สาลี่พลิมัท
สาลี่พลิมัท | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Rosaceae |
สกุล: | Pyrus |
สปีชีส์: | P. cordata |
ชื่อทวินาม | |
Pyrus cordata Desv. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
รายการ
|
แพร์พลิมัท หรือ สาลี่พลิมัท (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus cordata; อังกฤษ: Plymouth pear) เป็นสาลี่ป่าหายาก ในวงศ์กุหลาบ ได้ชื่อมาจากเมืองพลิมัทในเดวอน ที่ถูกพบในปี พ.ศ. 2413[2] สาลี่พลิมัทเป็นหนึ่งในต้นไม้พื้นถิ่นของอังกฤษที่ได้รับทุนในการฟื้นฟูพันธุ์ภายใต้ "โครงการฟื้นฟูพันธุ์ธรรมชาติของอังกฤษ"[3] เป็นไม้ต้นขนาดเล็กที่ขึ้นตามพุ่มไม้หรือตามริมป่า สาลี่พลิมัทอาจจัดอยู่เป็นชนิดย่อยของ Pyrus pyraster (สาลี่ป่ายุโรป) หรือเป็นชนิดที่แยกต่างหาก[ต้องการอ้างอิง] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้ที่หายากที่สุดในสหราชอาณาจักรและได้รับการคุ้มครองภายใต้ประเภทที่ 8 ตามพระราชบัญญัติสัตว์ป่าและชนบท และเมล็ดพันธุ์ของสาลี่พลิมัทได้รับการฝากไว้ที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์มิลเลนเนียมของคิว[4]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กสูงได้ถึง 10 เมตร มีความทนทานและไม่เปื่อยยุ่ยในสภาพอากาศหนาวเมื่อเกิดน้ำค้างแข็ง ต้นมีสีครีมอ่อนอมชมพูบางส่วน
ความสามารถในการให้ผลและเมล็ดขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ออกดอกตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ดอกกะเทยและผสมเกสรโดยแมลง กลิ่นของดอกบานจาง ๆ คล้ายกลิ่นกุ้งเน่า หรือ ผ้าที่ไม่แห้ง ซึ่งดึงดูดแมลงวันเป็นหลัก รวมถึงแมลงบางชนิดที่ถูกดึงดูดด้วยกลิ่นเน่า เช่น แมลงวันซานจา (Bibio marci)
พบได้ทั่วไปในบริตตานี โปรตุเกสตอนเหนือ และกาลิเซีย ซึ่งเกิดขึ้นที่ชายขอบป่าบนดินที่เป็นกรด
การกระจายพันธุ์
แก้แพร์พลิมัธมีการกระจายพันธุ์ในภูมิชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและพบได้ในยุโรปตะวันตกเช่นฝรั่งเศส (โดยเฉพาะในบริตตานี) สเปน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกาลิเซีย) โปรตุเกส และมีอยู่เล็กน้อยในสหราชอาณาจักร (ในเดวอนและคอร์นวอลล์) ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นพืชนำเข้าแต่โบราณ
นิเวศวิทยา
แก้มักพบสาลี่พลิมัทเติบโตขึ้นในพุ่มไม้ทึบและป่าเปิด ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นในที่ราบลุ่มและเนินเขา
ประชากรในอังกฤษ
แก้สาลี่พลิมัทได้รับชื่อภาษาอังกฤษจากพื้นที่ที่พบครั้งแรกในพลิมัทในปี พ.ศ. 2414 โดยนักธรรมชาติวิทยาในท้องถิ่น ที.อาร์.อาร์เชอร์ บริกส์
ในสหราชอาณาจักร พืชชนิดนี้หายากมากและพบเฉพาะในสองพื้นที่ – พลิมัทและทรูโร ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสปีชีส์ในสหราชอาณาจักรนั้นต่ำมาก โดยที่ประชากรสองกลุ่มที่กระจัดกระจายอย่างกว้างขวางนั้นมีความเหมือนกันทางพันธุกรรม ซึ่งบ่งชี้ว่าประชากรกลุ่มหนึ่งถูกสร้างขึ้นจากการโคลนที่นำมาจากอีกกลุ่มหนึ่ง (ด้วยการปักชำหรือตอนกิ่ง)[5]
อย่างไรก็ตามการขาดความหลากหลายทางพันธุกรรมนี้เป็นภัยคุกคามต่อประชากร เนื่องจากยากต่อการแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด (เมล็ดลีบ) ปัจจุบันมีความพยายามอนุรักษ์ประชากรโดยการจัดการพันธุ์ในสวนพฤกษศาสตร์ เพื่อทำให้เกิดการกลายพันธุ์และการแปรผันของตัวอย่างพันธุ์ที่ปลูก การอนุรักษ์สายพันธุ์สาลี่พลิมัทนี้เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยหลีกเลี่ยงการผสมกับวัสดุทางพันธุกรรมพืชจากส่วนอื่น ๆ ของยุโรปแผ่นดินใหญ่ และเพื่อต้องการให้เกิดการกลายพันธุ์เพียงเพื่อให้สายพันธุ์ในสหราชอาณาจักรเองมีึความสามารถในการผสมพันธุ์ได้เองมากขึ้น (ต้นสาลี่เป็นพืชที่เป็นหมัน (self-sterile) ในตัวเอง ต้นที่เกิดจากการโคลนไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ง่าย กับต้นที่เกิดจากการโคลนต้นอื่น ๆ )
นักพฤกษศาสตร์ที่สวนคิว ในโครงการการอนุรักษ์ได้สรุปว่า สาลี่พลิมัทน่าจะถูกนำเข้ามาจากบริตตานีเพื่อเป็นพืชไม้พุ่มสำหรับปลูกเป็นแนวรั้วเมื่อหลายร้อยปีก่อน
อ้างอิง
แก้- ↑ "Pyrus cordata Desv". Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. 2017. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
- ↑ http://www.fwi.co.uk/news/help-preserve-a-tree-with-ancient-british-connection.htm
- ↑ http://www.westernmorningnews.co.uk/rare-plymouth-pear-set-join-uk-s-collection/story-18989937-detail/story.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.brc.ac.uk/plantatlas/index.php?q=node/49