อกาลตาคัต[1] หรือ อกาลตัชต์ (อังกฤษ: Akal Takht; ปัญจาบ: ਅਕਾਲ ਤਖ਼ਤ) เป็นคุรุทวาราหนึ่งในห้าตัขต์ (คุรุทวาราที่ทรงอำนาจที่สุดของซิกข์) เป็นหนึ่งในหมู่อาคารในหริมันทิรสาหิบ อมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ แปลว่า พระที่นั่งของผู้ที่ "อกาล" คือ ผู้ที่เป็นนิรันดร์[2] ตัขต์แห่งนี้ถูกสร้างโดยคุรุหริโควินท์ (Guru Hargobind) เพื่อเป็นศูนย์รวมของความยุติธรรมและพิจารณาปัญหาทางโลกที่เกิดขึ้นในหมู่ชาวซิกข์และเป็นที่อยู่ของโฆษกสูงสุดของซิกข์ที่เรียกว่า ชเถทาร (Jathedar)[3]

อกาลตาคัต
ਅਕਾਲ ਤਖ਼ਤ
อกาลตาคัต
ศาสนา
ศาสนาศาสนาซิกข์
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอินเดีย เมืองอมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย
อกาลตาคัตตั้งอยู่ในรัฐปัญจาบ
อกาลตาคัต
ที่ตั้งในปัญจาบ
อกาลตาคัตตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
อกาลตาคัต
อกาลตาคัต (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์31°37′14″N 74°52′31″E / 31.620556°N 74.875278°E / 31.620556; 74.875278
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งคุรุหริโควินท์ (Guru Hargobind)
เว็บไซต์
เว็บไซต์ทางการของคณะกรรมการวิหาร

เดิมทัขต์แห่งนี้เรียกว่า "อกาลบูงา" (Akal Bunga)[4] สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1601 โดยท่านคุรุหริโกพินทะ ในพิธีวางศิลาฤษ์ท่านได้วางกริชสองอันไว้บนฐาน อันหนึ่งแสดงถึงการทำงานด้านจิตวิญญาณ (ปิรี; piri) อีกกริชหนึ่งแสดงถึงการทำงานทางโลก (มิรี; miri)[5][6]

อาคารถูกทำลายอย่างหนักในราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 หลังการบุกทำลายอกาลทัขต์และหริมันทิรสาหิบของพระเจ้าอาห์เม็ด ชาห์ อับดาลี (Ahmed Shah Abdali)[2] หลังจากการทำลายล้าง ท่านมหาราชา หริสิงห์นัลวะ (Hari Singh Nalwa) ได้ทรงบูรณะอาคารขึ้นใหม่ และตกแต่งอาคารด้วยทองคำ[7] อาคารถูกทำลายอย่างรุนแรงครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1984 ในการโจมตีหริมันทิรสาหิบของปฏิบัติการดาวน้ำเงิน

อ้างอิง แก้

  1. สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพฯ
  2. 2.0 2.1 Fahlbusch E. (ed.) "The encyclopedia of Christianity." Eerdmans, Grand Rapids, Michigan, 2008. ISBN 978-0-8028-2417-2
  3. "Giani Harpreet Singh is acting jathedar of Akal Takht". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 23 October 2018.
  4. "Akal Bunga". The Sikh Encyclopedia. Gateway to Sikhism Foundation. สืบค้นเมื่อ 21 October 2016.
  5. Singh, Dr Kuldip. Akal Takht Ate Khalsa Panth. Chandigarh. p. 2.
  6. Dilgeer, Harjinder Singh (1980). The Akal Takht. Jalandhar: Sikh University Press.
  7. Sohan Lal Suri. 19th century. Umdat-ut-tawarikh, Daftar III, Part 2, trans. V.S. Suri, (1961) 2002, Amritsar: Guru Nanak Dev University, f. 260