สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การพัฒนาชุมชน" เป็นหลักสูตรสาขาวิชาเอก สาขาแรกของภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน จังหวัดชลบุรี เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2536 ในแต่ละปีการศึกษามีนิสิตประมาณ 250 คน และในทุกปีการศึกษาจะมีนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่สนใจทางด้านการพัฒนาชุมชน สมัครสอบเข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวเป็นนิสิตปีละกว่า 60 คน ซึ่งเมื่อนิสิตเข้าศึกษาตามระบบแล้วสามารถเลือกเรียน สาขาวิชาโทต่างๆได้ อาทิเช่น สังคมวิทยา, สังคมวิทยาการท่องเที่ยว, รัฐศาสตร์, จิตวิทยา, ภาษาอังกฤษ, ภาษาเกาหลี, เทคโนโลยีการศึกษา เป็นต้น ปัจจุบันมีนิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาเอกการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยบูรพา แล้ว 15 รุ่น กว่า 600 คน

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
ภาควิชาสังคมวิทยา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Program in Community Development,
Department of Sociology,
Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University.
สัญลักษณ์สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาปนาพ.ศ. 2536
หัวหน้าภาควิชาอาจารย์ดร.สุภัสตรา เก้าประดิษฐ์ ทรัพย์ชูกุล
ที่อยู่
ภาควิชาสังคมวิทยา ห้อง QS2 500 ชั้น 5 อาคาร 60 พรรษามหาราชินี 2 (อาคารเรียนรวม 2 (QS2)) มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่ 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี ปณ.20131 โทรศัพท์ 0 3812 2222 ต่อ 2361 โทรสาร 0 38
วารสารวารสารภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สี███ เขียว
███ น้ำตาล
มาสคอต
ต้นกล้า
สถานปฏิบัติห้องปฏิบัติการสังคมไทย(ห้อง QS2 501)
เว็บไซต์สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ประวัติ แก้

 
ต้นกล้า

สาขาวิชาประวัติศาสตร์มีประวัติเริ่มตั้งแต่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาประสาทปริญญาและอนุปริญญาทางด้านการศึกษา (กศ.บ. และ อ.กศ.) 2 สาขา คือสาขาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีวิชาเอกทั้งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทั่วไป คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์

ถึงแม้ว่า จะมีการผลิตบัณฑิตวิชาเอกประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เริ่มตั้งสถาบัน แต่ก็ยังมิได้มีการตั้งเป็นคณะวิชาและภาควิชาอย่างเป็นทางการเช่นในปัจจุบัน จนกระทั่ง พ.ศ. 2515 จึงมีการแบ่งสายงานอย่างเป็นทางการออกเป็น 4 คณะวิชา คือ คณะวิชาการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ และคณะวิจัย ในช่วงเวลานี้ภาควิชาประวัติศาสตร์สังกัดคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์ (กศ.บ. ประวัติศาสตร์) และบัณฑิตการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกสังคมศึกษา (กศ.บ. /สังคมศึกษา) ร่วมกับภาควิชาภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน จึงเปลี่ยนสถานภาพเป็น มหาวิทยาลัยศรีนคริน- ทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน มีคณะวิชาเพิ่มขึ้น คณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์แยกเป็น 2 คณะวิชา คือ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งผลิตบัณฑิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์ จึงสังกัดอยู่ในคณะสังคมศาสตร์ ส่วนวิชาเอกสังคมศึกษา ได้ย้ายไปเป็นหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์ 19 มกราคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1 /2554 มีมติให้ความเห็นชอบการเปิดขอรับนิสิตระดับปริญญาตรี และให้ความเห็นชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม หลักสูตรใหม่ 2554

ชื่อหลักสูตร แก้

  • ชื่อภาษาไทย

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

  • ชื่อภาษาอังกฤษ

Bacherlor of Arts Program in Community Development

ชื่อปริญญา แก้

  • ชื่อเต็ม

ศิลปศาสตรบัณฑิต(การพัฒนาชุมชน)

Bacherlor of Arts (Community Development)

  • ชื่อย่อ

ศศ.บ.(การพัฒนาชุมชน)

B.A. (Community Development)

เกียรติประวัติปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก้

  • ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน พุทธศักราช 2538

สภามหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2538 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 เห็นสมควรขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร

  • ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน พุทธศักราช 2539

สภามหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีมติเป็นเอกฉันท์มอบปริญญา แก่ คุณหญิงกนก สามเสน วิล เมื่อ พุทธศักราช 2539

  • ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน พุทธศักราช 2545

สภามหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีมติเป็นเอกฉันท์มอบปริญญา แก่ พลเอกวันชัย เรืองตระกูล เมื่อ พุทธศักราช 2545

กิจกรรมที่สำคัญ แก้

ในแต่ละปีการศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพาจะจัดกิจกรรมเพื่อสร้างสัมพันธภาพภายใน ในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ โดยแบ่งความรับผิดชอบให้แต่ละชั้นปีดำเนินการ ภายใต้ความคิดเห็นของคณะกรรมการภาควิชาสังคมวิทยา ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าภาควิชาฯ อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปี หรืออาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรม อาจารย์ฝ่ายกิจการนิสิตของภาควิชาฯ ประธานเอก 4 ชั้นปี และตัวแทนนิสิต 4 ชั้นปี โดยมีกิจกรรมที่ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ อาทิเช่น

  • กิจกรรมรับน้องซีดี

กิจกรรมรับน้องซีดี หรือกิจกรรมต้อนรับเพื่อนใหม่ซีดี จะเริ่มจัดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในช่วงภาคเรียนที่สอง หรือภาคเรียนปลาย จนถึงช่วงภาคเรียนฤดูร้อน ในแต่ละปีการศึกษา รับผิดชอบโดยนิสิตชั้นปีที่ 1 ในขณะนั้น โดยกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการต้อนรับน้องๆมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้ที่เลือกเรียนใหม่ ในวันสอบ โดยเฉพาะการสอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ จะมีการจัดกิจกรรมสันทนาการ แนะนำสาขาวิชาฯ การเรียนการสอน และที่สำคัญคือการบูมให้น้องๆ และสมาชิกใหม่ สำหรับกิจกรรมรับน้องซีดี หรือกิจกรรมต้อนรับเพื่อนใหม่ซีดี จะจัดขึ้นเป็นทางการในภาคเรียนที่หนึ่ง หรือภาคเรียนต้น ในแต่ละปีการศึกษา รับผิดชอบโดยนิสิตชั้นปีที่ 2 กิจกรรมจะมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละปีการศึกษาขึ้นอยู่กับนโยบาย และทิศทางของสังคมในขณะนั้น เช่น

  1. กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง
  2. กิจกรรมรวมน้อง
  3. กิจกรรมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และแนะนำสถานที่
  4. กิจกรรมติดติ้ง ผูกไทด์
  5. กิจกรรมแนะนำตัว
  6. กิจรรมผูกข้อมือน้องด้วยด้ายคณะ (ผูกด้ายคณะ)
  7. กิจกรรมจับเทค เข้าสายเถา
  8. กิจกรรมขอลายเซ็น
  9. กิจกรรมทำบุญตักบาตร
  10. กิจกรรมเปิดเทค
  11. ฯลฯ เป็นต้น


  • กิจกรรมซีดีไนท์

กิจกรรมซีดีไนท์ หรือค่ำคืนแห่งซีดี เป็นงานที่จะจัดขึ้นในภาคเรียนต้น ในแต่ละปีการศึกษา รับผิดชอบโดยนิสิตชั้นปีที่ 2 เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมรับน้องซีดี หรือกิจกรรมต้อนรับเพื่อนใหม่ซีดี จัดขึ้นเพื่อนให้สมาชิกใหม่ได้กล้าแสดงออกถึงทักษะ และไหวพริบ ในคืนงานสมาชิกชั้นปีที่จะได้รับมอบหมายตาม หัวข้อที่กำหนดเพื่อเข้าร่วมงาน ส่วนสมาชิกชั้นปีอื่นๆจะแต่งกายด้วยเสื้อเอก หรือเสื้อประจำสาขาวิชาฯ ในปีนั้นเพื่อเข้าร่วมงาน โดยจะมีกิจกรรมย่อย ประกอบด้วย 1. กิจกรรมกินข้าวร่วมเถา ลักษณะเป็นการร่วมรับประทานอาหารในสายเถาของตน โดยมีสมาชิกปี 1 เป็นน้องเทค ปี 2 เป็นพี่เทค ปี 3 เป็นพี่โถ ปี 4 เป็นพี่เถา รูปแบบการจัดขึ้นอยู่กับชั้นปีเจ้าภาพ ซึ่งบางปีจัดในรูปแบบปูเสื่อนั่งร่วมกัน บางปีเป็นลักษณะนั่งโต๊ะกลม หรือโต๊ะจีน เป็นต้น 2. กิจกรรมประกวดมิสเตอร์แอนมิสซีดี 3. กิจกรรมการแสดงของแต่ละชั้นปี 4. กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ รับกล้าใหม่ซีดี

  • กิจกรรมซีดีซีเนียร์
  • กิจกรรมซีดีบายเนียร์
  • กิจกรรมค่ายซีดี

อ้างอิง แก้