สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด หรือชื่อย่อ สธจ. เป็นหน่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบการสอนปฏิบัติกรรมฐาน ตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรของคณะสงฆ์ไทย ภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม ก่อตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 โดยใช้สำนักปฏิบัติธรรมที่มีอยู่แล้วได้รับการยกขึ้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด หรือจัดตั้งขึ้นใหม่โดยคณะกรรมการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด[1]

ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด มีจำนวนกว่า 1,510 สำนัก แบ่งเป็นมหานิกาย 1,339 สำนัก และธรรมยุต 171 สำนัก กระจายอยู่ในทุกจังหวัดในประเทศไทย โดยมีส่วนการศึกษาสงเคราะห์ กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลัก ที่รับสนองงานการดำเนินงานสนับสนุนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ของมหาเถรสมาคมในปัจจุบัน[2]

ประวัติ แก้

คณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ได้ออกระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ.2543 ขึ้น เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ซึ่งต้องเสนอผ่านความเห็นชอบตามลำดับเจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์ โดย คัดเลือกสำนักปฏิบัติธรรมที่มีอยู่แล้ว เพื่อได้รับการยกขึ้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด หรือจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นใหม่ โดยคณะกรรมการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ซึ่งสำนักปฏิบัติธรรม ที่จะเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดได้ ต้องมีที่ตั้งอยู่ในวัดที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเรียบร้อยแล้ว และอยู่ภายในสังกัดมหาเถรสมาคมเท่านั้น

โดยในแต่ละสำนัก ต้องมีการจัดการสอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรตามที่กำหนดไว้ 5 สายปฏิบัติ[3] ซึ่งประกอบด้วย

  1. สายบริกรรมพุท-โธ
  2. สายบริกรรมยุบหนอ-พองหนอ
  3. สายบริกรรมสัมมา-อรหัง
  4. สายอานาปานสติ (กำหนดลมหายใจ)
  5. สายพิจารณารูป-นาม

ขั้นตอนการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แก้

ประเภทของวัดและสำนักปฏิบัติธรรม แก้

การแบ่งประเภทของสำนักปฏิบัติธรรมนั้นมีการแบ่งได้หลายรูปแบบไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้แบ่งเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

รางวัล สธจ. ดีเด่น แก้

มหาเถรสมาคมได้มีมติให้มีการมอบรางวัลสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ประจำปี เพื่อเป็นการยกย่องสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ที่มีการดำเนินกิจกรรมและมีคุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ด้านสถานที่ ด้านการจัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติธรรม ด้านบุคลากร และด้านสุขอนามัย เป็นต้น เพื่อเผยแพร่และยกย่องสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเหล่านั้น เป็นการให้กำลังใจ และให้เป็นแบบอย่างแก่ยกย่องสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอื่น ๆ

โดยมหาเถรสมาคม ได้มีมติให้มีการคัดเลือกสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่มีผลงานดีเด่นประจำปี จังหวัดละ 1 สำนัก โดยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับพัดประกาศเกียรติคุณ พร้อมใบประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระสังฆราช[4]

ทะเบียนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แก้

ทะเบียนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ตามมติมหาเถรสมาคม โดยอาศัยระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยเรื่องการแต่งตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ.2558

อ้างอิง แก้

  1. มหาเถรสมาคม. (2543). ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ.2543. ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
  2. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2556). พิธีมอบพัดและเกียรติบัตร แก่สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๔. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : [1] เก็บถาวร 2012-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึงเมื่อ 18-1-56
  3. กองพุทธศาสนศึกษา. (2555). สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น พุทธศักราช ๒๕๕๕. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  4. กองพุทธศาสนศึกษา. (2555). สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น พุทธศักราช ๒๕๕๕. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

  • กองพุทธศาสนศึกษา. (2555). สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น พุทธศักราช ๒๕๕๕. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้