องค์การจัดการน้ำเสีย

องค์การจัดการน้ำเสีย (อังกฤษ: Wastewater Management Authority) เป็นรัฐวิสาหกิจของไทย ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2538 เพื่อจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม สำหรับการบำบัดน้ำเสียภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร เดิมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[3]

องค์การจัดการน้ำเสีย
Wastewater Management Authority
ชื่อย่ออจน.
ก่อตั้ง15 สิงหาคม พ.ศ. 2538; 29 ปีก่อน (2538-08-15)
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
สํานักงานใหญ่333 อาคารเล้าเป้งง้วน 1 ชั้น 23 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บริการ
  • จัดระบบบำบัดน้ำเสีย
  • วิเคราะห์คุณภาพน้ำ
  • การก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ควบคุมการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย
สาขา
  • สำนักงานจัดการน้ำเสีย 31 แห่ง
  • ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ 17 แห่ง
  • ระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก 9 แห่ง
  • โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ 1 แห่ง
เจ้าของกระทรวงการคลัง (100.00 %)
ประธานกรรมการ
พรพจน์ เพ็ญพาส
ผู้อำนวยการ
ชีระ วงศบูรณะ
องค์กรแม่กระทรวงมหาดไทย
งบประมาณ (2568)
1,943,082,000 บาท[1]
พนักงาน (2566)
117 คน[2]
เว็บไซต์www.wma.or.th
ข้อมูลธุรกิจ
รายได้เพิ่มขึ้น 346,113.36 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[2]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 69,174.91 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[2]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 36,109.79 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[2]
ทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้น 31,435.15 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 2,519,48 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[2]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 100,349.12 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[2]

ต่อมาใน พ.ศ. 2545 จึงได้โอนมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ต่อมาใน พ.ศ. 2561 จึงได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[4] เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจในการบำบัดน้ำเสียของชุมชนซึ่งดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[5]

เขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย

แก้

องค์การจัดการน้ำเสีย ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม สำหรับการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542 ให้เพิ่มเติมพื้นที่เทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่จังหวัดอ่างทอง เป็นพื้นที่ในเขตจัดการน้ำเสีย[6]

ใน พ.ศ. 2545 ได้มีการกำหนดพื้นที่จัดการน้ำเสียเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองศรีราชา เทศบาลเมืองสกลนคร เทศบาลเมืองเพชรบุรี เทศบาลเมืองชุมแสง เทศบาลตำบลหัวหิน เทศบาลตำบลบ้านเพ เทศบาลตำบลป่าตอง เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเมืองพัทยา เป็นเขตจัดการน้ำเสีย[7]

การดำเนินการ

แก้

องค์การจัดการน้ำเสีย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม[8] ในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียตามพระราชกฤษฎีกา และที่ประกาศเพิ่มเติม ต่อมาใน พ.ศ. 2554 องค์การจัดการน้ำเสีย ได้เริ่มต้นการให้บริการเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้เข้าสู่องค์กร ควบคู่กับการให้บริการเชิงสังคม เพื่อลดภาระด้านงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ โดยมีการให้บริการเชิงพาณิชย์ 4 กิจการ คือ

  1. รับจ้างบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย
  2. รับจ้างบริหารจัดการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
  3. รับจ้าง ศึกษา ออกแบบ สำรวจ ปรับปรุง และก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
  4. รับจ้างฝึกอบรมการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำและควบคุมการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 องค์การจัดการน้ำเสีย, รายงานประจำปี 2566 องค์การจัดการน้ำเสีย, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  3. พระราชกฤษฎีจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2538
  4. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑
  5. "รายงานพิเศษ : ขยายประเด็น ตอนที่ 4 "การโอนย้ายองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ให้กระทรวงมหาดไทยบริหารจัดการ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-24. สืบค้นเมื่อ 2020-11-10.
  6. ประกาศองค์การจัดการน้ำเสีย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียเพิ่มเติม
  7. "ประกาศองค์การจัดการน้ำเสีย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียเพิ่มเติม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-16.
  8. จัดการน้ำเสียจาก ไทยรัฐ