สัญรูปอารมณ์ หรือที่นิยมทับศัพท์ อีโมติคอน หรือ เอโมติคอน (อังกฤษ: emoticon; /ɪˈmtɪkɒn/, ə-moh-tə-kon, น้อยมากที่ออกเสียง /ɪˈmɒtɪkɒn/),[1][2][3][4] เป็นคำย่อมาจาก "emotion icon" (สัญรูปอารมณ์)[5] หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีโมท (emote) เป็นสัญรูปแสดงการแสดงออกของใบหน้า ผ่านการใช้ตัวอักษรเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก

เอโมติคอนหน้ายิ้ม
ตัวอย่างเอโมติคอนรูปแบบ "คาโอโมจิ"

เอโมติคอนยุคแรกเป็นบรรพชนของเอโมจิ เอโมติคอนแรกของ ASCII คือ :-) และ :-( เขียนขึ้นครั้งแรกโดยสก็อต ฟอลแมนในปี 1982 แต่ความจริงแล้วเอโมติคอนแรกมีต้นกำเนิดมาจากระบบคอมพิวเตอร์เพลโต IV ในปี 1972[6]

ผู้ใช้จากญี่ปุ่นเป็นผู้สร้างความนิยมให้กับรูปแบบเอโมติคอนที่เรียกว่า คาโอโมจิ (kaomoji) ซึ่งใช้งานอักษรคาตากานะ รูปแบบนี้เป็นที่นิยมมากบน ASCII NET ของญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1986[7][8]

นับตั้งแต่ SMS และอินเทอร์เน็ตกลายมาเป็นที่นิยมใช้ไปทั่วในปลายทศวรรษ 1990s เอโมติคอนกลายมามีบทบาทและเป็นที่นิยมอย่างมาก และถูกใช้ทั่วไปในการส่งข้อความ, เว็บกระทู้ และอีเมล เอโมติคอนสร้าง "โทน" ที่แตกต่างและความรู้สึกใหม่ ๆ ที่สื่อสารผ่านตัวอักษร ท่ามกลางการสื่อสารที่มีเพียงตัวอักษรเพื่อสื่อเนื้อความเท่านั้น[9]

ยูนิโคด

แก้
สัญรูปอารมณ์
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+1F60x 😀 😁 😂 😃 😄 😅 😆 😇 😈 😉 😊 😋 😌 😍 😎 😏
U+1F61x 😐 😑 😒 😓 😔 😕 😖 😗 😘 😙 😚 😛 😜 😝 😞 😟
U+1F62x 😠 😡 😢 😣 😤 😥 😦 😧 😨 😩 😪 😫 😬 😭 😮 😯
U+1F63x 😰 😱 😲 😳 😴 😵 😶 😷 😸 😹 😺 😻 😼 😽 😾 😿
U+1F64x 🙀         🙅 🙆 🙇 🙈 🙉 🙊 🙋 🙌 🙍 🙎 🙏


ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "emoticon". Cambridge Advanced Learner's Dictionary. สืบค้นเมื่อ March 22, 2018.
  2. "emoticon". American Heritage Dictionary. สืบค้นเมื่อ March 22, 2018.
  3. "emoticon". Collins Dictionary. สืบค้นเมื่อ March 22, 2018.
  4. "emoticon - Definition of emoticon in English by Oxford Dictionaries". Oxford Dictionaries - English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
  5. Education, M.G.H. (2003). Glencoe Computer Connections: Projects and Applications, Student Edition. McGraw-Hill Education. ISBN 978-0-07-861399-9. สืบค้นเมื่อ August 11, 2018. Emoticon An acronym for emotion icon, a small icon composed of punctuation characters that indicate how an e-mail message should be interpreted (that is, the writer's mood).
  6. Dear, Brian (September 19, 2012). "PLATO Emoticons, revisited". PLATO History. สืบค้นเมื่อ March 22, 2018.
  7. "The History of Smiley Marks". Staff.aist.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2012. สืบค้นเมื่อ March 14, 2013.
  8. Yasumoto-Nicolson, Ken (September 19, 2007). "The History of Smiley Marks (English)". Whatjapanthinks.com. สืบค้นเมื่อ August 10, 2017.
  9. Williams, Alex (July 29, 2007). "(-: Just Between You and Me ;-)". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 22, 2018.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้
  • Walther, J. B., & D'Addario, K. P. (2001). "The impacts of emoticons on message interpretation in computer-mediated communication". Social Science Computer Review. 19 (3): 323–345. doi:10.1177/089443930101900307.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Wolf, Alecia. 2000. "Emotional Expression Online: Gender Differences in Emoticon Use." CyberPsychology & Behavior 3: 827-833.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้