หเวลี หมายถึงที่อยู่อาศัยกลุ่มทาวน์เฮาส์, แมนชั่น, เมเนอร์, วัง หรือ ป้อมปราการในอนุทวีปอินเดีย โดยทั่วไปใช้เรียกกลุ่มที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือสถาปัตยกรรม คว่า "หเวลี" มาจากภาษาอาหรับ hawali แปลว่า "การแบ่งกั้น" หรือ "พื้นที่ส่วนตัว" เป็นที่นิยมขึ้นมาในยุคจักรวรรดิโมกุล คำว่า "หเวลี" ไม่ได้มีไว้ใช้เรียกสิ่งก่อสร้างของสถาปัตยกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ[1][2] ในภายหลังมา หเวลี เป็นคำทั่วไปใช้เรียกที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โตและมนเทียรที่พบในอนุทวีปอินเดีย[3]

หเวลีของนาว นิฮัล สิงห์ เป็นหเวลีสร้างในสมัยจักรวรรดิซิกข์ ตั้งอยู่ในละฮอร์ ประเทศปากีสถาน

หเวลีในยุคแรกมีไว้เป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้งานของผู้ปกครองชาวมุสลิม และกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของเมืองในสมัยโมกุล ถึงแม้ว่าหเวลีจะมีต้นตอมาจากสถาปัตยกรรมอินเดีย-อิสลาม แต่มีการอ้างว่าการสร้างที่อยู่อาศัยหลายชั้นนั้นปรากฏในอนุทวีปมานานกว่า 3300 ปีก่อนคริสต์กาล[4][5] ในยุคกลางของอินเดีย คำว่า "หเวลี" ยังถูกนำมาใช้ในราชปุตนะโดยกลุ่มไวษณวะเพื่อเรียกมนเทียรของกลุ่มที่ตั้งอยู่ในรัฐคุชราต จนในที่สุดคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกบ้านแบบทาวน์เฮาส์และแมนชั่นของผู้ค้าวาณิชย์โดยทั่วไป[6]

อ้างอิง แก้

  1. "haveli - definition of haveli in English from the Oxford dictionary". Oxforddictionaries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
  2. Sarah, Tillotson (1998). Indian Mansions: A Social History of the Haveli. Orient longman. p. 72. ISBN 0-900891-91-2.
  3. Bahl, Vani. "Haveli — A Symphony of Art and Architecture". The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
  4. Lal, B. B. (1997). The Earliest Civilisation of South Asia (Rise, Maturity and Decline).
  5. Morris, A.E.J. (1994). History of Urban Form: Before the Industrial Revolutions (Third ed.). New York, NY: Routledge. p. 31. ISBN 978-0-582-30154-2. สืบค้นเมื่อ 20 May 2015.
  6. Bahl, Vani. "Haveli — A Symphony of Art and Architecture". The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.