หย่งเล่อ
หย่งเล่อ (จีนตัวย่อ: 永乐; จีนตัวเต็ม: 永樂) เป็นนามศักราชของจักรพรรดิหย่งเล่อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิง ในศักราชหย่งเล่อ ราชวงศ์หมิงมีอำนาจและเจริญรุ่งเรือง และเศรษฐกิจก็พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ว่าเป็น "ยุครุ่งเรืองของหย่งเล่อ"
หย่งเล่อ | |||
---|---|---|---|
1398 – 1402 | |||
พระมหากษัตริย์ | จักรพรรดิหย่งเล่อ | ||
ช่วงเวลา | |||
|
เดิมทีจักรพรรดิหย่งเล่อได้รับการสถาปนาเป็น เหยียนหวัง (燕王) ในปี ค.ศ. 1402 (เจี้ยนเหวินที่ 4) พระองค์ยึดราชบัลลังก์ในการกบฏจิงหนานและเปลี่ยนศักราช "เจี้ยนเหวินที่ 4" เป็นศักราช "หงอู่ที่ 35" ในขั้นต้น เดิมทีนามศักราชใหม่ของพระองค์ถูกวางแผนว่าจะใช้ชื่อ "หย่งชิ่ง" แต่ภายหลังนามศักราชได้เปลี่ยนเป็น "หย่งเล่อ"[1][2]
วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1424 (หย่งเล่อที่ 22 วันที่ 15 เดือน 8) จักรพรรดิหงซี พระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิหย่งเล่อสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาและใช้นามศักราชหย่งเล่อต่อไป และเปลี่ยนศักราชเป็นหงซีในปีต่อมา[3][4]
เหตุการณ์
แก้- หย่งเล่อปีที่ 1 (ค.ศ. 1403)
- เดือน 1: งานเลี้ยงภายในพระที่นั่งจงเหอ มีการประกาศตั้งเป่ยผิงเป็นเมืองหลวง และมีพระราชโองการเปลี่ยนชื่อจากเป่ยผิงเป็นปักกิ่ง
- หย่งเล่อปีที่ 2 (ค.ศ. 1404)
- เดือน 4: แต่งตั้งพระเต้าเหยียนเป็นพระอาจารย์ของเจ้าชาย คืนนามสกุลเหยา และตั้งชื่อให้เขาว่า กวัฺงเซี่ยว เจ้าชายจู เกาฉื่อ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นรัชทายาท เจ้าชายจู เกาสฺวี่ได้รับตำแหน่ง ฮั่นหวัง และเจ้าชายจู เกาสุ่ย ได้รับตำแหน่งจ้าวหวัง
- หย่งเล่อปีที่ 3 (ค.ศ. 1405)
- เดือน 5: เจิ้งเหอ ขันทีผู้ยิ่งใหญ่ถูกส่งไปทางตะวันตกเพื่อสำรวจทางทะเล
อ้างอิง
แก้- ↑ Huang Zuo (黃佐). Hanlin Ji (翰林記), Volume 5: 太宗即位,始擬用永清,後乃用永樂,自是每朝紀年,不復再改。
- ↑ History of Ming, Volume 5:〔建文四年〕秋七月壬午朔,大祀天地於南郊,奉太祖配。詔:『今年以洪武三十五年為紀,明年為永樂元年。』
- ↑ Li Chongzhi (李崇智) (December 2004). Zhongguo lidai nianhao kao (中国历代年号考). Beijing (北京): Zhonghua Book Co. (中华书局). p. 205. ISBN 978-7-101-02512-5.
- ↑ History of Ming, Volume 8:〔永樂二十二年八月〕丁巳,即皇帝位。大赦天下,以明年為洪熙元年。
อ่านเพิ่มเติม
แก้- Li Chongzhi (李崇智) (2004). Zhongguo lidai nianhao kao (中國歷代年號考). Beijing (北京): Zhonghua Book Co. (中華書局). ISBN 7101025129.
- Deng Hongbo (鄧洪波) (2005). Chronology of East Asian history (東亞歷史年表). Taipei (臺北): National Taiwan University, Program for East Asian Classics and Cultures (國立臺灣大學東亞經典與文化研究計劃). ISBN 9789860005189. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-26.