อะเลคซันดร์ รุตสคอย

อะเลคซันดร์ วลาดิมิโรวิช รุตสคอย (รัสเซีย: Алекса́ндр Влади́мирович Руцко́й) (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2490) เป็นนักการเมืองรัสเซียและอดีตนายทหารโซเวียต[1] รุตสคอยเป็นบุคคลเดียวที่ได้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งตำแหน่งนี้ถูกยกเลิกหลังวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536[2] ตั้งแต่10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ถึง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 และเป็นผู้ว่าการของแคว้นปกครองตนเองเคิร์สต์ จากปีพ.ศ. 2539 ถึงปี พ.ศ. 2543 ในช่วงระหว่างวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ รักษาการประธานาธิบดีรัสเซีย[3][4] ในการต่อสู้กับบอริส เยลต์ซิน

อะเลคซันดร์ รุตสคอย
Александр Руцкой
อะเลคซันดร์ รุตสคอย ในปีพ.ศ. 2536
รักษาการประธานาธิบดีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2536 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ บอริส เยลต์ซิน (โดยพฤตินัย)
ก่อนหน้าบอริส เยลต์ซิน
ถัดไปบอริส เยลต์ซิน
รองประธานาธิบดีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536
ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน
ก่อนหน้าตั้งตำแหน่งใหม่
ถัดไปตำแหน่งถูกยกเลิก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กันยายน พ.ศ. 2490 (76 ปี)
พรอสกูริฟ, โซเวียตยูเครน
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
สัญชาติ
    • โซเวียต (2490–2534)
    • รัสเซีย (2534–ปัจจุบัน)
  • ศาสนาออร์โธดอกซ์รัสเซีย
    พรรคการเมืองอะจัสรัสเซีย
    คู่สมรสเนลี โซโลทุคิน (หย่า)
    ลุดมิดลา โนวิโควา (หย่า)
    อิรินา โพโพวา
    บุตรดมิตรี
    อะเลคซันดร์
    โรสทิสลาฟ
    แคทเธอรีน
    รางวัลวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต (2531)
    ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
    สังกัดกองทัพอากาศโซเวียต
    ประจำการ2514–2536
    ยศนาวาอากาศเอก
    ผ่านศึกสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน
    บอริส เยลต์ซิน ไล่ รุตสคอย ออกจากกองทัพหลังจากชัยชนะของเขาในรัฐประหาร พ.ศ. 2536

    ชีวิตในวัยเด็กและอาชีพ แก้

    อะเลคซันดร์ รุตสคอย เกิดที่ พรอสกูริฟ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน สหภาพโซเวียต (ปัจจุบันคือ คเมลนีทสกี ยูเครน) รุตสคอยจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมกองทัพอากาศในบาร์นาอูล (2514) และวิทยาลัยกองทัพอากาศกาการินในมอสโก (2523) เขามียศนาวาอากาศเอกเมื่อเขาถูกส่งไปยังสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน เขาได้รับคำสั่งให้เป็นทหารโจมตีทางอากาศ เขาถูกยิงสองครั้งในช่วงสงคราม แต่ก็รอดมาได้อย่างปลอดภัยทั้งสองครั้ง เขาถูกขังเป็นเชลยศึกอยู่ในเวลาสั้น ๆ ในปากีสถาน หลังจากที่เครื่องบินของเขาเข้ามาในน่านฟ้าของปากีสถานและถูกยิงหลายนัด สถานการณ์บังคับให้เขาดีดตัวออกจากเครื่องและถูกจับบนพื้นดินโดยชาวบ้าน[5] สำหรับความกล้าหาญของเขาในปีพ.ศ. 2531 เขาได้รับเครื่องอิสริยากรณ์วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต[6] เขาได้รับเลือกโดย บอริส เยลต์ซิน ที่จะเป็นรองประธานาธิบดีในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซีย พ.ศ. 2534

    รุตสคอย เป็นรองประธานาธิบดีของรัสเซีย10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ในฐานะรองประธานเขาเรียกร้องให้ปลดปล่อยทรานส์นิสเตรียและแหลมไครเมียให้เป็นอิสระจากมอลโดวาและยูเครนตามลำดับ[7] และโทรศัพท์คุยกับผู้นำของจอร์เจีย เอดูอาร์ด เชวาร์ดนัดเซ ขู่ว่าจะระเบิดทบิลิซีในช่วงสงครามในเซาท์ออสซีเชีย[8]

    วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536 แก้

    รุตสคอยทำงานโดยให้ความร่วมมือกับเยลต์ซินเป็นอย่างดี จนกระทั่งหลังจากสิ้นปีพ.ศ. 2535 รุตสคอยเริ่มประกาศความขัดแย้งกับประธานาธิบดีอย่างเปิดเผย ในแง่ของเศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศและกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียมีการทุจริต ขัดแย้งกับเยลต์ซินอย่างชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตมีนาคม พ.ศ. 2536 เมื่อสภาประชาชนแห่งรัสเซียพยายามการขับเยลต์ซินจากตำแหน่งประธานาธิบดีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในช่วงหลายเดือนต่อมา รุตสคอยเองก็ถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลของเยลต์ซิน วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2536 ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินปลดรุตสคอยออกจากตำแหน่งรองประธานาธิบดีเนื่องจากการถูกกล่าวหาว่าทุจริต ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญรัสเซีย ได้ประกาศว่ากฤษฎีกาของเยลต์ซินจะมีผลเป็นรัฐธรรมนูญ

    วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2536 ประธานาธิบดีเยลต์ซินมุ่งยุบสภาโซเวียตสูงสุด ซึ่งขัดแย้งโดยตรงตามมาตราของรัฐธรรมนูญของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย พ.ศ. 2521 เช่น:

    มาตรา 121-6. อำนาจของประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ไม่สามารถใช้ในการเปลี่ยนองค์กรระดับชาติและสถานะของสหภาพโวเวียต เพื่อยุบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรที่ได้รับการเลือกตั้งใด ๆ ของอำนาจรัฐ ในกรณีนี้อำนาจของเขาหมดลงทันที

    ในคืนวันที่ 21-22 กันยายน พ.ศ. 2536 รุตสคอยมาถึงรัฐสภารัสเซียและเมื่อเวลา 00:22 สันนิษฐานว่าอำนาจของ รักษาการประธานาธิบดีรัสเซีย เพื่อให้สอดคล้องกับบทความข้างต้น เขาได้สาบานตนเป็นประธานาธิบดีและกล่าวว่า ".. ข้าพเจ้ากำลังสละอำนาจของประธานาธิบดีและกฤษฎีกาต่อต้านรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีเยลต์ซินเป็นโมฆะ" ประธานาธิบดีเฉพาะกาล รุตสคอย แม้ว่ารัฐธรรมนูญก็ไม่เคยได้รับการยอมรับประเทศรัสเซีย หลังจากที่ความขัดแย้งนานสองสัปดาห์และความรุนแรงปะทุบนท้องถนนของกรุงมอสโกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 อาคารรัฐสภาถูกยึดครองโดยกองกำลังทหารเยลต์ซิน รุตสคอยและผู้สนับสนุนของเขาถูกจับกุมและตั้งข้อหากับองค์กรก่อความไม่สงบ ในวันเดียวกันนั้นเยลต์ซินไล่ รุตสคอยออกจากฐานะรองประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการและปลดเขาจากกองกำลังทหาร รุตสคอยถูกขังอยู่ในมอสโกคุกเลโฟร์โตโว จนถึง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 เมื่อเขาและคนอื่น ๆ ในวิกฤตการณ์เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 และวิกฤตการณ์เดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้รับการนิรโทษกรรมโดยสภาดูมาใหม่

     
    รุตสคอยและปูตินในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543

    หลังจากนั้นไม่นาน รุตสคอยก่อตั้งพรรคชาตินิยม ประชานิยม ชื่อพรรคเดอร์ซาวา (รัสเซีย: Держава) ซึ่งล้มเหลวในการเลือกตั้งสภาดูมาของปีพ.ศ. 2538 ได้คะแนนประมาณ 2.5% ของคะแนนเลิอกตั้งและทำให้ไม่ผ่านเกณฑ์ 5% เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่สมัครเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงฤดูร้อนของปีพ.ศ. 2539 แต่ก็สมัครชิงตำแหน่งของผู้ปกครองของบ้านเกิดของเขาที่แคว้นปกครองตนเองเคิร์สก์ ในฤดูใบไม้ร่วงของปีเดียวกัน เป็นผู้สมัครที่ร่วมกันจากคอมมิวนิสต์และ "กองกำลังรักชาติ" เขาถูกตัดสิทธิ์จากการเลือกตั้ง แต่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการโดยศาลฎีการัสเซีย เพียงไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้งซึ่งเขาได้รับคะแนนในการเลือกตั้งที่มีประมาณ 76% ของการออกเสียงลงคะแนน จนถึงวันนี้เขาก็ยังคงทำงานอยู่ในการเมืองรัสเซีย

    อ้างอิง แก้

    1. Encarta Encyclopedia, "Encyclopedia Article: Aleksandr Rutskoy", 2008. Archived 31 October 2009.
    2. Danks, Catherine J (2001). Russian Politics and Society: An Introduction. ISBN 978-0-582-47300-3.
    3. Rosenberg, Steven (3 October 2003). "Remembering Russia's civil siege". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-04-10.
    4. Bendersky, Yevgeny (23 February 2005). "CIVIL SOCIETY. WHEN THE IMPOSITION OF WESTERN DEMOCRACY CAUSES A BACKLASH". EurasiaNet and PINR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-13. สืบค้นเมื่อ 10 April 2008.
    5. http://www.aviastar.org/air/russia/su-25.php
    6. Staar, Richard F. (12 November 1992). "The Next Coup Attempt in Russia". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 12 April 2013.
    7. Michael Kraus, Ronald D. Liebowitz (1996), Russia and Eastern Europe After Communism, p. 305. Westview Press, ISBN 0-8133-8948-8
    8. Alexei Zverev Ethnic Conflicts in the Caucasus 1988–1994 เก็บถาวร 2012-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in: Bruno Coppieters (ed., 1996), Contested Borders in the Caucasus. VUB University Press

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้