อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย

อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย (อังกฤษ: A Series of Unfortunate Events) เป็นหนังสือชุดสำหรับเด็ก เขียนโดยแดเนียล แฮนด์เลอร์ ภายใต้นามปากกาเลโมนี สนิกเก็ต และวาดภาพประกอบโดยเบร็ต เฮลควิสท์ ปัจจุบัน ในชุดหนังสือนี้ มีอยู่ด้วยกันสิบสามเล่ม โดยแต่ละเล่ม มีสิบสามบท และเล่มพิเศษ เช่น อัตชีวประวัติไม่ธรรมดา เล่มแรกของชุดลางร้ายเริ่มปรากฏ นั้น ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2545 โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ และยังมีภาพยนตร์ ที่สร้างโดยใช้เนื่อหาของหนังสือสามเล่มแรก ซึ่งเข้าฉายในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2547

อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย  
ผู้ประพันธ์แดเนียล แฮนด์เลอร์ (ใช้นามปากกา "เลโมนี สนิกเก็ต")
ชื่อเรื่องต้นฉบับA Series of Unfortunate Events
ผู้วาดภาพประกอบเบร็ต เฮลควิสท์
ศิลปินปกเบร็ต เฮลควิสท์
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์
เอ็ดมอนต์ยูเค
นานมีบุ๊คส์ (ไทย)
วันที่พิมพ์30 กันยายน พ.ศ. 2542 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ต้นฉบับ)

เนื้อเรื่องย่อ แก้

หนังสือชุดนี้ติดตามชีวิตของสามเด็กกำพร้าโบดแลร์ ไวโอเล็ต เคลาส์ และซันนี่ หลังจากการจากไปอย่างกะทันหันของพ่อแม่ในกองเพลิงในบ้านของตัวเอง ในลางร้ายเริ่มปรากฏ พวกเขาถูกส่งไปอยู่กับญาติห่าง ๆ เคาต์โอลาฟ ซึ่งเป็นคนชั่วร้ายมาก ในเล่มต่อ ๆ ไป โอลาฟปลอมตัวเพื่อเข้าใกล้พวกโบดแลร์เพื่อขโมยมรดกพวกเขา พวกโบดแลร์พยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลมรดกของพวกเขา มิสเตอร์โพ แต่โพไม่รู้ตัวเกี่ยวกับโอลาฟเสมอ ในตอนแรก เขาคิดว่าโอลาฟเหมาะสมสำหรับดูแลพวกโบดแลร์ แต่สุดท้ายเขาก็รู้ถึงความชั่วร้ายของโอลาฟ

พวกโบดแลร์รู้เกี่ยวกับองค์กรลับ ว.ฟ.ด. ซึ่งเกี่ยวข้องกับโอลาฟ และพวกเขาค่อย ๆ รู้มากขึ้น และมากขึ้นเกี่ยวกับ ว.ฟ.ด. และรู้ว่ามันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตพวกเขาเลยทีเดียว

ประเภท แก้

เรื่องส่วนใหญ่สร้างด้วยความโชคร้าย ในปกหลังจะเตือนผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องร้ายๆในเล่มนั้น ๆ และแนะนำให้อ่านเรื่องอื่นแทน ในแต่ละเล่มจะเริ่มด้วยการอุทิศแด่บีทริซผู้เป็นที่รักของสนิกเก็ตและล่วงลับไปแล้ว

นอกจากเป้าหมายหลักของชุดนี้ คือ เด็กแล้ว ยังมีเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่ด้วย หลายอย่างที่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่เข้าใจ เช่น ชื่อของตัวละครที่คล้ายชื่อของคนจริง หรือ ชื่อวรรณกรรมอื่น ๆ เช่น เด็กกำพร้าโบดแลร์เอามาจาก ชาร์ลส์ โบดแลร์ เป็นต้น

หนังสือชุดนี้สร้างขึ้นในฉากที่คล้ายคลึงกับยุค ค.ศ. 1930 จากสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น

หนังสือชุดนี้ยังสามารถจัดในหมวดหมู่ วรรณกรรมเหลวไหล จากตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องการเขียนแบบแปลก ๆ และเนื่อเรื่องที่ไม่ถูกหลัก[ต้องการอ้างอิง]

การเผยแพร่ แก้

ภาพยนตร์ แก้

เลโมนี สนิกเก็ต อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย เป็นภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือสามเล่มแรกของซีรีส์ ซึ่งได้ผสมเหตุการณ์และตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2547[1]

การตอบรับ แก้

คำวิจารณ์ แก้

คำวิจารณ์ที่มีต่อ อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย โดยทั่วไปเป็นในเชิงบวก ด้วยความเห็นที่กล่าวว่าซีรีส์นี้สร้างความสนุกสนานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่[2] และมีการนำเสนอรูปแบบที่สดใหม่สำหรับผู้ใหญ่สู่เรื่องราวของเด็ก เว็บไซต์ The Times Online กล่าวถึงหนังสือว่าเป็น "ปรากฏการณ์ทางวรรณกรรม" และอภิปรายว่าชะตากรรมของเด็กกำพร้าโบดแลร์ช่วยให้เด็กรับมือกับความสูญเสียได้อย่างไร โดยอ้างหลักฐานว่ายอดขายเพิ่มขึ้นหลังวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544[3]

อ้างอิง แก้

  1. "Lemony Snicket's A Series of Unfortunate Events (2004)". IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2007.
  2. "The Bad Beginning". ypress.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2007.
  3. Betts, Hannah (18 ธันวาคม 2004). "Unhappily ever after". Times Online. London. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2007.