หน้าวัว

สปีชีส์ของพืช

หน้าวัว (อังกฤษ: anthurium) เป็นสกุลของพืชในวงศ์บอน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ปัจจุบันกระจายพันธุ์ในเกือบทุกทวีป แต่จะเติบโตได้ดีในภูมิอากาศแบบร้อนหรือร้อนชื้นน[2] (15 - 30 องศาเซลเซียส) จากฐานข้อมูลพืช ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557) ได้รายงานไว้ว่าเกี่ยวกับ "ชื่อค้นหา" ของคำว่า "หน้าวัว" ในประเทศไทยทั้งหมด 4 ชื่อ คือ

หน้าวัว
Anthurium sp.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
Monocots
อันดับ: อันดับขาเขียด
Alismatales
วงศ์: วงศ์บอน
Araceae
วงศ์ย่อย: Pothoideae
Pothoideae
เผ่า: Anthurieae
Anthurieae
สกุล: หน้าวัว
Anthurium
Schott
ชนิด

ดูรายชื่อชนิด

ขอบเขตของสกุลหน้าวัว
ชื่อพ้อง[1]
  • Podospadix Raf.
  • Strepsanthera Raf.

1. หน้าวัวดอก (Flamingo flower หรือ Tail flower) Anthurium × ferrierense Mast. & T. Moore

2. หน้าวัวดอกแดง (Flamingo flower, Pigtail Anthurium หรือ Pigtail flamingo flower) Anthurium scherzerianum Schott

3. หน้าวัวไทย (เจ็ดทิวา, เดหลีใบกล้วย, Madonna lily, Peace lily หรือ Spathe flower) จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับหน้าวัว แต่อยู่คนละสกุลกัน โดยหน้าวัวไทยจัดอยู่ในสกุล Spathiphyllum มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Spathiphyllum cannifolium (Dryand. ex Sims) Schott

4. หน้าวัวใบ (Crystal Anthurium) Anthurium crystallinum Linden ex André

ความหมายของดอกหน้าวัว

แก้

                  คนไทยถือว่าดอกหน้าวัวเป็นดอกไม้อัปมงคล  ใช้ในงานศพ  ไม่เหมาะที่จะมอบให้ในงานวันเกิด

         แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป ดอกหน้าวัวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ  แต่ก็ควรจะหลีกเลี่ยงในการให้ในงานมงคล

ดอกหน้าวัว แทนความหมายของการต้อนรับขับสู้ด้วยความยินดี ในโอกาสที่ถูกเชิญไปเป็นแขก ผู้คนก็มักนิยมนำดอกไม้ชนิดนี้ติดไม้ติดมือไปฝากเจ้าของบ้านด้วยนั่นเอง ถ้าจะให้เป็นดอกไม้แทนใจแล้วละก็ความหมายของดอกหน้าวัวนั้นก็อาจจะฟังดูเศร้าไปหน่อย และความหมายแทนใจก็คือ “หญิงสาวผู้เหงาเศร้า แต่หยิ่งและทรนงค์ในศักดิ์ศรีของตัวเอง” แต่ถ้าจะให้เป็นดอกไม้แทนความรักแล้วละก็มีความหมายที่ดีไม่แพ้ใครเลยซึ่งความหมายนั่นก็คือ “ความรักที่มั่นคงและอดทน”

การจัดจำแนกหน้าวัวในประเทศไทย

แก้

ในประเทศไทยพบหน้าวัว จำนวน 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. Anthurium andraeanum โดยทั่วไปใช้เป็นพืชตัดดอก มีทั้งหมด 4 สี คือ

1.1 พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีขาว เช่น พันธุ์ขาวคุณหนู

1.2 พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีชมพู เช่น พันธุ์ศรียาตรา พันธุ์จักรเพชร

1.3 พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีแดง พันธุ์ที่นิยมเป็นไม้ตัดดอกของเมืองไทย คือ พันธุ์ดวงสมร (พันธุ์นี้มีลักษณะของจานรองดอกสีแดงเข้ม รูปหัวใจ ปลีมีสีเหลือง เมื่ออายุมากขึ้นถึงแก่จะมีสีขาว)

1.4 พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีส้ม เช่น พันธุ์สุหรานากง (มักใช้ประกวด) และพันธุ์ดาราทอง (มักใช้เป็นไม้กระถาง)

2. Anthurium schzerianum เป็นชนิดที่มีสีของจานรองดอกแตกต่างกัน และไม่ค่อยนิยมปลูกเลี้ยงในไทย เนื่องจากต้องการความเย็นและความชื้นสูงกว่า Anthurium andraeanum ส่วนใหญ่มักพบการปลูกเลี้ยงในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

ลำต้น

แก้

หน้าวัวเป็นไม้อายุหลายปี อวบน้ำลำต้นตรง โดยจะมีการแตกหน่อเลื้อยมีการเจริญยอดเดียว เมื่อยอดเจริญสูงขึ้นอาจพบรากบริเวณลำต้น โดยจะแตกเมือมีความชื้นเพียงพอ เนื่องจากเป็นพืชระบบรากอากาศสามารถดูดน้ำและความชื้นจากอากาศได้ดี

ช่อดอก

แก้

ส่วนช่อดอกของหน้าวัวหรือที่เรียกว่า ปลี คือ ส่วนที่เป็นดอกจริง ซึ่งประกอบด้วย ก้านช่อ ซึ่งมีดอกย่อยเล็กเรียงอัดแน่นอยู่บนปลี ดอกย่อยนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน ดอกที่อยู่บนก้านดอกนี้จะมีสีต่างๆหลายสี

เมื่อจานรองดอกคลี่ปลีออกจะมีสีเหลืองอ่อน หรือสีปนแดง ตามสายพันธุ์ ดอกที่อยู่โคนปลีจะเปลี่ยนเป็นสีขาว ไล่ไปปลายปลี แสดงว่า ดอกบาน และเมื่อตุ่มยอดเกสรตัวเมียเริ่มมีน้ำเหนียว ๆ แสดงว่าดอกนั้นพร้อมที่จะผสมเกสรตัวผู้จะบานภายหลังเกสรตัวเมีย ดังนั้นหน้าวัวส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีโอกาสผสมตัวเอง ยกเว้นบางสายพันธุ์ นอกจาก นี้เกสรตัวผู้ของหน้าวัวลูกผสมส่วนใหญ่ จะมีเกสรตัวผู้ฟุ้งเมื่ออุณหภูมิเย็น โดยมากมักจะผสมในช่วงฤดูหนาว

การกระจายพันธุ์

แก้

การกระจายพันธุ์ดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกา ตั้งแต่ตอนเหนือของประเทศเม็กซิโก ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา รวมถึงบางส่วนของแคริบเบียน[3]

ความนิยม

แก้

ในสหรัฐ นิยมใช้หน้าวัวพันธุ์สีแดงและสีแดงอ่อนมาก โดยคิดเป็น 80% ส่วนอีก 20% เป็นสีชมพูและสีขาว

ในฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ นิยมปลูกหน้าวัวพันธุ์สีแดงและสีส้ม

การปลูก

แก้

สามารถปลูกลงในกระถางที่มีการรองพื้นด้วย เครื่องปลูกที่โปร่ง เช่น กาบมะพร้าว ได้ หรือจะไปปลูกบนต้นไม้ ก้อนหินก็ได้เช่นกัน

โดยวิธีการที่นิยมมีดังนี้

  1. การตัดยอด ทำได้เมือ ต้นสูงขึ้นจากระดับเครื่องปลูกและมีราก 2-3 ราก นำไปปลูกลงในกระถางใหม่โดยใส่ยาเร่งรากเพื่อให้แตก
  2. การแยกหน่อ หน้าวัวบางพันธุ์มีหน่อมาก เช่น พันธุ์ดาราทอง โดยสามารถแยกหน่อลงไปปลูกได้เลยเพราะมีการแตกรากที่สมบูรณ์แล้ว
  3. การตัดต้นชำ ทำการตัดชำ แล้วนำท่อนพันธุ์ไปใช้ชำในทรายหรืออิฐทุบก้อนเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่เสมอ จะเกิดต้นใหม่ขึ้นมาตามข้อหรือปล้องนั้น เมื่อต้นมีรากก็แยกไปปลูก
  4. การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการที่ผลิตหน้าวัวได้เป็นจำนวนมาก แต่มีปัญหาในการทำความสะอาดเนื้อเนื้อ เพราะหน้าวัวเป็นพืชที่ชอบความชื้น ฉะนั้นจึงทำให้มีทั้งเชื้อราและแบคทีเรียตามต้นพันธุ์มาก เมื่อต้นอ่อนเจริญเติบโตในหลอดอาหารเพียงพอที่จะย้ายลงไปปลูกในกระถางได้นำไปเลี้ยงต่อในโรงเรือนที่ชื้นสม่ำเสมอ โดยในะระยนี้ต้องมีเวลาในการดูแล เอาใจใส่มิฉะนั้นต้นจะตายง่ายโดยการขาดความชื้น
  5. การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เดิม โดยมีการผสมเกสรในช่วงฤดูหนาว แต่มีโอกาสที่หน้าวัวจะติดเมล็ดเองมีน้อย เพราะเกสรตัวผู้และตัวเมียบานไม่พร้อมกัน โดยมากเกสรตัวเมียบานแล้ว จึงมีละอองเกสรตัวผู้ จะบานไล่จากโคนปลี ผู้ที่ทำการผสมจะต้องใช้ พู่กันหรือบนที่สามารรถนำ เกสรตัวผู้ไปผสมได้ หลังจากเมือผสมได้ ปลีจะเริ่มบวมเพราะได้รับการผสมแล้ว รอจนแก่ นำไปเพราะได้

โรคและแมลง

แก้

หน้าวัวกับโรคและการรุกรานของแมลง มีดังนี้

โรค

1. โรคใบแห้ง อาจเกิดจากกรณีที่ได้รับแสงมากและนานเกินไป จนส่งผลให้ความชื้นในใบลดลง ทำให้เกิดอาหารแห้งและไหม้ได้ มักเกิดกับใบที่ค่อนข้างแก่ และเป็นใบระดับล่างๆ แต่ในกรณีที่เกิดกับใบที่ยังไม่แก่จัด และไม่ใช่ใบล่าง อาจมีสาเหตุเกิดมาจากเชื้อรา Phytophthora Collectotrichum หรือ Anthracnose

2. โรครากเน่า เกิดจากภาชนะหรืออุกรณ์ในการเพาะปลูกไม่เหมาะสม มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดีนัก เป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา

3. โรคยอดเน่า มักพบกับหน้าวัวที่ปลูกในโรงเรือนที่อับ การระบายอากาศถ่ายเทไม่ดีเท่าที่ควร และมีเชื้อรา Phytophthora หรือ Bacteria เข้าทำลาย เมื่อเป็นมากเข้าทำให้หน้าวัวตายได้

4. โรคใบด่าง โรคนี้เป็นแล้วทำให้ใบที่เกิดใหม่มีลักษณะหน้าใบด้าน มีขนาดเล็กลง ถ้าต้นไหนเป็นควรกำจัดทิ้งโดยนำไปเผาไฟ

ดังนั้นการปลูกหน้าวัวควรมีโปรแกรมการฉีดยากันรา เดือนละ 1-2 ครั้ง ตอนช่วงฝน อาจฉีดเดือนละ 2 ครั้ง การฉีดยากันรา ไม่ควรใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ควรหมุนเวียนเปลี่ยนกันไป หรือถ้าทราบสาเหตุของโรคเน่ามาจากเชื้อใดก็สามารถเลือกใช้ยาได้ถูกต้อง เชื้อราพวก Phytophthora ก็ใช้พวกไดโฟลาเทน ถ้าเกิดจาก Collectotrichum ใช้เบนเลท และถ้าเกิดจาก Anthracnose ใช้ยาป้องกันกำจัดราชนิดใดก็ได้ ยกเว้นยาพวกกำมะถัน

แมลงและศัตรูพืช

1. เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้ง จะดูดน้ำเลี้ยงของส่วนใบและยอด นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ที่ส่วนของดอกเช่นเดียวกัน

2. ไรแดง จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบและดอก ทำให้เกิดเป็นจุดด่าง

3. ด้วงหรือแมลงปีกแข็ง ชอบกัดกินใบยอดและจานรองดอก (receptacle)

4. หอยทาก ศัตรูอีกชนิดหนึ่งที่ชอบกินใบต้นหน้าวัว ควรเก็บทิ้งให้หมดอย่าทุบให้แตก เพราะตัวเล็กๆ จะเจริญเติบโตต่อไป

ภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Kew World Checklist of Selected Plant Families
  2. "หน้าวัว".
  3. Croat, T. (1983). A revision of the genus Anthurium (Araceae) of Mexico and Central America. Part 1: Mexico and Middle America. Ann. Missouri Bot. Gard. 70: 211–417.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หน้าวัว