อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง

อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง ว่าด้วยการดูแลรักษาทหารผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยในสนามรบ คือสนธิสัญญาหนึ่งในสี่ฉบับของอนุสัญญาเจนีวาที่วางรากฐานของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการพิทักษ์ผู้เป็นเหยื่อของสงคราม[1] อนุสัญญาลงนามครั้งแรกโดยประเทศในยุโรปสิบสองประเทศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1864 ที่เมืองเจนีวาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีผลบังคับใช้ในปีเดียวกัน อนุสัญญาดังกล่าวได้รับการแก้ไขครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1906, ค.ศ. 1929 และ ค.ศ. 1949 อนุสัญญาเจนีวามีความสัมพันธ์อย่างแน่นหนากับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ทั้งอนุสัญญาและคณะกรรมการกาชาดต่างก็เป็นผู้เริ่มต้นและผู้บังคับใช้ข้อตกลงที่ระบุไว้ในข้อตกลง

อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง
First Geneva Convention
อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยการพยาบาลสภาพบุคคลในกองทัพที่บาดเจ็บและป่วยเจ็บกลางสนามรบ
ต้นฉบับอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง
วันลงนาม22 สิงหาคม ค.ศ. 1864
ที่ลงนามเจนีวาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย: 12 สิงหาคม ค.ศ. 1949
วันมีผลค.ศ. 1864
ผู้ลงนามสนธิสัญญาสากล
th: อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง ที่ วิกิซอร์ซ

สรุปข้อบท แก้

อนุสัญญาแต่เดิมเมื่อปี ค.ศ. 1864 มีเพียง 10 ข้อ[2] ก่อนที่จะได้รับการเพิมเติมมาเป็น 64 ข้อในปัจจุบัน สนธิสัญญาดังกล่าวคุ้มครองทหารที่ต้องออกจากการรบเนื่องจากความเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ เช่นเดียวกับบุคคลทางการแพทย์หรือบุคคลทางศาสนา และพลเรือนในพื้นที่ทำการรบ บทบัญญัติสำคัญของสนธิสัญญา ได้แก่:

  • ในข้อ 12 ทหารที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยผู้ต้องออกจากการรบควรได้รับการปฏิบัติอย่างเมตตากรุณา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควรสังหาร ทำให้บาดเจ็บ ทรมาน หรือนำตัวไปทดลองทางชีววิทยา ข้อดังกล่าวถือเป็นหลักสำคัญที่สุดของสนธิสัญญา และจำกัดความหลักการที่นำมาใช้กับส่วนที่เหลือของสนธิสัญญา[3] รวมไปถึงข้อตกลงที่จะให้ความเคารพหน่วยแพทย์และสิ่งก่อสร้างทางการแพทย์ (ส่วนที่สาม) การมอบหมายให้ดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ (ส่วนที่สี่) อาคารและวัตถุดิบ (ส่วนที่ห้า) ยานพาหนะขนส่งทางการแพทย์ (ส่วนที่หก) และเครื่องหมายที่ใช้ในเชิงป้องกัน (ส่วนที่เจ็ด)
  • ข้อ 15 มีใจความว่า ทหารที่เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บควรได้รับการรวมเข้าเป็นกลุ่ม ได้รับการเอาใจใส่และการปกป้อง ถึงแม้ว่าพวกเขาอาจจะอยู่ในสถานภาพเชลยศึก
  • ข้อ 16 มีใจความว่า คู่ขัดแย้งควรระบุรูปพรรณของผู้ตายและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับคู่ขัดแย้งฝ่ายตรงข้าม
  • ข้อ 9 เป็นการอนุญาตให้กาชาดสากล "หรือองค์กรสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" ในการให้ความคุ้มครองและการรักษาทหารที่เจ็บป่วยและได้รับบาดเจ็บ เช่นเดียวกับบุคคลทางการแพทย์และบุคคลทางศาสนา

ปัจจุบัน มีชาติสมาชิก 194 ประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1949 ซึ่งรวมไปถึงสนธิสัญญานี้และสนธิสัญญาอีกสามฉบับ[4]

อ้างอิง แก้

  1. Jean S. Pictet. “The New Geneva Conventions for the Protection of War Victims” The American Journal of International Law Vol. 45, No. 3 (1951): pg. 462.
  2. "Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded in Armies in the Field. Geneva, 22 August 1864". The American National Red Cross. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
  3. Pictet, Jean (1958). Geneva Conventions of 12 August 1949: Commentary. International Committee of the Red Cross. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
  4. "States party to the main treaties". The American National Red Cross. สืบค้นเมื่อ 2009-12-05.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้