเป็นคู่แข่ง ในขณะที่ เบรกคินริดจ์ กับ เบลล์ ก็ไปแบ่งคะแนนเสียงกันทางใต้ ลิงคอล์นจึงกวาดคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง (electoral vote) ไปแบบท่วมท้น และเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง 1860 แม้ว่าจะได้รับคะแนนนิยมทั่วประเทศเพียงแค่ 40%[26] กลายเป็นผู้สมัครพรรคริพับลิกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี
หมายเหตุ
อ้างอิง
- ↑ Carpenter, Francis B. (1866). Six Months in the White House: The Story of a Picture. Hurd and Houghton. p. 217.
- ↑ William A. Pencak (2009). Encyclopedia of the Veteran in America. ABC-CLIO. p. 222. ISBN 978-0-313-08759-2. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
- ↑ Paul Finkelman; Stephen E. Gottlieb (2009). Toward a Usable Past: Liberty Under State Constitutions. U of Georgia Press. p. 388. ISBN 978-0-8203-3496-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2015. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
- ↑ Randall (1947), pp. 65–87.
- ↑ Bulla (2010), p. 222.
- ↑ Nevins, Ordeal of the Union (Vol. IV), pp. 6–17.
- ↑ Donald (1996), p. 314
- ↑ Carwardine (2003), p. 178.
- ↑ Tagg, p. xiii.
- ↑ Donald (1996), pp. 315, 331–333, 338–339, 417.
- ↑ "Ranking Our Presidents" เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. James Lindgren. November 16, 2000. International World History Project.
- ↑ "Americans Say Reagan Is the Greatest President". Gallup Inc. February 28, 2011.
- ↑ "leavitt+lincoln"&source=web&ots=13iVWZoQKM&sig=h81o17hAbYDnrOUx1FYVMmd6anQ&hl=en#PPA459, M1 History of the Town of Hingham, Massachusetts, Vol. II, Thomas Tracy Bouve, Published by the Town, 1893
- ↑ The farm site is now preserved as part of Abraham Lincoln Birthplace National Historic Site.
- ↑ It is now in Spencer County, Indiana.
- ↑ Donald, (1995) pp. 28, 152.
- ↑ Lincoln Trail Homestead State Park
- ↑ Abraham Lincoln, The Physical Man
- ↑ Faragher, John Mack; และคณะ (2005). Out of Many: A History of the American People (Revised Printing (4th Ed) ed.). Englewood Cliffs, N.J: Prentice Hall. p. 388. ISBN 0-13-195130-0.
- ↑ "Party Divisions of the House of Representatives". United States House of Representatives. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2017.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 Dunn & Regan 2015, p. 36.
- ↑ Burlingame, Michael (Sep 21, 2017). "ABRAHAM LINCOLN: CAMPAIGNS AND ELECTIONS". Miller Center (UVA).
- ↑ Catton 1960, p. 18.
- ↑ Catton 1960, pp. 13, 16.
- ↑ SCHULTEN, Susan (Nov. 10, 2010). "How (and Where) Lincoln Won". The New York TImes.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ibid.
บรรณานุกรม
- Adams, Charles F. (April 1912). "The Trent Affair". The American Historical Review. The University of Chicago Press. 17 (3): 540–562. doi:10.2307/1834388. JSTOR 1834388.
- Ambrose, Stephen E. (1962). Halleck: Lincoln's Chief of Staff. Louisiana State University Press. OCLC 1178496.
- Baker, Jean H. (1989). Mary Todd Lincoln: A Biography. W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-30586-9.
- Bartelt, William E. (2008). There I Grew Up: Remembering Abraham Lincoln's Indiana Youth. Indianapolis: Indiana Historical Society Press. p. 79. ISBN 978-0-87195-263-9.
- Basler, Roy Prentice, บ.ก. (1946). Abraham Lincoln: His Speeches and Writings. World Publishing. OCLC 518824.
- Basler, Roy P., บ.ก. (1953). The Collected Works of Abraham Lincoln. Vol. 5. Rutgers University Press.
- Belz, Herman (1998). Abraham Lincoln, Constitutionalism, and Equal Rights in the Civil War Era. Fordham University Press. ISBN 978-0-8232-1769-4.
- Belz, Herman (2006). "Lincoln, Abraham". ใน Frohnen, Bruce; Beer, Jeremy; Nelson, Jeffrey O (บ.ก.). American Conservatism: An Encyclopedia. ISI Books. ISBN 978-1-932236-43-9.
- Bennett Jr, Lerone (February 1968). "Was Abe Lincoln a White Supremacist?". Ebony. Vol. 23 no. 4. Johnson Publishing. ISSN 0012-9011.
- Blue, Frederick J. (1987). Salmon P. Chase: a life in politics. The Kent State University Press. ISBN 0-87338-340-0.
- Boritt, Gabor (1994) [1978]. Lincoln and the Economics of the American Dream. University of Illinois Press. ISBN 0-252-06445-3.
- Bulla, David W.; Gregory A. Borchard (2010). Journalism in the Civil War Era. Peter Lang Publishing Inc. ISBN 1-4331-0722-8.
- Burlingame, Michael (2008). Abraham Lincoln: A Life. Vol. I. Baltimore, MD: Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-8993-6.
- Burlingame, Michael (Sep 21, 2017). "ABRAHAM LINCOLN: CAMPAIGNS AND ELECTIONS". Miller Center (UVA).
- Carwardine, Richard J. (Winter 1997). "Lincoln, Evangelical Religion, and American Political Culture in the Era of the Civil War". Journal of the Abraham Lincoln Association. Abraham Lincoln Association. 18 (1): 27–55.
- Carwardine, Richard (2003). Lincoln. Pearson Education Ltd. ISBN 978-0-582-03279-8.
- Cashin, Joan E. (2002). The War Was You and Me: Civilians in The American Civil War. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-09173-0.
- Chesebrough, David B. (1994). No Sorrow Like Our Sorrow. Kent State University Press. ISBN 978-0-87338-491-9.
- Cox, Hank H. (2005). Lincoln And The Sioux Uprising of 1862. Cumberland House Publisher. ISBN 978-1-58182-457-5.
- Cummings, William W.; James B. Hatcher (1982). Scott Specialized Catalogue of United States Stamps. Scott Publishing Company. ISBN 0-89487-042-4.
- Dennis, Matthew (2002). Red, White, and Blue Letter Days: an American Calendar. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-7268-8.
- Diggins, John P. (1986). The Lost Soul of American Politics: Virtue, Self-Interest, and the Foundations of Liberalism. University of Chicago Press. ISBN 0-226-14877-7.
- Dirck, Brian R. (2007). Lincoln Emancipated: The President and the Politics of Race. Northern Illinois University Press. ISBN 978-0-87580-359-3.
- Dirck, Brian (2008). Lincoln the Lawyer. University of Illinois Press. ISBN 978-0-252-07614-5.
- Donald, David Herbert (1948). Lincoln's Herndon. A. A. Knopf. OCLC 186314258.
- Donald, David Herbert (1996) [1995]. Lincoln. Simon and Schuster. ISBN 978-0-684-82535-9. online
- Donald, David Herbert (2001). Lincoln Reconsidered. Knopf Doubleday Publishing Group. ISBN 978-0-375-72532-6. online
- Douglass, Frederick (2008). The Life and Times of Frederick Douglass. Cosimo Classics. ISBN 1-60520-399-8.
- Dunne, Jemima; Regan, Regan, eds. (2015). The Civil War: A Visual History. Penguin Random House.
{{cite book}}
:|first2=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Edgar, Walter B. (1998). South Carolina: A History. University of South Carolina Press. ISBN 978-1-57003-255-4.
- Fish, Carl Russell (October 1902). "Lincoln and the Patronage". American Historical Review. American Historical Association. 8 (1): 53–69. doi:10.2307/1832574. JSTOR 1832574.
- Foner, Eric (1995) [1970]. Free Soil, Free Labor, Free Men: The Ideology of the Republican Party before the Civil War. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-509497-8.
- Foner, Eric (2010). The Fiery Trial: Abraham Lincoln and American Slavery. W.W. Norton. ISBN 978-0-393-06618-0.
- Goodwin, Doris Kearns (2005). Team of Rivals: The Political Genius of Abraham Lincoln. Simon & Schuster. ISBN 0-684-82490-6.
- Goodrich, Thomas (2005). The Darkest Dawn: Lincoln, Booth, and the Great American Tragedy. Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34567-7.
- Graebner, Norman (1959). "Abraham Lincoln: Conservative Statesman". The Enduring Lincoln: Lincoln Sesquicentennial Lectures at the University of Illinois. University of Illinois Press. OCLC 428674.
- Grimsley, Mark (2001). The Collapse of the Confederacy. University of Nebraska Press. ISBN 0-8032-2170-3.
- Guelzo, Allen C. (1999). Abraham Lincoln: Redeemer President. W.B. Eerdmans Publishing. ISBN 0-8028-3872-3.
- Guelzo, Allen C. (2004). Lincoln's Emancipation Proclamation: The End of Slavery in America. Simon & Schuster. ISBN 978-0-7432-2182-5.
- Handy, James S. (1917). Book Review: Abraham Lincoln, the Lawyer-Statesman. Northwestern University Law Publication Association.
- Harrison, J. Houston (1935). Settlers by the Long Grey Trail. J.K. Reubush. OCLC 3512772.
- Harrison, Lowell Hayes (2000). Lincoln of Kentucky. University Press of Kentucky. ISBN 0-8131-2156-6.
- Harris, William C. (2007). Lincoln's Rise to the Presidency. University Press of Kansas. ISBN 978-0-7006-1520-9.
- Havers, Grant N. (2009). Lincoln and the Politics of Christian Love. University of Missouri Press. ISBN 0-8262-1857-1.
- Heidler, David S.; Heidler, Jeanne T., บ.ก. (2000). Encyclopedia of the American Civil War: A Political, Social, and Military History. W. W. Norton & Company, Inc. ISBN 978-0-393-04758-5.
- Heidler, David Stephen (2006). The Mexican War. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-313-32792-6.
- Hofstadter, Richard (October 1938). "The Tariff Issue on the Eve of the Civil War". American Historical Review. American Historical Association. 44 (1): 50–55. doi:10.2307/1840850. JSTOR 1840850.
- Holzer, Harold (2004). Lincoln at Cooper Union: The Speech That Made Abraham Lincoln President. Simon & Schuster. ISBN 978-0-7432-9964-0.
- Jaffa, Harry V. (2000). A New Birth of Freedom: Abraham Lincoln and the Coming of the Civil War. Rowman & Littlefield. ISBN 0-8476-9952-8.
- Kelley, Robin D. G.; Lewis, Earl (2005). To Make Our World Anew: Volume I: A History of African Americans to 1880. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-804006-4.
- Lamb, Brian; Swain, Susan, บ.ก. (2008). Abraham Lincoln: Great American Historians on Our Sixteenth President. PublicAffairs. ISBN 978-1-58648-676-1.
- Lupton, John A. (September–October 2006). "Abraham Lincoln and the Corwin Amendment". Illinois Heritage. The Illinois State Historical Society. 9 (5): 34.
- Luthin, Reinhard H. (July 1994). "Abraham Lincoln and the Tariff". American Historical Review. 49 (4): 609–629. doi:10.2307/1850218. JSTOR 1850218.
- McClintock, Russell (2008). Lincoln and the Decision for War: The Northern Response to Secession. The University of North Carolina Press.. Online preview.
- Madison, James H. (2014). Hoosiers: A New History of Indiana. Bloomington and Indianapolis: Indiana University Press and Indiana Historical Society Press. p. 110. ISBN 978-0-253-01308-8.
- Mansch, Larry D. (2005). Abraham Lincoln, President-Elect: The Four Critical Months from Election to Inauguration. McFarland. ISBN 0-7864-2026-X.
- McGovern, George S. (2008). Abraham Lincoln. Macmillan. ISBN 978-0-8050-8345-3.
- McKirdy, Charles Robert (2011). Lincoln Apostate: The Matson Slave Case. Univ. Press of Mississippi. ISBN 978-1-60473-987-9.
- McPherson, James M. (1992). Abraham Lincoln and the Second American Revolution. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-507606-6.
- McPherson, James M. (1993). Battle Cry of Freedom: The Civil War Era. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-516895-2.
- McPherson, James M. (2009). Abraham Lincoln. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-537452-0.
- Miller, William Lee (2002). Lincoln's Virtues: An Ethical Biography (Vintage Books ed.). New York: Random House/Vintage Books. ISBN 0-375-40158-X.
- Neely, Mark E. (1992). The Fate of Liberty: Abraham Lincoln and Civil Liberties. Oxford University Press. pp. 3–31.
- Neely Jr., Mark E. (December 2004). "Was the Civil War a Total War?". Civil War History. 50 (4): 434–458. doi:10.1353/cwh.2004.0073.
- Nevins, Allan (1947–71). Ordeal of the Union; 8 vol. Scribner's. ISBN 978-0-684-10416-4.
- Nevins, Allan (1950). The Emergence of Lincoln: Prologue to Civil War, 1857–1861 2 vol. Scribner's. ISBN 978-0-684-10416-4., also published as vol 3–4 of Ordeal of the Union
- Nevins, Allan (1960–1971). The War for the Union; 4 vol 1861–1865. Scribner's. ISBN 978-1-56852-297-5.; also published as vol 5–8 of Ordeal of the Union
- Nichols, David A. (2010). Richard W. Etulain (บ.ก.). Lincoln Looks West: From the Mississippi to the Pacific. Southern Illinois University. ISBN 0-8093-2961-1.
- Noll, Mark (2000). America's God: From Jonathan Edwards to Abraham Lincoln. Oxford University Press. ISBN 0-19-515111-9.
- Oates, Stephen B. (1993). With Malice Toward None: a Life of Abraham Lincoln. HarperCollins. ISBN 978-0-06-092471-3.
- Paludan, Phillip Shaw (1994). The Presidency of Abraham Lincoln. University Press of Kansas. ISBN 978-0-7006-0671-9.
- Parrillo, Nicholas (September 2000). "Lincoln's Calvinist Transformation: Emancipation and War". Civil War History. Kent State University Press. 46 (3): 227–253. doi:10.1353/cwh.2000.0073.
- Peterson, Merrill D. (1995). Lincoln in American Memory. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-509645-3.
- Potter, David M.; Don Edward Fehrenbacher (1976). The impending crisis, 1848–1861. HarperCollins. ISBN 978-0-06-131929-7.
- Prokopowicz, Gerald J. (2008). Did Lincoln Own Slaves?. Vintage Books. ISBN 978-0-307-27929-3.
- Randall, James G. (1947). Lincoln, the Liberal Statesman. Dodd, Mead. OCLC 748479.
- Randall, J.G.; Current, Richard Nelson (1955). Last Full Measure. Lincoln the President. Vol. IV. Dodd, Mead. OCLC 5852442.
- Sandburg, Carl (1926). Abraham Lincoln: The Prairie Years. Harcourt, Brace & Company. OCLC 6579822.
- Sandburg, Carl (2002). Abraham Lincoln: The Prairie Years and the War Years. Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 0-15-602752-6.
- Schwartz, Barry (2000). Abraham Lincoln and the Forge of National Memory. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-74197-0.
- Schwartz, Barry (2009). Abraham Lincoln in the Post-Heroic Era: History and Memory in Late Twentieth-Century America. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-74188-8.
- Scott, Kenneth (September 1948). "Press Opposition to Lincoln in New Hampshire". The New England Quarterly. The New England Quarterly, Inc. 21 (3): 326–341. doi:10.2307/361094. JSTOR 361094.
- Sherman, William T. (1990). Memoirs of General W.T. Sherman. BiblioBazaar. ISBN 1-174-63172-4.
- Simon, Paul (1990). Lincoln's Preparation for Greatness: The Illinois Legislative Years. University of Illinois. ISBN 0-252-00203-2.
- Smith, Robert C. (2010). Conservatism and Racism, and Why in America They Are the Same. State University of New York Press. ISBN 978-1-4384-3233-5.
- Steers, Edward (2010). The Lincoln Assassination Encyclopedia. Harper Collins. ISBN 0-06-178775-2.
- Striner, Richard (2006). Father Abraham: Lincoln's Relentless Struggle to End Slavery. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518306-1.
- Tagg, Larry (2009). The Unpopular Mr. Lincoln:The Story of America's Most Reviled President. Savas Beatie. ISBN 978-1-932714-61-6.
- Taranto, James; Leonard Leo (2004). Presidential Leadership: Rating the Best and the Worst in the White House. Simon and Schuster. ISBN 978-0-7432-5433-5.
- Tegeder, Vincent G. (June 1948). "Lincoln and the Territorial Patronage: The Ascendancy of the Radicals in the West". Mississippi Valley Historical Review. Organization of American Historians. 35 (1): 77–90. doi:10.2307/1895140. JSTOR 1895140.
- Thomas, Benjamin P. (2008). Abraham Lincoln: A Biography. Southern Illinois University. ISBN 978-0-8093-2887-1. online
- Trostel, Scott D. (2002). The Lincoln Funeral Train: The Final Journey and National Funeral for Abraham Lincoln. Cam-Tech Publishing. ISBN 978-0-925436-21-4.
- Vorenberg, Michael (2001). Final Freedom: the Civil War, the Abolition of Slavery, and the Thirteenth Amendment. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-65267-4.
- Warren, Louis A. (1991). Lincoln's Youth: Indiana Years, Seven to Twenty-One, 1816–1830. Indianapolis: Indiana Historical Society. ISBN 0-87195-063-4.
- White Jr., Ronald C. (2009). A. Lincoln: A Biography. Random House, Inc. ISBN 978-1-4000-6499-1.
- Wills, Garry (1993). Lincoln at Gettysburg: The Words That Remade America. Simon & Schuster. ISBN 0-671-86742-3.
- Wilson, Douglas L. (1999). Honor's Voice: The Transformation of Abraham Lincoln. Knopf Publishing Group. ISBN 978-0-375-70396-6.
- Winkle, Kenneth J. (2001). The Young Eagle: The Rise of Abraham Lincoln. Taylor Trade Publications. ISBN 978-0-87833-255-7.
- Zarefsky, David S. (1993). Lincoln, Douglas, and Slavery: In the Crucible of Public Debate. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-97876-5.
ดูเพิ่ม
ก่อนหน้า | เอบราแฮม ลิงคอล์น | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจมส์ บิวแคนัน | ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 16 (4 มีนาคม พ.ศ. 2404 - 15 เมษายน พ.ศ. 2408) |
แอนดรูว์ จอห์นสัน |