สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นสำนักวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านสังคมศาสตร์ โดยจัดการเรียนการสอนรายวิชาบริการกลาง คือ ศึกษาทั่วไปและภาษาอังกฤษ จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มุ่งเน้น “คุณธรรมนำความรู้” ทุกรายวิชาจะกำหนด “คุณธรรมประจำรายวิชา” ไว้เพื่อให้นักศึกษายึดถือ และจัดกิจกรรมการเรียนนำคุณธรรมมาปฏิบัติ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มุ่งมั่นสร้างสรรค์งานวิจัย งานวิชาการ อันเป็นนวัตกรรม เพื่อนำกลับไปใช้ในการเรียนการสอน การบริการวิชาการและการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างครบวงจร

สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
School of Social Technology
Suranaree University of Technology
สถาปนา15 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 (31 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.วีรพงษ์ พลนิกรกิจ
ที่อยู่
สี  สีฟ้า
เว็บไซต์http://soctech.sut.ac.th/

ประวัติ

แก้

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคมเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติภารกิจให้ครบทั้ง 5 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การปรับแปลงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี การบริการวิชาการแก่สังคม และการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม ได้ปฏิบัติครบทั้ง 5 ภารกิจมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นปีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเริ่มเปิดดำเนินการ

คำว่า “เทคโนโลยีสังคมหรือวิทยาศาสตร์สังคม” หมายถึง วิทยาการสมัยใหม่ที่ประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประสมประสานใช้ประโยชน์ ดังนั้น วิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ น่าจะเรียกว่าได้ เทคโนโลยีสังคม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาพื้นฐานทางสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งตรงกับแนวคิดในการตั้งสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม เป็นชื่อที่มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น โดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะใช้ชื่อเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ หรือ คณะสังคมศาสตร์ เป็นต้น ตามความหมายของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน คำว่า “เทคโนโลยี” หมายถึง “วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ ประยุกต์ได้” ดังนั้น “เทคโนโลยีสังคม” จึงเป็นศาสตร์ทางสังคมยุคใหม่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์เพราะว่าใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ แต่นำมาประยุกต์ใช้ในด้านสังคม ซึ่งหมายความว่า “วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางสังคมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สังคมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ” หรือเรียกว่า “สังคมศาสตร์ประยุกต์”

ปัจจุบันสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก หลักสูตรที่เปิดสอนได้แก่ หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศบัณฑิต หลักสูตรการจัดการบัณฑิต หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตร มหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษา) หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษา) และเปิดสอนหลักสูตรวิทยาการสารสนเทศดุษฎีบัณฑิต ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553

หลักสูตร

แก้
สาขาวิชาที่เปิดสอนในสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม
สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
1. สาขาวิชาอังกฤษ -

M.A. (English Lauguage Studies)

Ph.D. (English Lauguage Studies)

2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ

B.MGT (Logistics Management)
B.MGT(Marketing Management)
B.MGT (Entrepreneurial Management )

M.MGT (Logistics and Supply Chain Management)
M.MGT (Marketing Management)
M.MGT (Human Resources Management)

-
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

B.IS. (Information Communication)
B.IS. (Management Information Systems)
B.IS. (Information Science)
B.IS. (Enterprise Software)

M.IS. (Digital Media)
M.IS. (Enterprise System)
M.IS. (Knowledge Management)

Doctor of Information Science

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้