สิทธิในการประท้วง
สิทธิในการประท้วง อาจเป็นการแสดงถึงสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม สิทธิเสรีภาพในการสมาคม และสิทธิเสรีภาพในการพูด[1]นอกจากนี้ การประท้วง และข้อจำกัดในการประท้วงยังคงมีอยู่ตราบที่รัฐบาลมีอำนาจ[2]

ในกฎหมายระหว่างประเทศ แก้ไข
สนธิสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับมีข้อตกลงที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิในการประท้วง ข้อตกลงดังกล่าวรวมถึงอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1950 โดยเฉพาะมาตรา 9 ถึง 11 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 โดยเฉพาะมาตราที่ 18 ถึง 22 รวมทั้งมาตรา 9 ที่บัญญัติ “สิทธิในเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา[3] มาตรา 10 ประกาศ "สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออก"[3] มาตรา 11 ประกาศ "สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมกับผู้อื่น รวมทั้งสิทธิในการก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเขา"[3] อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงเหล่านี้ และข้อตกลงอื่น ๆ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพในการพูด อยู่ภายใต้ข้อจำกัดบางประการ ตัวอย่างเช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้บัญญัติข้อห้าม "การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสงคราม" และการสนับสนุน "ความเกลียดชังทางชาติ เชื้อชาติ หรือศาสนา" และยังอนุญาติให้จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้หากมีความจำเป็นตามเงื่อนไขในมาตรา 20 และ 21 ความว่า "ในสังคมประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัยของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของประชาชน การคุ้มครองสุขภาพ หรือศีลธรรมของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น"[3] คำอธิบายของสิทธิเหล่านี้ได้แสดงถึงจุดที่แตกต่างระหว่างกัน
อย่างไรก็ตาม การประท้วงไม่จำเป็นต้องมีความรุนแรง หรือคุกคามผลประโยชน์ของความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงของชาติ และไม่จำเป็นต้องใช้การอารยะขัดขืน เมื่อผู้ประท้วงไม่มีส่วนละเมิดกฎหมายของรัฐ การประท้วง แม้แต่การรณรงค์ต่อต้านด้วยสันติวิธี มักจะมีลักษณะในการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อการต่อต้านเช่นนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโต้การรัฐประหารโดยกองทัพ[4] หรือในกรณีที่ค่อนข้างคล้ายกันนี้คือการที่ผู้นำของรัฐปฎิเสธที่จะยอมลงจากตำแหน่งหลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เป็นต้น
การรณรงณ์ แก้ไข
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เปิดตัวการรณรงค์ "ปกป้องการประท้วง" (“Protect the Protest”) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเปิดโปรงการละเมิดสิทธิการประท้วง และสนับสนุนการเคลื่อนไหวทั่วโลก และพยายามส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น[5]
ที่สถาบันเอกชน แก้ไข
นายจ้าง สถาบันการศึกษา[6] และสมาคมวิชาชีพ[7] หลายแห่ง มีนโยบายสาธิตที่จำกัดสิทธิของสมาชิกในการประท้วง เช่น กำหนดให้พวกเขาอยู่ในเขตพูดเสรี ในสหรัฐอเมริกา คดีในศาลฎีกาของทิงเกอร์ วี. ดิมอยน์ ปี ค.ศ. 1969 ได้ให้สิทธินักศึกษาในการประท้วง ตราบใดที่ไม่ก่อให้เกิด "การหยุดชะงักอย่างมีนัยสำคัญ[8]
ดูเพิ่ม แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "The Historic Right to Peaceful Protest". YourRights.org.uk (Liberty). 19 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2008.
- ↑ Cooper, Jo (2005). Addis, Megan; Morrow, Penelope (บ.ก.). "The Right to Peaceful Protest" in Your Rights: The Liberty Guide to Human Rights (8 ed.). Pluto Press. ISBN 9780745322766. JSTOR j.ctt183q56g.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms and/or International Covenant on Civil and Political Rights Office of the United Nations High Commissioner of Human Rights
- ↑ Adam Roberts, "Civil Resistance to Military Coups",Journal of Peace Research, Oslo, vol. 12, no. 1, 1975, pp. 19-36.
- ↑ "Protest". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
- ↑ Long, Waverly (2021-11-10). "Senior administrators emphasize Northwestern's demonstration policy". The Daily Northwestern. สืบค้นเมื่อ 2022-03-21.
- ↑ Mather, Victor (2020-06-10). "How Sports Leagues Regulate Athletes' Activism". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-21.
- ↑ Shackelford, Kelly (November 2014). "Mary Beth and John Tinker and Tinker v. Des Moines : Opening the schoolhouse gates to first amendment freedom: TINKER (1969) AND STUDENTS' FREE SPEECH". Journal of Supreme Court History (ภาษาอังกฤษ). 39 (3): 372–385. doi:10.1111/j.1540-5818.2014.12054.x.