หญ้าน้ำค้าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Droseraceae
สกุล: Drosera
สปีชีส์: D.  indica
ชื่อทวินาม
Drosera indica
L. (1753)

หญ้าน้ำค้าง หรือ หยาดน้ำค้าง เป็นพืชกินแมลงในสกุลหยาดน้ำค้าง กระจายพันธุ์ในเขตร้อน พบได้ในประเทศออสเตรเลียและทวีปเอเชียจนถึงทวีปแอฟริกาแต่ไม่พบในเขตนีโอทรอปิค

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

 
ดอกของหญ้าน้ำค้าง

หญ้าน้ำค้างเป็นพืชล้มลุก มีระบบรากเป็นเส้น ลำต้นสูงได้ถึง 30 ซม. ไม่มีหูใบ ใบเรียวยาวได้กว่า 10 ซม. กว้างประมาณ 1-2 มม. ปลายใบม้วนงอมีขน ใบมีสีเขียวเหลืองจนถึงแดงเข้ม ปลายขนมีต่อมเมือกใสเหนียว ช่อดอกออกที่ซอกใบทางตอนปลาย ยาวได้กว่า 10 ซม. มีได้ถึง 20 ดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาว 3-5 มม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาวเกือบ 1 ซม. มีสีขาว สีชมพู หรือสีม่วง[1] ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. เกสรเพศผู้มี 5 อัน แยกกัน ยาวประมาณ 4 มม. อับเรณูรูปขอบขนาน เกสรเพศเมียมี 3 อัน แยกเป็น 2 แฉกเกือบถึงโคนก้าน แคปซูลมี 3 ซีก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 3 มม.[2]

การกระจายพันธุ์ แก้

หญ้าน้ำค้างมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในแถบทวีปเอเชียเขตร้อน จนถึงแอฟริกาและออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทุกภาคขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่งและดินที่ไม่สมบูรณ์[2] พบมากที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ[3]

อ้างอิง แก้

  1. Lowrie, Alan. 1998. Carnivorous plants of Australia, volume 3. University of Western Australia Press. 288 pp. illus. (p. 180)
  2. 2.0 2.1 หญ้าน้ำค้าง สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้
  3. หยาดน้ำค้าง Neofarm
  • Larsen, K. (1987). Droseraceae. In T. Smitinand & K. Larsen (eds.), Flora of Thailand Vol. 2 part 1: 67-69.
  • Smith, A.W. (1997). A Gardener's Handbook of Plant Names Their Meaning and Origin. Dover Publication, Inc. Mineola, New York: 136.