หม่อมอินทปัต หรือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทปัต (พ.ศ. 2323 — พ.ศ. 2347) พระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตัน

หม่อมอินทปัต
เกิดพ.ศ. 2323
อาณาจักรธนบุรี
อินทปัต
เสียชีวิตพ.ศ. 2347 (24 ปี)
กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์จักรี
บิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
มารดาเจ้าจอมมารดาตัน
ศาสนาเถรวาท
ถูกกล่าวหาประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์
รับโทษสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์

พระประวัติ

แก้

หม่อมอินทปัต ประสูติเมื่อพ.ศ. 2323 พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตัน[1] เมื่อครั้งพระบิดายังดำรงพระยศเป็น เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) แม่ทัพมณฑลฝ่ายเหนือและผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ในฐานะพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้เลื่อนขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอินทปัต

คราวสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทประชวรใกล้สวรรคต พระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต และพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) ได้ร่วมกันคิดการกบฎ และร่วมมือกันตั้งกองเกลี้ยกล่อมหาคนที่ดีมีวิชาความรู้มาทดลองกันในวังพระองค์เจ้าลำดวน ถ้าพลั้งพลาดล้มตายลงก็ฝังเสียในกำแพงวังเป็นหลายคน ครั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงให้ข้าราชการที่สัตย์ซื่อคิดไปเข้าเกลี้ยกล่อม จึงได้ความจริงมากราบทูลทรงทราบทุกประการ ครั้น ณ วันเสาร์ เดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำ ก็ให้จับพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต มาชำระรับเป็นสัตย์ ซัดถึงพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) ครั้นมาถึง ณ วันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ จับพระยากลาโหม (ทองอิน) กับพรรคพวกได้สิ้น พระยากลาโหม (ทองอิน) ให้การว่าวันถวายพระเพลิงเป็นวันจะลงมือทำการประทุษร้าย จึงโปรดให้ถอดพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัตเสียจากเกียรติยศพระองค์เจ้าแล้วเอาหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต ไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ ส่วนพระยากลาโหมราชเสนากับพรรคพวกนั้น ให้เอาไปประหารชีวิต[2]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 111. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-24.
  2. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่-๑/๑๐๗-เรื่องหม่อมลำดวน-หม่อมอินทปัต