ออสการ์ เดอ ลา โฮยา
ออสการ์ เดอ ลา โฮยา (อังกฤษ: Oscar De La Hoya) เป็นอดีตนักมวยสากลชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกัน ที่สามารถครองแชมป์โลกได้ 6 รุ่น เป็นคนแรกของโลก
ออสการ์ เดอ ลา โฮยา | |
---|---|
เกิด | ออสการ์ เดอ ลา โฮยา 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
มวยสากลสมัครเล่น | ||
โอลิมปิกฤดูร้อน | ||
บาร์เซโลนา 1992 | ไลท์เวท |
ชีวิตช่วงต้น
แก้พื้นเพครอบครัวของเดอ ลา โฮยา เป็นชาวเม็กซิกันที่เข้ามาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยที่ผู้ชายในตระกูล ไม่ว่าจะเป็น พ่อ (โจเอล ซีเนียร์), ปู่ (บิเซนเต), พี่ชาย (โจเอล จูเนียร์) ก็ล้วนแต่เป็นนักมวยมาก่อนทั้งนั้น เมื่อวัยเด็ก เดอ ลาโฮยา เป็นเด็กอ่อนแอ มักจะโดนพี่ชายและเด็กในละแวกบ้านแกล้งเสมอ ๆ
เริ่มมีชื่อเสียง
แก้ออสการ์ เดอ ลา โฮยา มีชื่อเสียงขึ้นมาในการที่สามารถเป็นนักมวยงคนเดียวในทีมชาติสหรัฐอเมริกาที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกมาได้จากการเอาชนะ มาร์โค รูดอร์ฟ นักมวยชาวเยอรมัน ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เมื่อปี พ.ศ. 2535
ยอดมวยโลก
แก้เดอ ลา โฮยา จึงได้ฉายาว่า "โกลเดน บอย" (Golden Boy) หลังจากนั้น จึงได้เบนเข็มมาชกมวยอาชีพ เดอ ลา โฮยา มีจุดเด่นตรงที่สายตาดี มีความเร็วหมัดที่ไวมาก และประกอบด้วยเป็นเด็กหนุ่มหน้าตาดี สามารถเรียกคนดูในกลุ่มที่ไม่ใช่แฟนมวยให้มาสนใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้สร้างชื่อเสียงให้ เดอ ลา โฮยา ในระยะเวลาไม่นาน โดยที่ เดอ ลาโฮยา จึงความหวังไว้ว่าจะเป็นแชมป์โลก 6 รุ่น คนแรกของโลกให้ได้
เดอ ลา โฮยา ได้แชมป์โลกครั้งแรก โดยได้แชมป์ขององค์กรมวยโลก (WBO) ในรุ่นจูเนียร์ไลท์เวท ในปี พ.ศ. 2537 และเป็นแชมป์โลกของทั้งองค์กรมวยโลก (WBO) และสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ในรุ่นไลท์เวท ในปี พ.ศ. 2538 จากนั้นในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) เดอ ลา โฮยา จึงมีโอกาสได้เปิดศึกกับยอดมวยในดวงใจของตน คือ ฆูลิโอ เซซาร์ ชาเบซ ด้วยมีเดิมพันเป็นแชมป์โลกสภามวยโลก (WBC) ในรุ่นซูเปอร์ไลท์เวท ซึ่ง เดอ ลา โฮยา สามารถเอาชนะทีเคโอไปได้ยกที่ 4 และสามารถป้องกันตำแหน่งแชมป์ในรุ่นนี้ไว้ได้ 1 ครั้ง กับ มิเกล อังเฆล กอนซาเลซ ก่อนที่จะขยับรุ่นขึ้นไปท้าชิงกับ เพอร์เนล วิเทเกอร์ ยอดนักมวยชาวอเมริกันอีกคน ในรุ่นเวลเตอร์เวท ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่ง เดอ ลา โฮยา ก็เป็นฝ่ายเอาชนะคะแนนไปได้ โดยที่ฝ่ายวิเทเกอร์ไม่ยอมรับผลในการตัดสิน
เดอ ลา โฮยา ป้องกันตำแหน่งแชมป์ในรุ่นนี้ไว้ได้ 7 ครั้ง รวมถึงการเอาชนะฆูลิโอ เซซาร์ ชาเบซ ไปได้อีกครั้ง ก่อนที่จะเดิมพันตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นนี้กับแชมป์โลกรุ่นเดียวกันของสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) กับยอดมวยชาวปวยร์โตรีโก เฟลิกซ์ ตรินิดัด ในปี พ.ศ. 2542 ซึ่งผลการชกออกมา คือ เดอ ลา โฮยา แพ้คะแนนไปแบบไม่เป็นเอกฉันท์ และเป็นการแพ้ครั้งแรกในชีวิตการชกมวยอาชีพของ เดอ ลา โฮยา ด้วย
จากนั้น เดอ ลา โฮยา ได้อุ่นเครื่องนี้ในรุ่นนี้ต่อไปอีก 2-3 ครั้ง ก่อนที่จะเปิดศึกกับคู่ปรับเก่าที่เดอ ลา โฮยา เคยแพ้มาแล้วในแบบมวยสากลสมัครเล่น กับ ชูการ์ เชน มอสลีย์ ซึ่ง เดอ ลา โฮยา ก็แพ้คะแนนมอสลีย์ไป ต่อมา เดอ ลา โฮยา ได้ขยับรุ่นขึ้นมาในรุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท และได้แชมป์โลก WBC ในรุ่นนี้ โดยชนะคะแนน ฆาบิเอร์ กัสติเยโฆ นักมวยชาวสเปน และชนะทีเคโอในการเดิมพันแชมป์กับเฟอร์นันโด วาร์กัส ก่อนที่จะพบกับคู่ปรับเก่าเชน มอสลีย์ ที่ขยับรุ่นตามขึ้นมา และมอสลีย์ก็สามารถย้ำแค้น เอาชนะคะแนนไปได้อีก จากนั้น เดอ ลา โฮยา ได้ขยับรุ่นต่อไปอีก เป็นรุ่นที่ 6 ที่ตั้งความหวังไว้ คือ มิดเดิลเวท ได้แชมป์โลกในรุ่นนี้ขององค์กรมวยโลก (WBO) โดยชนะคะแนนเฟลิกซ์ สตรุม นักมวยชาวเยอรมันไปแบบไม่น่าประทับใจ เพราะเดอ ลา โฮยา ช้าลงมาก อีกทั้งน้ำหนักหมัดไม่สามารถทำอะไรคู่ชกได้เลย ก่อนที่จะเปิดศึกเดิมพันตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นนี้กับยอดมวยของรุ่นมิดเดิลเวท ชาวอเมริกัน เบอร์นาร์ด ฮอปกินส์ ซึ่ง เดอ ลา โฮยา เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในยกที่ 9 แบบหมดรูป เดอ ลา โฮยา จึงลดรุ่นกลับมาชกในรุ่นเดิม และสามารถคว้าแชมป์โลกของ WBC (สภามวยโลก) มาได้ด้วย
การเอาชนะน็อกริการ์โด มาร์โยกา นักมวยชาวนิคารากัว ไปได้ในยกที่ 6 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2549 และได้เสียตำแหน่งไปในการชกป้องกันครั้งแรกกับ ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ นักมวยรุ่นน้องเจ้าของตำแหน่งแชมป์โลก 4 รุ่นที่ก้าวขึ้นมาทาบรัศมี โดยแพ้คะแนนไปอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 และในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เดอ ลา โฮยาได้ลดน้ำหนักเพื่อมาชกในพิกัดเวลเตอร์เวทอีกครั้งกับ แมนนี ปาเกียว นักมวยชาวฟิลิปปินส์ที่กล่าวกันว่าเป็นนักมวยที่เก่งที่สุดในโลกเมื่อเทียบกันปอนด์ต่อปอนด์ ซึ่งการชกครั้งนี้เป็นการชกนอกรอบที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และเป็น เดอ ลา โฮยา ที่จัดการชกเอง ปรากฏว่าเดอ ลา โฮยา เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปอย่างหมดรูปในยกที่ 8
ปัจจุบัน
แก้ปัจจุบัน เดอ ลา โฮยา ประกาศแขวนนวมอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552 [1] โดยมีกิจการจัดการชกมวยเป็นของตนเอง คือ "โกลเด้น บอย โปรโมชั่น" (Golden Boy Promotion) โดย เดอ ลา โฮยา ทำหน้าที่เป็นโปรโมเตอร์เอง และมีตำแหน่งเป็นประธานบริษัท ซึ่งกิจการนี้ได้มีบุคคลในวงการมวยและนักมวยชื่อดังหลายคนร่วมหุ้นส่วนด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ เบอร์นาร์ด ฮอปกิ้นส์ อดีตคู่ปรับเก่า
ช่วงสมัยรุ่งเรือง ออสการ์ เดอ ลา โฮยา นับได้ว่าเป็นซูเปอร์สตาร์อันดับหนึ่งของวงการมวยโลก กล้าชกกับยอดมวยโลกในรุ่นเดียวหรือใกล้เคียงกันทุกคน เป็นที่สนใจของทั้งแฟนมวยและไม่ใช่แฟนมวย ด้วยหน้าตา บุคลิกที่หล่อเหลาคล้ายดาราภาพยนตร์ ผิดกับภาพลักษณ์ของนักมวยทั่วไป จึงทำให้ ออสการ์ เดอ ลา โฮยา ได้มีโอกาสออกอัลบั้มเพลงของตัวเอง 1 อัลบั้มในชื่อเดียวกับตัว ในปี พ.ศ. 2543 มีเพลงฮิต คือ Run to Me ซึ่งเป็นเพลงเก่าของบีจีส์มาร้องเป็นเพลงเอกในอัลบั้ม และอัลบั้มชุดนี้ยังมีชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ในปีนั้นอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2556 เดอ ลา โฮยา ตกเป็นข่าวอื้อฉาวว่าติดยาเสพย์ติด และต้องเข้าโปรแกรมบำบัด ทำให้มีการชกมวยบางนัดของบริษัทตนเองไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ต้องให้ทางฝ่ายเบอร์นาร์ด ฮอปกิ้นส์ ซึ่งเป็นรองประธานทำหน้าที่แทน[2]
อนึ่ง ชื่อ ของ เดอ ลา โฮยา นั้น แท้ที่จริงแล้ว การออกเสียงที่ถูกนั้น ต้องออกว่า "เด ลา โอยา" หรือ "เด ลา ออยา" ซึ่งเป็นการออกเสียงแบบภาษาสเปน ซึ่งมีความหมายว่า "เพชร" โดยที่ เดอ ลา โฮยา มีนักมวยในดวงใจ 3 คน คือ ฆูลิโอ เซซาร์ ชาเบซ, ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ด, เทอร์รี นอร์ริส และเมื่อขึ้นเวทีถ้ามีโอกาส เดอ ลาโฮยา จะถือธงชาติ 2 ผืน คือ ธงชาติอเมริกา และธงชาติเม็กซิโก เพื่อบ่งบอกความเป็นคนของทั้งสองชาติ และเมื่อเผชิญหน้ากับคู่ชกเมื่อกรรมการผู้ตัดสินอธิบายกติกาก่อนชก จะไม่สบตาคู่ชก แต่จะแหงนหน้ามองเพดานตลอด[3]
เกียรติประวัติ
แก้- มวยสากลสมัครเล่น
- เหรียญทองกูดวิลเกมส์ 1990 รุ่นเฟเธอร์เวท
- เหรียญทองโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 รุ่นไลท์เวท
- มวยสากลอาชีพ
- แชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท
- ชิง , 5 มีนาคม 2537 ชนะอาร์ทีดี จิมมี เบรดาห์ล ( เดนมาร์ก) ยก 10 ที่ แกรนด์โอลิมปิกออดิทอเรียม, ลอสแอนเจลิส, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 1 , 27 พฤษภาคม 2537 ชนะทีเคโอ จอร์โจ กัมปาเนลา ( อิตาลี) ยก 3 ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- แชมป์โลก WBO รุ่นไลท์เวท
- ชิง , 29 กรกฎาคม 2537 ชนะน็อก ฆอร์เฆ ปาเอซ ( เม็กซิโก) ยก 2 ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 1 , 18 พฤศจิกายน 2537 ชนะทีเคโอ คาร์ล กริฟฟิธ ( สหรัฐ) ยก 3 ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 2 , 10 ธันวาคม 2537 ชนะทีเคโอ จอห์น อบิลา ( สหรัฐ) ยก 9 ที่ แกรนด์โอลิมปิกออดิทอเรียม, ลอสแอนเจลิส, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 3 , 18 กุมภาพันธ์ 2538 ชนะคะแนน จอห์น จอห์น โมลินา ( ปวยร์โตรีโก) ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 4 และชิงแชมป์โลก IBF รุ่นเดียวกัน , 6 พฤษภาคม 2538 ชนะทีเคโอ ราฟาเอล รูเอลัส ( สหรัฐ) ยก 5 ที่ โกลิเซโอ รูเบน โรดริเกซ, บายาร์มอน, ปวยร์โตรีโก (ต่อมา เดอ ลา โฮยา สละแชมป์ IBF)
- ป้องกันครั้งที่ 6 , 9 กันยายน 2538 ชนะอาร์ทีดี เจนาโร เฮอร์นันเดซ ( สหรัฐ) ยก 6 ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 7 , 15 ธันวาคม 2538 ชนะอาร์ทีดี เจสซี เจมส์ ไลเจ ( สหรัฐ) ยก 2 ที่ เมดิสันสแควร์การ์เดน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐ
- แชมป์โลก WBC รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวท
- ชิง , 7 มิถุนายน 2539 ชนะทีเคโอ ฆูลิโอ เซซาร์ ชาเบซ ( เม็กซิโก) ยก 4 ที่ เซซาร์พาเลซ ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 1 , 18 มกราคม 2539 ชนะคะแนน มิเกล อังเฆล กอนซาเลซ( เม็กซิโก) ที่ ทอมัสแอนด์แม็กเซนเตอร์, แพราไดส์, สหรัฐ
- แชมป์โลก WBC รุ่นเวลเตอร์เวท
- ชิง , 12 เมษายน 2540 ชนะคะแนน เพอร์เนล วิเทเกอร์ ( สหรัฐ) ทอมัสแอนด์แม็กเซนเตอร์, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 1 , 14 มิถุนายน 2540 ชนะทีเคโอ เดวิด คามาอู ( เคนยา) ยก 2 ที่ อแลโมโดม, แซนแอนโทนีโอ, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 2 , 13 กันยายน 2540 ชนะคะแนน เอกตอร์ กามาโช ( ปวยร์โตรีโก) ที่ ทอมัสแอนด์แม็กเซนเตอร์, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 3 , 6 ธันวาคม 2540 ชนะทีเคโอ วิลเฟรโด ริเบรา ( ปวยร์โตรีโก) ยก 8 ที่ บอร์ดวอล์กฮอล, นครแอตแลนติก, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 4 , 13 มิถุนายน 2541 ชนะทีเคโอ ปาทริก ชาร์แปงตีแยร์ ( ฝรั่งเศส) ยก 3 ที่ ซันโบวล์, เอลแพโซ, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 5 , 13 กุมภาพันธ์ 2542 ชนะคะแนน อิเก กวาร์เตย์ ( กานา) ที่ ทอมัสแอนด์แม็กเซนเตอร์, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 6 , 22 พฤษภาคม 2542 ชนะทีเคโอ โอบา คารร์ ( สหรัฐ) ยก 11 ที่ แมนดะเลย์เบย์, แพราไดส์, สหรัฐ
- เสียแชมป์ , 18 กันยายน 2542 แพ้คะแนน เฟลิกซ์ ตรินิดัด ( ปวยร์โตรีโก) ที่ แมนดะเลย์เบย์, แพราไดส์, สหรัฐ
- แชมป์โลก IBA รุ่นเวลเตอร์เวท
- ชิง , 26 กุมภาพันธ์ 2543 ชนะทีเคโอ เดอร์เรล คอร์ลีย์ ( สหรัฐ) ยก 7 ที่ เมดิสันสแควร์การ์เดน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐ
- เสียแชมป์ , 17 มิถุนายน 2543 แพ้คะแนน เชน มอสลีย์ ( สหรัฐ) ที่ สเตเปิลส์เซ็นเตอร์, ลอสแอนเจลิส, สหรัฐ
- แชมป์โลก WBC รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท
- ชิง , 23 มิถุนายน 2544 ชนะคะแนน ฆาบิเอร์ กัสติเยโฆ ( สเปน) ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 1 และชิงแชมป์โลก WBA (ซูเปอร์แชมป์) IBA และเดอะริงในรุ่นเดียวกัน , 14 กันยายน 2545 ชนะทีเคโอ เฟอร์นันโด วาร์กัส ( สหรัฐ) ยก 11 ที่ แมนดะเลย์, แพราไดส์, สหรัฐ (ต่อมา เดอ ลา โฮยา สละแชมป์ IBA)
- ป้องกันครั้งที่ 2 , 3 พฤษภาคม 2546 ชนะทีเคโอ โยริ บอย กัมปัส ( เม็กซิโก) ยก 7 ที่ แมนดะเลย์, แพราไดส์, สหรัฐ
- เสียแชมป์ , 13 กันยายน 2546 แพ้คะแนน เชน มอสลีย์ ( สหรัฐ) ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- แชมป์โลก WBO รุ่นมิดเดิลเวท
- ชิง , 5 มิถุนายน 2547 ชนะคะแนน เฟลิกซ์ สตรุม ( เยอรมนี) ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- เสียแชมป์ , 18 กันยายน 2547 แพ้ทีเคโอ เบอร์นาร์ด ฮอปกินส์ ( สหรัฐ) ยก 9 ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- แชมป์โลก WBC รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท (สมัยที่ 2)
- ชิง , 6 พฤษภาคม 2549 ชนะทีเคโอ ริการ์โด มาร์โยกา ( นิการากัว) ยก 6 ที่ เอ็มจีเอ็มแดรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- เสียแชมป์ , 5 พฤษภาคม 2550 แพ้คะแนน ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ ( สหรัฐ) ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
- ชิงแชมป์โลก IBF รุ่นเวลเตอร์เวท , 18 กันยายน 2542 แพ้คะแนน เฟลิกซ์ ตรินิดัด ( ปวยร์โตรีโก) ที่ แมนดะเลย์เบย์, แพราไดส์, สหรัฐ
- ชิงแชมป์โลก WBC รุ่นเวลเตอร์เวท , 17 มิถุนายน 2543 แพ้คะแนน เชน มอสลีย์ ( สหรัฐ) ที่ สเตเปิลส์เซ็นเตอร์, ลอสแอนเจลิส, สหรัฐ
- ชิงแชมป์โลก WBA (ซูเปอร์แชมป์) WBC IBF และเดอะริงรุ่นมิดเดิลเวท , 18 กันยายน 2547 แพ้ทีเคโอ เบอร์นาร์ด ฮอปกินส์ ( สหรัฐ) ยก 9 ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
อ้างอิง
แก้- ↑ ""เดอ ลา โฮยา" ประกาศแขวนนวม". ผู้จัดการออนไลน์. 16 April 2009. สืบค้นเมื่อ 8 March 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เดอลาโฮย่าตกลงหวนบำบัดสารเสพติด". สยามสปอร์ต. 11 September 2013. สืบค้นเมื่อ 8 March 2014.
- ↑ โกลเด้น บอย ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, "มวยโลก Extra" โดย บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (2540)