หลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดเรืองแสง, หลอดวาวแสง (อังกฤษ: fluorescent tube) ซึ่งไม่ใช่ หลอดนีออน เป็นหลอดไฟฟ้าระบบปล่อยประจุ ที่บรรจุไอปรอทความดันต่ำไว้[1]

หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดต่างๆ จากบนลงล่าง: หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ) 2 หลอด, หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา 2 หลอด เทียบขนาดกับไม้ขีดไฟด้านซ้ายมือ
โถงทางเดินที่ติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์

เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอด จะกระตุ้นให้อนุภาคปรอทปล่อยรังสีเหนือม่วงออกมา เมื่อรังสีนี้กระทบกับสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ด้านในตัวหลอด สารเรืองแสงจะเปล่งแสงสว่างที่มองเห็นได้ออกมา[1] และเนื่องจากไม่ได้เปล่งแสงโดยอาศัยความร้อน จึงมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากกว่าหลอดไฟไส้ ซึ่งหลอดฟลูออเรสเซนต์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดดังนี้

ชนิดไส้อุ่น (Preheat Lamp)

แก้

หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดไส้อุ่น เป็นชนิดที่พบใช้มากในปัจจุบัน ซึ่งจะติดช้า เพราะจะต้องอุ่นไส้หลอดให้ร้อนก่อน ประกอบด้วยตัวหลอด สตาร์ทเตอร์ และบัลลาสท์ โดยมีบัลลาสท์ทำหน้าที่สร้างแรงดันไฟฟ้าให้สูง และสตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรสำหรับอุ่นไส้หลอด

ชนิดติดทันที (Instant Lamp)

แก้

หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดติดทันที เป็นชนิดที่ติดเร็วกว่าชนิดแรก แต่ไม่ค่อยนิยมนัก ประกอบด้วยตัวหลอด และบัลลาสท์ ซึ่งจะไม่ใช้สตาร์ทเตอร์

ชนิดติดเร็ว (Rapid Lamp)

แก้

หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดติดเร็ว หรือเรียก หลอดตะเกียบ เป็นชนิดที่กำลังได้รับความนิยมไม่แพ้ชนิดแรก ซึ่งจะรวมเอาคุณสมบัติของหลอดทั้งสองชนิดแรกมาผสานกัน โดยไม่ต้องใช้สตาร์ทเตอร์ แต่บัลลาสท์จะมีขดลวดพิเศษอีกชุดเพิ่มเข้ามาที่ช่วยให้ไส้หลอดอุ่นตลอดเวลา[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 พรรณชลัท สุริโยธิน. วัสดุและการก่อสร้าง : หลอดไฟฟ้า. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. ISBN 974-13-2978-4.
  2. siamchemi. "หลอดฟลูออเรสเซนต์/หลอดนีออน ข้อดี และอันตรายจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ | siamchemi".