อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่

อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเรือนในยามสงคราม หรือเรียกทั่วไปว่า อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ (อังกฤษ: Fourth Geneva Convention; ย่อ: GCIV) เป็นอนุสัญญาเจนีวาฉบับหนึ่งจากสี่ฉบับ มีการประกาศใช้ในเดือนสิงหาคม 1949 และมีผลใช้บังคับในเดือนตุลาคม 1950[1] อนุสัญญาเจนีวาสามฉบับแรกมีเนื้อหาเกี่ยวกับพลรบ ส่วนฉบับที่สี่นี้เป็นฉบับแรกที่ว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนทางมนุษยธรรมในพื้นที่สงคราม ปัจจุบันมีภาคี 196 ประเทศ[2]

อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่
Fourth Geneva Convention
Geneva Convention relative to the Protection of Civilian Persons in Time of War
(อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม)
ผู้ลี้ภัยและทหารในการปิดล้อมวอร์ซอ (1939)
ที่ลงนามเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ภาคี196 ประเทศ
ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส
Fourth Geneva Convention ที่ วิกิซอร์ซ

ในปี 1993 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยอมรับรายงานจากเลขาธิการสหประชาชาติและคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญซึ่งสรุปว่าอนุสัญญาเจนีวาได้ผ่านเข้าเป็นประชุมกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้ว ซึ่งทำให้มีผลผูกพันกับผู้ที่มิได้เป็นภาคีอนุสัญญาฯ ไม่ว่าจะทำสงครามกันหรือไม่[3]

อ้างอิง แก้

  1. "Convention (IV) relative to the Protection of Civilian Persons in Time of War. Geneva, 12 August 1949". International Committee of the Red Cross.
  2. "Geneva Convention (IV) on Civilians, 1949". Treaties, States parties, and Commentaries. 23 March 2010. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018.
  3. "United Nations Audiovisual Library of International Law". United Nations. สืบค้นเมื่อ 15 March 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้