องค์กรมวยโลก (อังกฤษ: World Boxing Organization, ตัวย่อ: WBO, สเปน: Organización Mundial de Boxeo, ตัวย่อ: OMB) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก

องค์กรมวยโลก
อังกฤษ: World Boxing Organization
สเปน : Organización Mundial de Boxeo
ชื่อย่อWBO
คําขวัญDignity. Democracy. Honesty.
ก่อตั้งพ.ศ. 2531 (อายุ 36 ปี)
ประเภทสถาบันไม่แสวงหาผลกำไร
สํานักงานใหญ่ซานฮวน, ปวยร์โตรีโก
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
ภาษาทางการ
อังกฤษ
สเปน
หัวหน้าฟรันซิสโก บัลการ์เซล
องค์กรแม่
สมัชชา
เว็บไซต์www.wboboxing.com

ประวัติ

แก้

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ที่กรุงซานฮวน ปวยร์โตรีโก โดยมี ราโมน ปินา อาเซเบโด สเปน​: (Ramón Pina Acevedo) ชาวโดมินิกัน เป็นประธานองค์กรมวยโลกคนแรก

ในระยะแรกเริ่มยังไม่เป็นที่ยอมรับของแฟนมวย เนื่องจากเป็นสถาบันใหม่ แชมป์โลกคนแรกขององค์กรมวยโลกคือ โธมัส เฮิร์นส์ โดยได้เป็นแชมป์ในรุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท โดยการชิงแชมป์ว่างเอาชนะ เจมส์ คินเชน และทำสถิติเป็นแชมป์โลก 5 รุ่น คนแรกของโลกด้วย

ในเวลาต่อมา องค์กรมวยโลกได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นอีกหนึ่งสถาบันที่ได้มาตรฐาน มีนักมวยมากมายที่เป็นแชมป์และโดดเด่น มีความสามารถมากกว่าแชมป์โลกในรุ่นเดียวกันของสมาคมมวยโลก (WBA), สภามวยโลก (WBC), สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ในบางครั้งเสียอีก เช่น ทอมมี มอร์ริสัน, นาซีม ฮาเหม็ด, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, มาร์โก อันโตนิโอ บาร์เรรา, วิตาลี คลิทช์โก, วลาดีมีร์ คลิทช์โก เป็นต้น

ในปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่ง​ประธานองค์กรมวยโลก คือ ฟรันซิสโก บัลการ์เซล (สเปน : Francisco Valcárcel) นักกฎหมายชาวปวยร์โตรีกัน เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2539

ซูเปอร์แชมป์

แก้

ระบบการจัดอันดับ

แก้

องค์กรมวยโลกกับประเทศไทย

แก้

สำหรับในทวีปเอเชีย สถาบันแห่งนี้ยังไม่ได้แพร่หลายเข้ามา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 จึงมีการชิงแชมป์ในสถาบันนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย มีนักมวยไทยที่ได้เป็นแชมป์ อาทิ เช่น ประมวลศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ, ไก่ชน ส.วรพิน, สด ปูนอินทรียิม แต่มีเพียง 2 รายเท่านั้นที่ได้เป็นแชมป์โลก คือ รัตนชัย ส.วรพิน และผึ้งหลวง ส.สิงห์อยู่ นอกนั้นเป็นเพียงแชมป์ในระดับภูมิภาคเท่านั้น และในปี พ.ศ. 2548 มีรายการนักมวยไทยหลายรุ่นขึ้นชิงแชมป์โลกที่สหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีใครประสบความสำเร็จเลย

ปัจจุบัน กิจการขององค์กรมวยโลกในประเทศไทย อยู่ในการดูแลของ นายก่อเกียรติ พาณิชยารมณ์ [1] [2]

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้